จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต หกห้า (เจ็ดชั่วโคตร)

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2565

จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต หกห้า (เจ็ดชั่วโคตร)

28

มีนา จัน บอกคม หักศอกว่า “ตอนนี้นางแต้ม ตัวละครของแก หรืออธิการบดี ม. สารขัณฑ์กำลังดิ้นสุดขีด ซึ่งไม่ได้หมายถึงนางดิ้นอยู่บนฟลอร์เต้นรำอย่างรื่นรมย์สุดขีดหรอกนะ แต่ดิ้นถูไถสุดขีดตามเวรกรรมที่สร้างไว้ เพราะบ้า คือ ต้องให้ถึงที่สุด ตอนนี้ก็เตรียมฏีกาคดีที่ศาลสารคามบุรีโดยขอขยายเวลามาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ก็เหนื่อยหน่อยนะ “น้องแต้ม”มีนา จัน บรรยายต่อไปว่า “อาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัย ที่โดนนางแต้มเป็นโจทก์ฟ้องแบบแยกส่วน คือ คดีเดียว แจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจยังไม่พอ ฟ้องศาลอีก 2 ศาล นอกจากนั้นยังกระจายพยานเพื่อเพิ่มคดีให้มากขึ้นอีกด้วย อาจารย์และพนักงานที่ตกเป็นจำเลย ก็ต้องเสียเงินเสียทองเป็นค่าทนาย คดีหนึ่งก็หลายหมื่นบาท ส่วนนางแต้มสบายใช้เงินหลวงจ้างทนายประจำไปเลย เอาเปรียบคู่ต่อสู้ทุกประตู อีห้าเอ้ย”“ก็ศาลสารขัณฑ์เพิ่งพิพากษายกฟ้องไปแล้วไม่ใช่รึ? คม หักศอก ถาม“ใช่ ที่ยกฟ้องไปนะ เป็นคดีที่เจ้าทรัมเป็ด ครูดนตรี เป็นพยาน ส่วนที่จะพิพากษากลางเดือนหน้านี้ ท่านชานำ เป็นพยาน เห็นความเหี้ยมโหดและเจ้าเล่ห์ของนางแต้มไหมละ แสบสุดๆ”…มีนา จัน ย้ำว่า “ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องจัดการให้เบ็ดเสร็จ เพื่อแสดงให้เห็นว่า พวกเราก็สู้สุดฤทธิ์เหมือนกัน ด้วยการ “ทูลเกล้าถวายฏีกา”“การทูลเกล้าถวายฏีกา เป็นการร้องทุกข์ต่อองค์พระมหากษัตริย์ เป็นวิธีที่ประชาชนปฏิบ้ตเมื่อได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมมาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงทรงแขวนระฆังไว้ เพื่อให้ราษฏร์ได้ร้องทุกข์ ในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ ราษฏร์จะมาตีกลองร้องทุกข์ สมัย ร.3 ผู้ถวายฏีกาจะต้องถูกลงอาญาเฆี่ยนก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเดือดร้อนจริงๆ สมัย ร. 4 พระองค์เสด็จออกรับฏีกาด้วยพระองค์เองเลย “พระมหากษัตริย์ไทยนั้น ถ้าปรากฏพระองค์แล้วราษฏร์ถวายฏีกาได้ทุกเมื่อ เพียงแต่ชูหนังสือและร้องว่า เจ้าข้า โปรดก่อน ขบวนพยุหยาตราก็ต้องหยุด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับฎีกา” http://www.thaithesis.org/detail.php?id=54021 แต่ในปัจจุบันมีระเบียบการถวายฏีกา ฉะนั้น การทูลเกล้าถวายฏีกา จึงเป็นเรื่องที่ผู้พวกเราซึ่งได้รับความเดือดร้อยและไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถทำได้ ทั้งนี้เพื่อประกาศให้ประจักษ์ว่า คำพูดของผู้ใหญ่บางคนที่ว่า “แม้ก่อนหน้านี้ได้มีกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับการแต่งตั้งอธิการบดีในจำนวนนี้ 5 แห่ง คือ 1,2,3,4 และ 5. ม.สารขัณฑ์ แต่ อว. ได้ทำการสอบสวนและตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจแล้ว จึงได้นำความกราบบังคมทูล พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี” https://www.thaipost.net/main/detail/117009“ใช่ ก็น่าจะถวายฏีกา เพราะปรากฏหลักฐานคือ คำพิพากษาของศาลสารคามบุรี จากศาลสารขัณฑ์ และคดี 157 ที่ เมืองประทายสมัน และที่ศาลเมืองโคราชา และกรณีฟ้อง นศ.ด้วย…แต่มันจะสะเทือนไปหมดนะ”“นั่นแหละ ฉันจึงคิดว่าควรทำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่า “การตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร” ในประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้น เป็นเรื่องจริง”….*แนวทางปฏิบัติเรื่องฏีกาขอพระราชทานความเป็นธรรมและฏีกาขอพระราชทานความช่วยเหลือhttp://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER20/DRAWER014/GENERAL/DATA0000/00000701.PDF

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *