เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ห้ามบุกรุก 1

dins

Wisut.net

จิปาถะ

เรื่องสั้น  หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ห้ามบุกรุก 1

214

เรื่องการกำหนดอาณาเขตส่วนตัวนั้น สุมิตร คุณานุกร(2519: 58-59) กล่าวว่า “มนุษย์เรามีสัญชาตญาณในการกำหนดอาณาเขต “ห้ามบุกรุก” และมีวิธีต่างๆนานาที่จะส่งสัญญาณเตือนให้ผู้บุกรุกหยุด และถ้าผู้บุกรุกไม่หยุด คนเราก็มีปฏิกิริยาโต้ตอบหลายๆทาง ภาษาท่าทางเหล่านี้เองที่บอกให้คนอื่นรู้ว่าเจ้าตัวเป็นคนอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไร ฯลฯ พฤติกรรมทำนองนี้ของมนุษย์ไม่ได้เกิดจากสัญชาตญาณอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีผลอันเกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่ง มนุษย์ทุกคนมีสัญชาตญาณเบื้อต้นที่จะกำหนดระยะอาณาเขตส่วนตัวของตนเองและผู้อื่น มีความรู้สึกและอารมณ์พร้อมเสมอที่จะปกป้องรักษาอาณาเขตรอบๆตัวนี้ไว้ไม่ให้ใครเข้ามาบุกรุก แต่ระยะ “ห้ามบุกรุก” หรือระยะของ “เขตร่างกายห้ามเข้า” นี้จะมากน้อยพียงไร  อารมณ์และปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อถูกบุกรุกจะรุนแรงเพียงไร หรือออกมาในรูปใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการ เช่น วัฒนธรรม สถานการณ์ เวลา สถานที่ และความแตกต่างของฐานะทางสังคม เพศ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล”

215

ส่วนระยะห่างที่เหมาะสมของอาณาเขตส่วนตัวจะเท่าไรนั้น ทัลมาโลเบล. (2558.94-95) กล่าวว่า “ทุกคนมีระยะห่างที่เหมาะสมจากผู้อื่นซึ่งเราคงรักษาไว้  มันเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่มีหลายชั้นหรือหลายโซน  ชั้นที่ใกล้ที่สุดหรือโซนที่ใกล้ชิดสนิทสนมมากที่สุดถูกสงวนไว้สำรับคนที่ใกล้ชิดกับเรามากๆเช่นคู่ชีวิตและลูกๆของเรา  ชั้นต่อมาหรือโซนส่วนตัวคือระยะห่างที่เรารักษาไว้เวลาพูดคุยกับเพื่อนที่ดี ต่อมาก็มีโซนสังคมหรือระยะห่างที่เรารักษาไว้จากผู้คนที่เรารูจักเช่นเซลล์ขายของหรือคนแปลกหน้าที่เขามาถามคำถามเรา”

216

“พฤติกรรมการกำหนดระยะใกล้ไกลระหว่างบุคคล อาจดูได้จากสัตว์ เช่น ฝูงลิงที่อยู่ในป่าหรือฝูงนกที่บินอยู่บนท้องฟ้า  เมื่อพบเห็นเราสามารถบอกได้ทันที่เลยว่า ลิงหรือนกตัวใดเป็นหัวหน้าหรือจ่าฝูง ลิงที่เป็นจ่าฝูงนั้นนอกจากจะมีรูปร่างใหญ่และแข็งแรงกว่าลิงตัวอื่นแล้ว  เวลาเดินไปไหนก็จะเดินอยู่ข้างหน้า โดยมีลิงบริวารเดินตาม โดยทิ้งระยะห่างพอเหมาะ และไม่มีลิงตัวใดกล้าเข้าใกล้จ่าฝูง  เพราะถ้าขืนเข้าไปใกล้ก็จะถูกขู่หรือกัดเอา เพราะถือว่ารุกล้ำเข้าไปในอาณาเขตของตน

มนุษย์น่าจะเลียบแบบการกำหนดระยะใกล้ไกลระหว่างบุคคลมาจากสัตว์หรือสัตว์เลียนแบบไปจากมนุษย์ก็ไม่สามารถจะยืนยันได้ แต่ทั้งมนุษย์และสัตว์มีพฤติกรรมการกำหนดระยะใกล้ไกลเช่นเดียวกัน…

ขอยกเธอเป็นตัวอย่างนะ”   คุณชวดหันมาทางนางแต้ม

217

“ได้เลย..ได้.. ตามใจเธอทุกอย่าง”

“ดี จะได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น”

“เมื่อเธออยู่ในสังคมของเธอ เธอเป็นหัวหน้าใช่ไหม”  คุณชวดถาม

“ถูกต้อง ฉันเป็นหัวหน้า”

“ดังนั้น เธอจะเห็นได้ว่า เวลาเธอจะเดินไปไหนมาไหน  เขาก็จะให้เธอเดินอยู่ข้างหน้า โดยมีบริวารที่มีตำแหน่งลดหลั่นกันลงไป เช่น มีเจ้าดำคอแดง คอยเดินตามห่างๆ  นอกจากนั้นเธออาจจะมีที่ปรึกษาที่สนิทชิดเชื้อกันมากเป็นพิเศษเดินตามต้อยๆอยู่ข้างๆคอยให้บริการและเก็บข้อมูลให้ด้วย หรืออะไรทำนองนั้น…

จากที่ยกตัวอย่างมา จะเห็นได้ว่า ทุกคนมีอาณาเขตของตนเอง เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่ง รวมทั้งปัจจัยอื่นๆอีกสารพัด ดังนั้น การที่เธอเข้าไปบุกรุกอาศรม พวกอยู่ที่นั่นเขาก็ต้องต่อต้าน เพราะเขามีสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์ เขาไม่ต้องการสูญเสียจิตวิญญาณของเขาไป  ส่วนพวกที่เกรงกลัวในอำนาจและความไม่มีมารยาทของเธอ ก็จะทนนิ่งเฉย ยอมให้จิตวิญญาณถูกเหยียบย่ำทำลายลงแบบง่ายๆเสียอย่างนั้นแหละ…

ที่นี้ เข้าใจเรื่องอาณาเขตส่วนตัวหรือยังล่ะ”

นางแต้มนิ่งเงียบ หน้าตาแดงก่ำเหมือนโดนไฟลวก

….

ทัลมาโลเบล.(Thalma Lobel).วรรธนา วงษ์ฉัตร แปล.(2558)พิศวงจิตใต้สำนึก Sensation.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์แมกซินคิวบ์พับลิชชิ่ง.

สุมิตร คุณานุกร.(2519).ภาษาท่าทาง.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *