เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอนท่องยมโลก ( การใช้เล่ห์เหลี่ยม )

jear hero Curiform kuvern

จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอนท่องยมโลก ( การใช้เล่ห์เหลี่ยม )
ฮือ ฮือ ฮือ เสียงร้องไห้คร่ำครวญ และคำพูดออเซาะแม่ของนางแต้มดังลั่นไปทั่วห้อง “ลูกไม่ย้อม ลูกไม่ยอม….ฮือ ฮือ ฮือ แม่จ๋า ไอ้พวกเฟซบุ๊กมันว่า ลูกไม่ใช่ อคิลลิส มาเกิดใหม่ แต่เป็นนางเฮเลนแห่งสปาร์ตาหรือ เฮเลนแห่งทรอย มาเกิดใหม่ และได้พากันว่าลูกเสียๆหายๆ แต่ อคิลลิส บอกลูกว่า ลูกเป็นตัวเขามาเกิดใหม่ และจะเป็นวีระสตรีในโลกปัจจุบัน ลูกไม่ย้อม ลูกไม่ยอม แม่จ๋า ลูกเกลี๊ยด..เกลียด พวกมัน”
พูดจบนางแต้มก็ใช้มือกวาดชามโจ๊กบนโต๊ะข้างเตียงนอนกระเด็นไปที่พื้นห้องเสียงดังโครม โจ๊กหมูสับและตับหมูกระจายเต็มพื้น ช้อนกระเด็นไปด้านหนึ่ง ส่วนชามแตกกระจายกระเด็นไปอีกด้านหนึ่ง
แม่นางแต้มมีอาการตื่นตกใจเล็กน้อยและเลื่อนรถเข้าไปใกล้เตียงลูก เอื้อมมือไปแตะแขนเบาๆ และพูดปลอบใจว่า
“นางเฮเลนเป็นผู้หญิง แต่อคิลลิส เป็นผู้ชายนะลูก… และที่สำคัญนางเฮเลนแห่งทรอยก็มีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามที่ไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ นะลูก”
“จริงหรือแม่” คำปลอบใจของแม่ทำให้ดวงตานางแต้มมีประกายชวนฝัน มุมปากปรากฏรอยยิ้มน้อยๆอย่างสุขอารมณ์”
“จริงซิลูก” แม่ตอบ ในขณะที่นางแต้มหลับตาจินตนาการถึงความงามของตนเองอย่างมีความสุข
เด็กในบ้านได้เข้ามาเก็บกวาดทำความสะอาด
ส่วนนางแต้มนอนยกมือทำท่าทางคล้ายกับถือสิ่งของสองสามสิ่ง สายตาจ้องมอง ไม่กระพริบไปที่มือ
“ลูกจ๋า ลูกถืออะไรอยู่จ้ะ” แม่ร้องถาม
“กระดาษปาปิรุส แผ่นดินเหนี่ยว และกระดอกเต่าจ้ะ แม่”
“มันคือ อะไรลูก”
“ทั้งหมดนี้เป็นวัตถุที่จารึกอักษรโบราณ กระดาษปาปิรุสจารึกอักษร ไฮโรกลิฟ (Hieroglyph) หรืออักษรภาพของชาวอียิปต์โบราณ แต่เดิมไม่มีใครอ่านได้ จนในปี พ.ศ. 2342 มีการค้นพบหินโรเซตตา ที่จารึกตัวอักษร 3 แบบ คือ กรีกโบราณ ดีโมติก และไฮโรกลิฟ การเปรียบเทียบชื่อราชวงศ์ต่าง ๆ ที่ใช้ตัวอักษร 3 แบบ ทำให้นักภาษาศาสตร์โบราณอ่านอักษร
ไฮโรกลิฟ ได้ใน 25 ปีต่อมา
“ทำไมลูกถึงรู้ละจ้ะ”
“อ๋อ ! ฟรองซัวส์ ชองโปลิยอง (Francois Chanpolion 1790-1832) ที่ลูกไปพบมา บอกลูกว่า เขาได้พยายามอ่านอักษรเฮียโรกลิฟโดยใช้วิธีเปรียบเทียบเรื่องราวต่างๆกับตัวอักษรอื่นๆ จ้ะแม่”
“แล้วแผ่นดินเหนี่ยวนั่นละลูก”
“เป็นแผ่นดินเหนียวที่จารึกอักษรรูปลิ่มหรืออักษรคูนิฟอร์ม(Cuniform) ของชาวสุเมเรียน ในเมโสโปเตเมีย ที่เขียนด้วยก้านอ้อบนแผ่นดินเหนี่ยวและนำไปตากแดดหรือเผาไฟ อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม (Cuniform) มีระบบการเขียนที่หลากหลาย”
“แล้วเขาอ่านภาษานี้ได้อย่างไรละลูก”
“เนื่องจากหลายภาษาในตะวันออกกลางโบราณเขียนด้วยอักษรรูปลิ่ม และการพบอักษรรูปลิ่มที่มีสองหรือสามภาษาในข้อเขียนเดียวกัน ทำให้นักภาษาศาสตร์สามารถเข้าใจความหมายของอักษรเหล่านั้นได้จ้ะแม่”
“แล้วกระดองเต่าละลูก”
“เป็นกระดองเต่าที่จารึกอักษรจีนโบราณ “เจียกู่เหวิน” หรือตัวอักษรเทพพยากรณ์บนกระดูกสัตว์และกระดองเต่า
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อปี ค.ศ. 1899 ชาวนาในหมู่บ้านเสี่ยวตุนริมฝั่งแม่น้ำหวน ในมณฑลเหอหนาน ได้พบกระดูกสัตว์และกระดองเต่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่แตกหัก เข้าใจกันว่าเป็นกระดูกมังกรมีสรรพคุณในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ปรากฏว่าบนกระดูกสัตว์และกระดองเต่าเหล่านั้น มีลายขีดเขียนซึ่งจากการศึกษาพบว่า ลายขีดเขียนเหล่านั้นเป็นตัวอักษรจีนโบราณสมัยราชวงศ์ซัง ประมาณศตวรรษที่16-11 ก่อนคริสตศักราช อักษรเหล่านั้นมีหลายตัวที่เหมือนอักษรจีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
เจียกู่เหวินนี้ใช้สำหรับอ่านคำพยากรณ์เสี่ยงทาย โดยมีการเขียนคำถามต่างๆลงบนกระดูกสัตว์หรือกระดองเต่า แล้วเอาไฟลน เมื่อปรากฏรอยแตกเป็นเส้นลายต่างๆ ก็จะเป็นคำตอบของปัญหาที่ถาม ซึ่งก็คือกระดูกเทพพยากรณ์นั่นเอง”
เมื่อเล่ามาถึงตอนนี้นางแต้มได้ทำมือในท่าชูกระดองเต่าและพูดกับแม่ว่า
“กระดองเต่าเทพพยากรณ์ที่ลูกถืออยู่แผ่นนี้สำคัญมากจ้ะแม่ มันเป็นรอยแตก ที่เทพพยากรณ์ไว้ว่า ลูกจะได้เป็นหัวหน้าที่นี่ต่อไปอีกหนึ่งสมัย จากนั้นจะได้เป็นประธานสภาฯ ส่วนน้องสาวหรือลูกคนเล็กของแม่ก็จะได้เป็นหัวหน้าที่นี่ต่อไปอีก 2 สมัย รวมแล้วก็กว่าหนึ่งทศวรรษนั่นแหละ แม่…ก็อย่างที่แม่บอก อำนาจเป็นลาภของครอบครัวเรา”
“ก็ไหนตอนลูกหาเสียง ลูกบอกว่าจะขอเป็นเพียงสมัยเดียว แล้วทำไมถึงต่อเนื่องยาวนานมาถึงขนาดนั้นล่ะ”
“มันเป็นคำทำนายของกระดูกเทพพยากรณ์จ้ะแม่ ไม่มีใครสามารถยับยั้งได้….และนี่แหละแม่ ที่เขาเรียกกันว่าการใช้เล่ห์เหลี่ยม ไงแม่”
……
นิพนธ์ ทวีกาญจน์.(2529).ประวัติศาสตร์ศิลป์.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ทวีป วรดิลก.(2547).ประวัติศาสตร์จีน.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

Comments are closed.