จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต หกห้า (อีสันดาน)

วันอาทิตย์ที่ 27  มีนาคม  2565                                                                                                   

 จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต หกห้า (อีสันดาน)

27

ตอนผมเรียนชั้นมัธยม ครูมักจะให้การบ้านแทบทุกวัน ส่วนใหญ่ก็เป็นวิชาเลขหรือไม่ก็วิชาเลขาคณิต ไม่เคยมีการบ้านวิชาวาดเขียนเลย ดังนั้น การบ้านจึงเป็นปัญหาของผมทุกวัน  

เลขการบ้าน ก็คือครูกำหนดโจทย์  เพื่อให้นักเรียนหาคำตอบตามวิธีการทางคณิตศาสตร์ หาคำตอบให้ตรงกับโจทย์ ตอบตรงก็ถูก ตอบไม่ตรงก็ผิด โจทย์ไม่มีผิด มีแต่คำตอบเท่านั้นที่ผิด แต่ในทางสังคมศาสตร์ คำตอบนั้นมีทั้งถูกและผิด โจทย์ก็เช่นเดียวกัน มีทั้งผิดและถูก

กรณีนางแต้ม  ตัวละครของผม หรือ อธิการบดี ม.สารขัณฑ์ แต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงหญิงผู้กล้าจากบุคคลภายนอก  เป็นเรื่องของการตั้งโจทย์ผิด คือ กล่าวหาว่าหญิงผู้กล้าขาดราชการ คำตอบของโจทย์ คือ ขาดราชการ  แต่จากข้อเท็จจริง หญิงผู้กล้าไม่ได้ขาดราชการ คำตอบที่ถูก คือ ไม่ได้ขาดราชการ แสดงว่าตั้งโจทย์ผิด  เมื่อโจทย์ผิด เรื่องก็จบไม่ได้ซักที ยืดเยื้อมาเป็นปี แต่นางแต้มก็ไม่ลดละ เปลี่ยนกรรมการหลายชุดเพื่อจะให้โจทย์ถูกให้ได้ คือ ขาดราชการ เพื่อจะได้ไล่ออกต่อไป แต่มันไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอก คิดหาทางว่าจะไปอยู่คุกไหน น่าจะดีกว่า

ถ้าเรามาดูตัวตนที่แท้จริงของนางแต้ม หรือสันดาน ซึ่งแปลว่า นิสัยใจคอที่มีมาแต่กำเนิด,มักใช้ไปในทางไม่ดี. ก็จะพบว่า นางเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก ไม่มีสัจจะ  ไม่รับผิดชอบสิ่งที่พูด เช่น  ตอนหาเสียง อยากเป็นอธิการ ก็ประกาศว่า “ดิฉันสัญญาว่าเป็นอธิการบดีเพียงสมัยเดียวเท่านั้น” แต่เมื่อได้เป็นอธิการตามปรารถนา ก็ลืมสัญญาที่ให้ไว้  นี่คือสันดาน

เมื่อมีคดีกับหญิงผู้กล้า ศาลช่วยไกล่เกลี่ยให้ ตกลงตามรายงานกระบวนการพิจารณาของศาลว่า “เมื่อโจทก์ต้องการจะกลับไปทำงานที่เดิม ให้แสดงเหตุผลความจำเป็น  จะอนุมัติให้ภายใน 7 วัน และยินดีถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทหญิงผู้กล้าทุกคดี แต่ก็หาได้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้ต่อศาลไม่  “อีสันดาน”

มีหลักฐานชิ้นหนึ่งระบุว่า “เมื่อราวต้นเดือน พย. 64  น.ส. จตุจักร (นาสสมมุติ) ผู้สื่อข่าว ได้พาหญิงผู้กล้าเข้าพบนางแต้ม เพื่อกราบขอโทษ และปรับความเข้าใจเรื่องที่ฟ้องร้องกัน จากการขอโทษ นางแต้มได้เมตตาให้อภัยหญิงผู้กล้า  และให้ไปทำงานที่สำนักส่งเสริม ตั้งแต่ เดือน พ.ย.จนถึงปัจจุบัน ส่วนในการดำเนินการทางวินัย นางแต้มบอกกับหญิงผู้กล้าและ นส.จตุจักรว่า เมื่อตั้งกรรมการสอบสวนวินัยแล้วจะสั่งเพิกถอนนั้นเป็นเรื่องยาก จึงให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบ ส่วนการจะลงโทษเพียงใดนางจะให้ความเมตตาในภายหลัง เรื่องนี้เจ้าส่งเดชก็รู้” เห็นสันดานของนางไหมละ  เรื่องแบบนี้นางแต้มปฏิบัติกับนักศึกษาเช่นกัน เรียก นศ.มาพบ บอกว่าจะให้อภัย  แต่การให้อภัยของนาง คือ “ฟ้องนักศึกษา” อีสันดาน เอ้ย!

เรื่องนางแต้ม ผศ.ดร. La Ph บอกว่า “เรื่องของความอยากได้ อยากมี อยากเป็นของนางแต้ม จนสามารถทำลายล้างฝ่ายตรงกันข้ามทุกวิถีทางนั้น ได้รับการสะสมมาอย่างต่อเนื่องจนขัดไม่ออกเสียแล้ว ความจริงของพฤติกรรมดังกล่าวต้องไปถามกับครูบาอาจารย์ ผู้บริหาร และบุคลากรรุ่นเก่าที่เคยทำงานรุ่นเดียวกันก็จะทราบ ทำให้ไม่มีใครอยากเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น ยกเว้นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ที่นางแต้มประเคนให้จนพูดไม่ออก แต่บุคคลดังกล่าวก็ไม่กล้าไปสมาคมกับคนรุ่นเก่าส่วนใหญ่แต่อย่างใด จะมีชีวิตอยู่ไม่ต่างจากวัวสันหลังหวะเช่นเดียวกับนางแต้มนั่นเอง”

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *