เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (หญิงไร้ระดับ)

เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (หญิงไร้ระดับ)


30
ที่แรกคิดว่าจะเรียนกฏหมายเพียงชั่วโมงเดียวพอ แต่พอดีมีเพื่อนในเฟสจะร่วมเรียนด้วย จึงดีมากเลยมีเพื่อน ได้ความรู้และสนุก มาเริ่มกันเลยครับ
“วันนี้มาเรียนวิชากฎหมายเบื้องต้น เพื่อเตรียมตัวสอบ(สวน) ที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ต่อครับ
คำถาม : มาตรา 32 วรรค 3ได้บัญญัติไว้ว่าอย่างไร
คำตอบ : มาตรา 32 วรรค 3 “เมื่อมีอธิการบดีพ้นจากตำแหน่งให้รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีพ้นจากตำแหน่งด้วย”
คำถาม : เมื่อนาง ต. หมดวาระการดำรงตำแหน่งรักษาการอธิการบดี ในวันที่ 15 กย. 60 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 16 กย. 60 เป็นต้นไป รองอธิการบดี ชุดที่นาง ต. เสนอชื่อให้สภามหาวิทยาลัย แต่งตั้ง ในขณะที่รักษาการอธิการบดี ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ ต่อไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ : ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เพราะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 32 วรรค 3
คำถาม : มาตรา 17 วรรค 2( 3)บัญญัติไว้อย่างไร
คำตอบ : มาตรา 17 วรรค 2(3) “นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระในวรรคหนึ่งแล้วนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยตามมาตรา 16( 3 )(4) และ (5 )พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (3) ขาดคุณสมบัติของการเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยหรือกรรมการสภามหาลัยในประเภทนั้นๆ
คำถาม : ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 เป็นต้นมา นาง ต.ยังสามารถ เข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ : นางต. ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยได้ เนื่องจาก นางต. เป็นเพียงข้าราชการบำนาญ และเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 17 วรรคสอง(3) ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ รักษาการอธิการบดีแล้ว
คำถาม : หากนาง ต.เข้าร่วมประชุม ในการสรรหา นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มติการประชุมดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ : มติการประชุม ทั้ง 3 ดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีบุคคลภายนอกสภาฯ ที่ไม่ได้เป็นกรรมการสภา มหาวิทยาลัย เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามมาตรา 17 วรรคสอง(3) เข้าร่วมประชุมลงมติถึง 3 คน ด้วยกัน คือ อดีต รักษาการอธิการบดี 1 คน อดีตรองอธิการบดี 2 คน ซึ่งเคยเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย และได้ หมดวาระในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวในวันที่ 15 กย. 60 ความเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยก็สิ้นสุดลงด้วยในวันดังกล่าว
คำถาม : การสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย และ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ นายกสภามหาวิทยาลัย และสภามหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการ นำเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เสนอเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯนั้น สามารถจะกระทำได้หรือไม่
คำตอบ : นายกสภามหาวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลันไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้เพราะเป็นเรื่องที่มีบังควรเป็นอย่างยิ่ง และถ้ากระทำอาจจะมีความผิด ตามมาตรา 112 และเป็นการไม่ปฏิบัติตาม หนังสือ สั่งการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร.0508/ว101 ลงวันที่ 23 กพ. 61 เรื่อง แนวทางการ ปฏิบัติ ในการเสนอเรื่อง ที่ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณา ได้กำชับ ห้ามนำเรื่องที่ดำเนินการยังไม่เรียบร้อยและไม่ถูกต้องตามกฏหมาย นำความกราบบังคมทูล เพื่อโปรดเกล้า โดยเด็ดขาด เพราะจะ ทำให้ เป็นที่ ระคายเคือง เบื้องพระยุคลบาท
คำถาม : นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการสรรหาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ควรจะดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : ควรจะลาออก หรือ รอให้สภามหาวิทยาลัยดำเนินการถอดถอน หรือถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก อันนี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและวุฒิภาวะของแต่ละท่าน
หมดเวลา พบกันชั่วโมงต่อไปครับ

ท่านนายกสภาฯและกรรมการสภามหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ลาออกเสียเถอะครับ อย่าต้องมารับเคราะห์กรรมเพราะผู้หญิงที่ไม่มีสาระ และไร้ระดับ นางนี้เลย
…..

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *