จิปาถะ เรื่องสั้น อีแสบ (แจ้งความเท็จ)

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

จิปาถะ เรื่องสั้น อีแสบ (แจ้งความเท็จ)

25

คดีที่นางแต้ม อธิการบดี ผิดพิมพ์ มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ และบริวารอีก 9 คน ดังมีรายชื่อท้ายนี้  แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับ อาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัย คนงาน และแม่บ้าน ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา  คดีนี้ผมกำลังลุ้นอยู่ว่า ขอให้อัยการสั่งไม่ฟ้องทีเถอะ เจ้าประคูณเอ้ย

เพราะผมอยากเห็นพวกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องทั้งหลาย  ที่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง  แต่แสล๋นแด้น  (แปลว่าอาการสอดรู้สอดเห็น หรือชอบยุ่งเรื่องของผู้อื่น โดยไม่รู้จัก กาละเทศะ หรือ “เสือก”) ไปร่วมฟ้องกับนางแต้ม  ที่ผมอยากให้อัยการสั่งไม่ฟ้อง ก็เพื่อจะให้พวก “เสือก”นี้ถูกฟ้องกลับ และติดคุกติดตะรางไปให้เป็นเยี่ยงอย่างว่า การรับใช้เจ้านายทำเยี่ยงทาส ทำร้ายเพื่อนร่วมงาน แบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่รู้ผิดรู้ถูกนั้น เป็นเรื่องงี๋เหง่าขนาดไหน ตอนแจ้งความก็กระดี๊กระด๊า หน้าบานเอาใจนาย  แต่ตอนถูกศาลสั่งจำคุก คอยดู จะเหี่ยวหงอยเหมือนไก่ตกน้ำ

รายชื่อผู้แจ้งความมีดังนี้  1.นางแต้ม 2 คุณกะผี๋ 3 คุณธตี๋ 4.คุณอัครี๋5.คุณวรี๋ 6.คุณนิจรี๋ 7.คุณนะฤมี๋

8.คุณชานำ 9. คุณปลาชี๋ 10.คุณพลกี๋ ความจริงวันนั้นมีอีกหลายคน เช่น แจ็ดแจ๋ แต่ถูกพี่สาวกันออกไป คุณพรดำปี๋ ไหวตัวทัน และมีบางคนทำเป็นลืมบัตรประชาชน

ที่น่าสังเกตก็คือ คดีนี้ผู้เสียหายโดยตรงแอบขอถอนแจ้งความไปแล้ว ปล่อยให้พวก “เสือก” รับกรรมไป

เรื่องนี้ผมมีประสบการณ์ตรง  เมื่อประมาณปี 41  อดีตอธิบดีกรมศิลปากร นามสกุลหนูบ้าน แจ้งความดำเนินคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา บก.หนังสือพิมพ์สยามรัฐเป็นผู้ต้องหาที่ 1 ผมเป็นผู้ต้องหาที่ 2 โดยนำคำสัมภาษณ์ของผมเรื่องการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 สร้างผิดไปจากที่ออกแบบไว้ จากนั้น ผู้แจ้งความร้องทุกข์ ก็ถอนฟ้องผู้ต้องหาที่ 1 ส่วนผมผู้ต้องหาที่ 2 ก็ต้องสู้คดีไปโดยลำพัง

แต่คดีนี้ผมไม่กลัวอยู่แล้ว เพราะผมมีหลักฐานชัดเจน คือหนังสือของจังหวัด ที่มีแบบการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ร. 1 ประทับนั่งอยู่บนคอช้างศึก แต่ที่กรมศิลปากรสร้าง พระองค์ประทับนั่งอยู่บนสัปคับคชาธาร สุดท้ายอัยการสั่งไม่ฟ้อง

 ส่วนคดีที่ พวกเสือก ร่วมแจ้งความกับนางแต้ม คดีมีแนวโน้มว่าจะสั่งไม่ฟ้อง และถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเจ้าเสือก 9 คน จะโดนหนัก เพราะ 1) ไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง 2 ) แจ้งความเท็จ ซึ่งมีโทษตาม ม.อาญา 172  ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ไอ้พวกเสือก  รอรับความสนุกได้เลย ครับผม

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *