จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์  (ตีเนียน)

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน  2565

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์  (ตีเนียน) 

20

ขอเรียนให้ทราบว่า พรุ่งนี้ นางแต้ม นายสุชี๋ และกรรมการสภามหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ก็จะแถกเหงือกไป เมืองประทายสมันต์ ตามที่ศาลฯนัด เพื่อฟังฏีกา ที่ใช้คำว่าแถกเหงือก หมายความว่า กระเสือกกระสน,ดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด” แบบ“ปลาหมอแถกเหงือก”  ผลจะออกมาเป็นอย่างไรจะรีบรายงานให้ทราบ ครับผม

ส่วนเรื่อง “โจราธิปไตย” ที่ปล้นเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยไปนั้น ท่าน เลย์- เลย- เลย บอกว่า “ก็หวังในใจว่าจะได้เฮกันนะครับ–อย่างไรก็ดี ผมมองในแง่ลบนะครับ แต่เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า “สภา/ผู้บริหารหลายๆ มหา’ ยังคงตีเนียนทำเปนเงียบและปล่อยผ่านในเรื่องนี้ไป (งุบงิบหักเหมือนเดิม)” และเสริมว่า “..หักเงินทุกคนเพื่อมาให้เปนค่าตอบแทนตำแหน่งวิชาการ….” นอกจากจะผิดแล้ว..คณาจารย์ในมรภ.หลายๆ แห่งเท่าที่เคยแลกเปลี่ยนมุมมองกันก็มองว่าการกระทำเช่นนี้ไม่เปนธรรมกับคณาจารย์ทุกคน เช่น สมมติมีอาจารย์บางท่านที่มุ่งมั่นในการสอน/วิจัยแต่ไม่คิดอยากจะทำตำแหน่งวิชาการ แต่ถูกหักเงินเพื่อไปให้กับคนที่มีตำแหน่งวิชาการ–ผิดด้วยหรือที่เขาไม่ทำตำแหน่งทางวิชาการ—ในขณะที่หลายๆแห่งกลับเห็นด้วยที่จะถูกหักเพื่อไปจัดสวัสดิการเรื่องค่ารักษาพยบาล”

ส่วน ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา บอกว่า “ปัจจุบันก็ยังหักแต่หักน้อยลง หักมานานจนใช้ไม่หมดเหลือเป็นร้อยกว่าล้านบาท จนไม่ไหวจะเคลียร์แล้วก็บอกว่าส่งคืนรัฐไปแล้ว…บุคลากรเจ้าของเงินมองตาปริบๆ บางท่านที่ฐานะการเงินดีหน่อยก็ไม่เป็นไร แต่อีกกลุ่มที่ไม่ค่อยจะดีนักก็ต้องลำบาก…หากได้ส่วนนี้มาก็จะทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นหรือเกิดสภาพคล่องขึ้น ตอนนี้ผมเองก็เริ่มจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นเมื่อถึงเวลาเกษียณอายุราชการ ผมและท่านเหล่านั้นจะมีอะไรในการเลี้ยงชีพในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ หน่วยงานแต่ละที่น่าจะทำให้เกิดประโยชน์กับเจ้าของเงินหรือประโยชน์กับองค์กรหรือนำไปเป็นสวัสดิการให้กับบุคลากรให้เกิดความมั่นคงในระดับหนึ่งครับผม”

ส่วนผมคิดว่า ต้องจ่ายเงินเดือนให้พนักงานเต็มตามจำนวนก่อน เพื่อเปลี่ยนประเภทเงิน จากเงินงบประมาณแผ่นดิน  เป็นเงินของพนักงานฯ จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องเงินเหลือจ่ายที่ต้องคืนคลัง เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ส่วนจะทำอะไร ก็ว่ากันไป  สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรทำและต้องทำ คือ “การตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นบำเน็จความชอบหลังเกษียณอายุราชการของพนักงาน ซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นในเรื่องนี้ เห็นคุณค่าและความสำคัญของพนักงานมหาวิทยาลัยที่เคยร่วมทำงานด้วยกันมา ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็ทำอยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้มันชัดเจน และเป็นประโยชน์กับพนักงานจริงๆเท่านั้น จะได้ไม่ต้องมองตาปริบๆ

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *