จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ (อยู่ไม่เป็นสุข)

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (กรอบบ่าย)

จิปาถะ  เรื่องสั้น เหตุเกิดที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ (อยู่ไม่เป็นสุข) เรื่องนี้โพสต์วันนี้เมื่อปีที่แล้ว

21

ในมหากาพย์มหาภารตะ สุดยอดวรรณกรรมโบราณของอินเดีย มีภาษิตภาษาสันสกฤตบทหนึ่ง ความว่า “วินาศกาเล วิปรีต พุทฺธิ” ความหมายคือ “เมื่อยามที่ความพินาศหายนะจะมาถึง  พุทธิหรือสติปัญญาก็มักจะแปรปรวนไป” และคำสั่งมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ที่ 04/2563 เรื่อง แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดี  ลงนามโดยนายกสภามหาวิทยาลัยฯ ซึ่งท่านเรวัตร เมฆจั่น ระบุว่าเป็น “คำสั่งที่มั่ว มหาอมตะนิรันดร์กาล ฉบับเกียร์ถอยหลังอัตโนมัติ” นั้น ตรงตามภาษิตที่กล่าวมา คือ “เมื่อยามที่ความพินาศหายนะจะมาถึง พุทธิหรือสติปัญญาก็มักจะแปรปรวนไป”

ดังนั้น เหล่าโมฆะบุรุษและโมฆะสตรีทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ รักษาการอธิการบดีฯ นายกสภาฯ กรรมการสภาที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ฯลฯ โปรดพิจาณาตนเอง ด้วยการลาออกไปโดยเร็ว  เพราะได้สร้างความเสียหายให้แก่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์และกระทำความเดือดร้อนให้แก่ทั้ง ครูบาอาจารย์และเจ้าหน้าที่เป็นอเนกอนันต์แล้ว

หากยังขืนดื้อรั้นต่อไป ก็จะตกที่นั่งลำบากอย่างแน่นอน การขึ้นศาลคดีอาญาทุจริต ตาม ม.157และ 112 ในขณะที่สูงวัยแล้ว ไม่เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและครอบครัว อย่าให้ลูกหลานต้องอับอายขายหน้าเพราะตกเป็นเครื่องมือของโมฆะสตรีนาม “นางแต้ม”เลย ครับผม

สุดท้ายอยากจะเตือนผู้บริหารฝ่ายต่างๆที่ช่วงนี้ได้ข่าวว่า รับเงินตกเบิกกันเป็นกอบเป็นกำ ระวังนะครับ เพราะผมยังเชื่ออยู่เสมอว่า “เงินหลวง อันเป็นทรัพย์ของแผ่นดินนั้น ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้”  ใครได้ไปโดยไม่สุจริต รับรองอยู่ไม่เป็นสุข ครับผม

ผู้สันทัดกรณี : อาจารย์ไม่ต้องกังวลและเป็นห่วงว่ากรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ลาออก เพราะมีสิทธิที่จะตกเป็นจำเลยในศาลทุจริตและประพฤติมิชอบ อีกประมาณ 4-5 คดี หรือมากกว่านั้น

กรณี ถ้ากรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิที่ตั้งใจ มาช่วยมหาวิทยาลัยด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่มีผลประโยชน์ ใดๆแอบแฝง คิดว่า ถ้าตกเป็นจำเลยสัก 2 คดี ก็คงจะถอดใจลาออกแล้ว

แต่กรณีถ้ากรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีผลประโยชน์ แอบแฝงอยู่ (มีจิตใจเป็นอาชญากรนิดๆ)ถ้าตกเป็นจำเลย สัก 3-4 คดี ก็น่า จะถอดใจแล้ว

เพราะไม่คุ้มกับเกียรติยศชื่อเสียง ที่เคยสร้างมา หากจำเป็นต้องติดคุก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะต้องถูกเรียกคืน ทำให้ครอบครัวและลูกหลาน พลอยเสียชื่อเสียงไปด้วย

ขอยกตัวอย่างกรณี กรรมการ สภาผู้ทรงคุณวุฒิชุดปัจจุบันร่วมลงมติ ขยายเวลา ให้คณะกรรมการอุทธรณ์ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้สภามหาวิทยาลัย ดำเนินการเรื่องเกี่ยวการอุทธรณ์ร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน แต่ปรากฏว่าเวลาล่วงเลยมาเกินเวลาที่กฏหมายกำหนด มานานแล้ว แต่สภามหาวิทยาลัย ยังถือโอกาส ขยายเวลา อีก ทำให้ผู้ ยื่นอุทธรณ์ร้องทุกข์ เสียโอกาส และเสียประโยชน์ ในการที่จะใช้ผลการอุทธรณ์ ของ กอม.ไปประกอบ เป็นหลักฐาน ในการ ฟ้องคดี ต่อผู้บังคับบัญชา ที่ออกคำสั่ง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมกันกระทำผิดตามมาตรา 157 และถ้าหาก ในวาระการประชุมดังกล่าว มีกรรมการสภา มหาวิทยาลัย ที่ตกเป็นจำเลย ในคดีดังกล่าวเข้าร่วมประชุมอยู่ด้วย มติดังกล่าว ต้องเป็นโมฆะ และถือว่า จำเลยในคดี ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

จึงเสนอแนะ ให้ฝ่ายโจทก์ ทำเรื่องร้องต่อศาลทุจริตแลประพฤติมิชอบ เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งถอนการประกันตัวชั่วคราวของจำเลย เนื่องจาก พยายาม ไปยุ่งเหยิงกับ พยานหลักฐาน และใช้ สภามหาวิทยาลัย ถ่วงเวลา เพื่อไม่ให้ ฝ่ายโจทก์ คือผู้ร้องอุทธรณ์ ได้ผลการพิจารณา ของ กอม.ไปเป็น หลักฐานประกอบการพิจารณาของศาล สุจริตและประพฤติมิชอบ

ติดคุกคนเดียวไม่พอ ยังจะชวนคนอื่นติดคุกไปด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *