เรื่องสั้นหัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ท่องยมโลก (เพื่อน 15)

tammas

จิปาถะ
เรื่องสั้นหัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ท่องยมโลก (เพื่อน 15)
32
นายเถียน รักดี สะดุดนิดหนึ่ง เมื่อได้ยินเสียงบ่นของนางแต้ม จากนั้นจึงเริ่มต้นอธิบายต่อไปว่า
“หลังจากเจริ¬ญพระพุทธมนตร์ด้วยบท มหานมัสการ แล้ว ก็จะเจริญ¬พระพุทธมนตร์ด้วยบท ไตรสรณคมน์ ได้แก่
พุทฺธํ สรณํ คัจฉามิ ธมฺมํ สรณํ คัจฉามิ สงฺฆํ สรณํ คัจฉามิ สามครั้ง…
บทไตรสรณคมน์นี้แปลเป็นไทยว่า ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเป็นสรณะ ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ”เป็นการน้อมนำเอาคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก”
“การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ทำให้เรามีเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ มีแหล่งที่สาดส่องให้แสงสว่างแห่งปัญญา ทำให้เกิดความมั่นใจ อบอุ่นใจ ปลอดภัย หายหวาดกลัว หายขุ่นมัวเศร้าหมอง มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส เกิดความเข้มแข็งที่จะทำความดีงาม ทำประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นการให้กัลยาณมิตรสูงสุด ที่จะชี้นำให้หยุดยั้งถอนตนจากบาป ให้ก้าวไปในกุศล พ้นจากอบาย บรรลุภูมิที่สูงขึ้นไปจนถึงความสุขแท้ที่เป็นอิสระไร้ทุกข์ทั้งปวง ทั้งนี้จะต้องมีศรัทธาถูกต้อง ที่ประกอบด้วยปัญญา นับถือโดยมีความรู้ความเข้าใจชัดเจนและมั่นใจ มิให้สรณคมน์นั้นเศร้าหมองด้วยความไม่รู้หรือเข้าใจผิดเพี้ยนหลงงมงายหรือไม่ใส่ใจ” (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).2551: 404-405)
33
นายเถียน รักดี อธิบายต่อไปอีกว่า “ไตรสรณคมน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ ณ ปาอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี เมื่อพระยสะกับพวกสหายบรรลุพระอรหันต์แล้ว ทรงส่งไปประกาศพระศาสนา และทรงอนุญ¬าตให้สาวกอุปสมบทกุลบุตรได้ การอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ หรือ ติสรณคมนูปสัมปทา คือการบวชภิกษุด้วยการกล่าวคำสรณะ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธองค์ทรงอนุ¬ญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรได้ในครั้งพุทธกาล แต่ต่อมาเมื่อทรงอนุ¬ญาตการอุปสมบทด้วย ญั¬ัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา โดยพระภิกษุประชุมกันครบองค์ในเขตพัทธสีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องการรับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมจากภิกษุทั้งปวงที่เข้าประชุม อันเป็นการอุปสมบทที่ใช้ปฏิบัติกันในปัจจุบัน ส่วนไตรสรณคมน์ก็ทรงอนุ¬ญาตให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบต่อมา.”
เมื่อนายเถียนอธิบายมาถึงตรงนี้ นางแต้มได้พูดขึ้นมาดังๆว่า “เมื่อไรจะได้สวดมนตร์ซักทีล่ะ” ทำให้นายเถียนถึงกับอึ้งไป
….
อ้างอิง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2551).พจนานุกรมพุทมธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย.

Comments are closed.