เรื่องสั้นหัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ท่องยมโลก (เพื่อน 14)

namos

จิปาถะ
เรื่องสั้นหัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ท่องยมโลก (เพื่อน 14)
29
นายเถียน รักดี อดีตพระครู แห่งวัดตากแห้ง ซึ่งลาสิกขาบทนานมาแล้ว ได้รับการทาบทามให้มาช่วยสอนนางแต้มให้สวดมนตร์ นายเถียนได้เดินทางมาที่บ้านนางแต้มก่อนเพื่อดูสถานที่ เมื่อดูสภาพโดยทั่วไปแล้ว ได้เสนอแนะว่า ควรจะมีพระพุทธรูปบูชาองค์เล็กๆ หรือภาพพระพุทธรูปก็ได้ ประดิษฐานไว้ในที่อันควรเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจที่จะสวดมนต์ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย ซึ่งแม่นางแต้มได้ขอร้องนายเถียนให้ ช่วยจัดการให้ด้วย เพราะนางไม่มีความรู้เรื่องนี้
นายเถียนมีท่าทางงง และลังเลนิดๆ และเพื่อความแน่ใจ นายเถียนได้ถามแม่นางแต้มว่า บ้านนี้เป็นชาวพุทธหรือเปล่า เมื่อแม่นางแต้มไม่ได้ปฏิเสธ นายเถียนจึงรับเป็นธุระให้
30
นายเถียนอธิบายว่า “การสวดมนตร์ไหว้พระนั้นเป็นการเสริมสร้างมงคลชีวิต เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ เพราะนอกจากจะเป็นการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันเป็นหลักชัยของชีวิตแล้ว ยังทำให้เกิดปิติปราโมทย์ คือความร่าเริงเบิกบานใจ เกิดความอิ่มใจ ปลื้มใจ เกิดปัสสัทธิ ความสงบเย็น เรียบรื่น ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ไม่เครียด เกิดสุข คือ ความช่ำชื่นรื่นใจจิตปลอดโปร่ง ไม่มีอะไรกดดันบีบครั้น เกิดสมาธิ คือ ภาวะที่จิตมั่นคง แน่วแน่ ไม่มีอะไรกวน และกำหนดจิตนั้นให้อยู่กับสิ่งที่ต้องการได้อีกด้วย”
นายเถียนหยุดนิดหนึ่งและอธิบายต่อไปว่า “เวลาสวดมนตร์จะต้องชำระร่างกายให้สะอาด เตรียมตัวเตรียมใจเตรียมเวลาให้พร้อมเพื่อการระลึกถึงองค์พระรัตนตรัย จิตสงบ เป็นสมาธิ และเริ่มสวดด้วยบทมหานมัสการ ดังนี้
นโม ตสฺสะ ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส สามครั้ง บทมหานมัสการนี้แปลเป็นภาษาไทยว่า “ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น”
31
มหานมัสการ เป็นบทนอบน้อมที่กระทัดรัด สามารถพรรณาพระพุทธคุณสำคัญ 3 ประการ คือ พระมหากรุณาธิคุณ (ภควโต) พระวิสุทธิคุณ (อรหโต) และพระปัญญ¬¬าธิคุณ (สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส) ของพระพุทธเจ้าได้อย่างอัศจรรย์ยิ่ง เป็นบทสวดที่ชาวพุทธนิยมสวดก่อนที่จะสวดบทอื่นๆ เป็นบทนอบน้อมอันถึงพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ที่มีต่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาของมวลมนุษย์และทวยเทพทั้งหลาย
“มหานมัสการ ได้แสดงให้เห็นถึงมหาพลานุภาพของนะโม ฯ อย่างมหาศาล ซึ่ง พระศรีศาสนวงศ์ . (2550 : 10-11 ) กล่าวว่า “ผู้นอบน้อมบูชาจะได้รับผลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งผลที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ”
บทสวดมหานมัสการนี้ในพระบาลีปรากฏว่ามิใช่พุทธภาษิต คือ พระพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสด้วยพระองค์เอง แต่เป็นคำอุทาน ที่บุคคลอื่นหลายท่านกล่าว ซึ่งแต่ละท่านก็มีแรงบันดาลใจในการกล่าวแตกต่างกัน ปรากฏข้อความและเรื่องราวในพระบาลีหลายแห่ง ซึ่งจะกล่าวในโอกาสต่อไป
นางแต้มอ้าปากหาว บนเบาๆว่า “จะมีกล่าวต่อไปอีกหรือนี่”
……….
อ้างอิง
พระศรีศาสนวงศ์ (มีชัย วีรปั¬ฺโญ) .(๒๕๕๐).มหานมัสการ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอไอ จำกัด.

Comments are closed.