จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต หกห้า (มึงแน่มาก)

วันอังคารที่  15  กุมภาพันธ์  2565

จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต หกห้า (มึงแน่มาก)

15

ผู้สันทัดกรณีบอกว่า “การที่นางแต้มฟ้องอาจารย์และพนักงาน รวม 7 คน ในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยฟ้องถึง 4 คดีโดยที่ข้อเท็จจริง ทั้ง 7 คนต้องการที่จะร้องทุกข์ต่อ กรรมการสภามหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ให้รับทราบถึงปัญหาความคับแค้นใจ ถ้าหากร้องไปที่นายสุชี๋นายกสภาคนเดียว นายสุชี๋ก็จะทำเป็นลืม ไม่นำเรื่องเข้าสภา(เคยทำอย่างนี้หลายครั้ง)จึงต้องร้องไปที่กรรมการสภาทุกคนเพื่อป้องกันความผิดพลาด แต่ปรากฏว่ามีกรรมการประเภทไม่มีสมองในการพิจารณาเรื่องนี้ จำนวน 4 คนที่ทำตัวเสมือนสุนัข(หมานาย)รับใช้  รีบนำหนังสือร้องทุกข์ดังกล่าวไปให้นางแต้ม จึงทำให้นางแต้มโกรธจัดที่ไปกล่าวถึงเรื่องรักษาการอธิการบดีเถื่อน ซึ่งนางแต้มรับไม่ได้จึงรีบให้ทนายฟ้องทันที 4 คดี โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ทั้ง 7 คนต้องรับโทษทางคดีอาญา โดยไม่คำนึงถึงความความถูกต้องหรือความชอบธรรม ทั้งๆที่ศาลได้ตัดสินให้นางแต้มแพ้คดีแล้ว 1 คดี นางแต้มควรจะรู้แล้วว่าคดีที่เหลืออีก 3 คดี ก็จะแพ้อีกเช่นเดียวกัน ก็น่าจะรีบถอนฟ้องเสียแต่ก็ยังดันทุลังสู้คดี เพื่อหวังจะชนะอีกแสดงให้เห็นถึงจิตใจที่ชั่วร้ายและดำมืดบอดสนิทของนางแต้มกับพวก

ถ้านางแต้มมีความสุจริตใจในการฟ้องร้อง  นางแต้มต้องไปเป็นพยานในการเบิกความในศาล  แต่ปรากฏว่านางแต้มไม่กล้าไปเพราะว่าไม่สามารถเบิกความต่อศาลได้ว่า เป็นรักษาการอธิการชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะไม่มีมติสภามหาวิทยาลัยและคำสั่งสภาแต่งตั้งให้นางแต้รักษาการอธิการบดีแต่อย่างใดและไม่ต้องการตกเป็นจำเลยและถูกลงโทษในฐานเบิกความเท็จในศาลเพิ่มอีกคดีหนึ่ง

” มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 176 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 175 แล้วลุแก่โทษต่อศาล และขอถอนฟ้องหรือแก้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้”

ถ้านางแต้มรีบถอนฟ้องอีก 3 คดี เมื่อรู้ว่าคดีแรกแพ้แล้ว ศาลอาจมีเมตตาไม่ลงโทษตามมาตรา 176 ก็ได้ แต่เพราะความบ้าความอาฆาตพยาบาท จึงไม่ยอมถอนฟ้อง ทำให้นางแต้มต้องถูกลงโทษให้ติดคุกทั้ง 4 คดี แต่ละคดีไม่เกิน 5 ปี โดยไม่รอการลงโทษแน่นอน”

คม หักศอก บอกว่า “ได้ยินแว่วๆมาว่า นางแต้มจะให้ทนายยื่นฏีกา ทั้งๆที่  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 220 วางหลักว่า ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์.

แต่นั่นแหละ ก็ยังมีช่องทางให้สามารถฏีกาได้ เพราะ ใน ปวอ. มาตรา 221 ในคดี ซึ่ง ห้ามฎีกาไว้โดย มาตรา 218, 219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายนี้  ถ้าผู้พิพากษาคนใด ซึ่ง พิจารณา หรือ ลงชื่อ ในคำพิพากษา หรือ ทำความเห็นแย้ง ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ พิเคราะห์เห็นว่า

 ข้อความที่ตัดสินนั้น เป็นปัญหาสำคัญ อันควรสู่ศาลสูงสุด และ อนุญาตให้ฎีกา หรือ อธิบดีกรมอัยการ ลงลายมือชื่อ รับรองในฎีกาว่า มีเหตุอันควร ที่ศาลสูงสุด จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้น ไว้พิจารณาต่อไป”

แต่ก็ไม่ง่ายนักหรอก นางแต้มเอ๋ย  แต่ถ้าทำได้ ก็จะเยลให้ว่า “มึงแน่มาก! มึงแน่มาก! มึงแน่มาก!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *