จิปาถะ เรื่องสั้น อีเถื่อน (สวัสดี เรือนจำ)

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม  พ.ศ. 2564

จิปาถะ เรื่องสั้น อีเถื่อน (สวัสดี เรือนจำ)

22

วันนี้ผู้สันทัดกรณี สาธยายมาว่า “ความวัวยังไม่ทันหายความควายก็เข้ามาแทรก” เป็นคำพังเพยที่เหมาะกับมหาวิทยาลัยกำแพงมณีจริงๆ  ความวัวคือการแต่งตั้งอธิการบดี และตั้งรักษาการอธิการยังไม่สามารถรับรองรายงานการประชุมได้ต้องจัดประชุมเป็นวาระพิเศษ เพื่อเบิกเบี้ยประชุมกันอีกรอบทั้งเป็นความผิดพลาดบกพร่องของกรรมการแท้ๆ(ทั้งๆที่ควรจะใช้เวลาเพียง 10 นาทีก็เสร็จแล้ว แต่กลับดึงเรื่องไว้ไม่ให้เสร็จเพื่อให้สามารถผลาญเงินของมหาวิทยาลัยอีกหลายหมื่น)

 ทำให้มีความควายเข้าแทรก ควายในที่นี้ก็คือ รักษาราชรองอธิการบดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย(เถื่อน)ที่เสนอแต่งตั้งผู้ที่เกษียณราชการ เข้ามาให้สภาเห็นชอบ โดยไม่ได้มีกฎหมายรองรับเนื่องจากบุคคลผู้นี้มีคุณสมบัติพิเศษคือมีหนี้สินเยอะ (อย่างอื่นยังมองไม่เห็น)จึงต้องมากอบโกยเงินของมหาวิทยาลัยไปใช้หนี้ อันนี้ต้องขอบคุณกรรมการสภาที่มีใจโอบอ้อมอารี ยอมทำผิดกฏหมาย และเป็นการดูถูก อาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยคนอื่นทั้งมหาวิทยาลัยว่าไม่มีความสามารถที่จะเป็นรองอธิการบดีได้ ทั้งๆที่กฏหมายได้ห้ามไว้

แต่ก็มีผู้ที่อยากทำผิดกฎหมายเพราะได้รับผลประโยชน์ โดยอ้างข้อบังคับการบริหารงานบุคคล ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2559 ซึ่งข้อบังคับนี้น่าจะขัดกับกฎหมายเนื่องมาจาก

1. พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิเท่าเทียมกับข้าราชการ จะมีสิทธิพิเศษเหนือข้าราชการไม่ได้ เพราะตาม พรบ .ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดม ศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา19 วรรคสอง “ในระหว่างการต่อเวลาราชการ ตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่ง ประเภทผู้บริหารตามมาตรา 18 (ข) และงานบริหารอื่นๆตามที่กพ. กำหนดมิได้”

ดังนั้นพนักงานมหาวิทยาลัย ก็สามารถ เทียบเคียง กับข้าราชการได้ คือไม่สามารถ ดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ ในตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้เช่นกัน

2.เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 ศาลปกครองเชียงใหม่พิพากษาให้สภา มรภ.เชียงใหม่ เพิกถอนมติตั้งคณบดี คณะครุศาสตร์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่มีมติ 8 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งคำพิพากษา ได้ตัดสินมาหลังข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย พ.ศ.2559 แสดงให้เห็นว่า ข้อบังคับขัดกับคำตัดสินของศาลปกครองเชียงใหม่ หากสภามหาวิทยาลัยกำแพงมณี แต่งตั้งตามข้อบังคับก็ถือว่าสภาได้กระทำขัดกับคำตัดสิน ย่อมถือว่ากระทำผิดกฎหมายและจะต้องถูกยกเลิกมติ และอาจถูกดำเนินคดีทางอาญาได้หากมีผู้ร้องต่อประธาน ปปช. (อย่ามาอ้างว่าคนละมหาวิทยาลัย)

สรุปแล้วทั้งความวัวและความควาย สามารถเพิ่มคดีอาญาให้แก่กรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้ 3กรณี  สวัสดี เรือนจำ

…..

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *