จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์ (กิเลส)

วันจันทร์ที่  20  มีนาคม พ.ศ. 2566

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์ (กิเลส)

20

มีนา จัน ปุจฉา ว่า “นางแต้มหรืออีลากไส้นั้น มักจะถูกกล่าวหาว่า มีกิเลสหนา มันจริงหรือเปล่า? และที่ว่ากิเลสนั้นมันคืออะไร?”

คม หักศอก วิสัชนา “กิเลส”  ภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน, ภาวะเป็นเหตุให้เศร้าหมอง, ภาวะเป็นเหตุให้เบียดเบียนกัน” หรือพูดง่ายๆก็คือสิ่งที่ทำให้เดือดร้อน เศร้าหมอง เบียดเบียนกัน มีมากก็เดือดร้อนมาก  เศร้าหมองมาก และเบียดเบียนซึ่งกันและกันมาก ตามปกติเรามักจะพูดถึงกิเลสสำคัญ คือ โลภ โกรธ หลง แต่ความจริง กิเลสสำคัญมีถึง 10 ชนิด นอกจาก 3 ชนิดนี้แล้ว ยังมี ความเย่อหยิ่งถือตัว  เห็นผิด  ที่สำคัญมาก คือ ไม่ละอายต่อการทุจริตต่างๆ  และไม่สะดุ้งกลัวต่อการทุจริต”

จากที่ยกมา จะเห็นได้ว่า นางแต้ม หรือ อีลากไส้นั้น กิเลสหนา คือ 1) นางมีความโลภ คือ อยากเป็นอธิการบดีจนตัวสั่นงันงก  เมื่อได้เป็นแล้วก็อยากจะเป็นอีก อยากมีเงินมีทองมากๆ ฉะนั้นจะทำทุกอย่างที่ได้เงิน สอนจนตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน็อต  อยากให้คนยอมรับนับถือว่าเก่ง จึงพยายามหาถ้วยหรือโล่รางวัลมาประดับบารมีเป็นจำนวนมาก 2) นางมีความโกรธเป็นอาภรณ์ ใครไม่ทำตามใจหรือขัดขืนใจนางเป็นไม่ได้ คือโกรธง่ายหายยาก จนเป็นเหตุให้จะต้องติดคุกติดตะรางในเร็ววันนี้   3) หลงผิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉะนั้น จะพูด พูด และพูด โดยไม่ฟังใคร กูเท่านั้นที่ถูก พวกมึงผิดหมด  4) นางมีความเย่อหยิ่งจองหองพองขน เพราะนึกว่าตัวเองมีขนมาก เลยพองขน แต่เมื่อรู้ว่ามีขนน้อยจึงต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่มีริ้วทำให้พองเหมือนขน ดูสง่า แต่ที่ไหนได้ งิ้วดีๆนี่เอง 5) เห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ คิดว่าสิ่งที่ตัวเองกำลังทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามทำนองครองธรรม พูดง่ายๆคือขาดปัญญา 6) นางไม่ละอายต่อการทุจริตต่างๆ เช่นปล้นเงินเดือนของพนักงาน แบบหน้าด้านๆ ไม่มียางอาย หรือเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการจนครบตามกำหนดแล้ว คือ 180 วัน แต่นางก็จะอยู่ต่อแบบหน้าด้านๆอย่างนั้นแหละ เรียกว่าไม่ละอายต่อการทุจริต และ 7) สำคัญมาก คือ ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทุจริตหรืออาญาแผ่นดิน  ฉะนั้นสิ่งที่พวกเราสงสัยกันมากว่าทำไมนางถึงไม่กลัวติดคุกติดตะราง ก็เพราะนางมีกิเลสข้อนี้ คือ “ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทุจริต” หนามากนั่นเอง

จากที่นำเสนอมาแต่เพียงเล็กน้อย เพื่อชี้ให้เห็นว่านางแต้มหรืออีลากไส้นั้นกิเลสหนา วิสัชนา ตามที่ มีนา จัน ปุจฉามา แต่ความจริงกิเลสมีมากกว่านั้น ดังผู้รู้หลายท่านใช้คำว่า “กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด” อยากรู้หาอ่านเองครับผม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *