จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์  (ทำไมมึงต้องอยู่ตรงนั้น) 

วันพุธที่ 29 มิถุนายน  2565

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์  (ทำไมมึงต้องอยู่ตรงนั้น) 

29

ไอ้แมว เล่าให้ฟังว่า “ตอนที่ยังไม่เกษียณ สมัยอธิการทองเพิ่ม ฉันมีตำแหน่งเป็นกรรมการวิทยาลัยที่มาจากการเลือกตั้งเชียวนะจะบอกให้ ดูเหมือนจะมีเบี้ยประชุมด้วย ครั้งละ 100 บาท หรือ 200 บาท จำไม่ได้ เพราะบริจากให้มูลนิธิเด็กหมด 

ปรากฏว่าตอนนั้นมี นศ.เอกศิลปะคนหนึ่ง ถูกให้ออก เนื่องจากเรียนจบหลักสูตรแล้ว แต่คะแนนไม่ถึง 2 เมื่อทราบจาก นศ. ฉันจึงตรวจสอบดู พบว่า นศ.คนนั้นเรียนครบทุกวิชาตามหลักสูตรแล้ว แต่คะแนนไม่ครบ เนื่องจากติด (ร) วิชาของฉัน  ฉันคิดว่ามันไม่น่าจะถูกต้องเพราะการเรียนยังไม่สมบูรณ์  ฉันจึงไปพบ อ. ฉะวาน หัวหน้าแผนกทะเบียน ซึ่งเป็นเพื่อนกันเพื่อตรวจสอบ  ฉันถาม อ.ฉะวานว่า “นศ.ยังได้คะแนนไม่ครบเลยให้ออกได้ไง?”  อ.ฉะวาน ตอบว่า “ไม่รู้ หน้าที่ของผม คือ เมื่อ นศ.เรียนจบหลักสูตร คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ ก็เสนอเรื่องขึ้นไป” ฉันเลยตำหนิว่า  “ผมรู้จักท่านมานานมาก เคารพนับถือในความเป็นครูที่ดีมีเมตตา แต่ตอนนี้ผมเสียใจที่ “วิญญาณความเป็นครูของท่านหมดไปเสียแล้ว”  อ.ฉะวาน บอกว่า “ผมก็เสียใจ แต่เมื่ออยู่ตรงนี้ ไม่รู้จะทำอย่างไรได้” ฉันเลยบอกไปว่า “ก็อย่าอยู่ตรงนี้ซิวะ”

เรื่องนี้เราพากันไปปรึกษาอธิการทองเพิ่ม และเมื่อฉันบันทึกยอมรับว่าตัวเองผิด ที่ยังไม่ได้ส่งคะแนน ท่านอธิการก็ยกเลิกคำสั่ง ส่วนอาจารย์ฉะวาน ลาออกจากแผนกทะเบียน ทำตามที่ผมว่า “ก็อย่าอยู่ตรงนี้ซิวะ” และทุกวันนี้เราก็ยังไปมาหาสู่กันอยู่   ครับ ทุกอย่างมีทางออกที่สวยงามเสมอ  ถ้าจริงใจ

ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้องคารูนะ ที่เล่าว่ามีการรวมหัวกันโหวตเพื่อเลิกจ้างพนักงานฯ ที่ ม.กำแพงมณี หรือเรื่องนางแต้มที่ ม.สารขัณฑ์ ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงหญิงกล้าจาก ม.หนึ่งศูนย์หนึ่ง  เพื่อเป็นเครื่องมือให้ระบุว่าหญิงกล้าผิดวินัยร้ายแรง  ฉันบอกได้เลยว่า ที่พวกมึงอยู่ตรงนั้นเพราะ “วิญญาณความเป็นคนของพวกมึงพรากไปแล้ว” ไอ้ก๊วกเอ้ย! อุทานเสียหน่อย

เรื่อง น้องคารูนะ ผศ.ดร.La Ph  บอกว่า “นิทานที่กำแพงมณี คงคล้ายๆกับนิทานที่สารขัณฑ์ที่ผู้ร้ายในคราบของผู้บริหารจะหาวิธีกลั่นแกล้งและเลิกจ้างฝ่ายตรงกันข้าม แต่อาจต่างกันตรงที่เงื่อนไขที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง…คนพวกนี้ไร้จิตวิญญาณของการเป็นผู้บริหารจนกระทั่งถึงวันตาย…

ส่วน ผศ.ดร.ชลิดา ภัทรศรีจิรากุล บอกว่า  “การวัดผล ต้องประเมินผล ติดตามการทำงานของคนๆนั้น ด้วยการให้เขาเขียนแผนงาน แต่ละเทอม และประเมินเป็นระยะๆ จากนั้นจึงมาวัดผลขั้นตอนสุดท้าย ด้วยทัศนคติเป็นกลาง สิ่งที่เขียนข้างบนเป็นแค่โลกทิพย์ โลกแห่งความเป็นจริงก็ตามนั้น”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *