เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน เผาหุ่น 18

maxkos

จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน เผาหุ่น 18
47
“อาจารย์ครับ เรื่องรื้ออาศรมศิลป์และไล่พวกนั้นให้ไปอยู่ที่อื่น ขอถามจริงๆเถอะ อาจารย์ว่าควรทำหรือไม่” ถากถางตั้งคำถาม
“ควรอย่างยิ่ง ถ้ามีอยู่ในแผนแม่บทรองรับ” ผมตอบตรงๆ
“ผมว่าไม่มีในแผนแม่บทมีหรอก” จานจินออกความเห็น และเสริมว่า “ถ้ามีในแผนฯ เมื่อปีที่แล้วเขาจะซ่อมอาคารใหม่ทั้งหมดให้เสียเงินเสียทองไปเปล่าๆทำไม”
“อันนี้ไม่รู้จริงๆ ไม่มีข้อมูล” ผมยอมจำนน
“ที่นี้ถ้าไม่มีในแผนแม่บท อาจารย์ว่าควรรื้อและไล่พวกนั้นไปหรือไม่” ถากถางตั้งคำถามใหม่
“ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะมันเป็นการรุกราน”
“อาจารย์ใช้คำรุนแรง” ถากถางขัด
“สมมุติว่าเธออยู่ที่นี่มาเกือบ 40 ปี วันนึ่งใครก็ไม่รู้มาไล่เธอออกไป ไม่เรียกว่ารุกรานแล้วจะเรียกว่าอะไรล่ะ ถากถาง”
“ใช่ครับ เป็นการรุกราน เลวมาก ถ้าไม่โดนเองก็จะมองไม่เห็น” ถากถางยอมจำนน
48
“ถากถาง เธอรู้จักคำว่า “เทอร์ร่า นุลลิอุส”(terra nullius) ไหม”
“มันคืออะไรครับ”
“มันเป็นศัพท์กฎหมายโรมัน หมายความถึง “ดินแดนที่ไม่มีใครจับจอง” หรือ “แผ่นดินว่างเปล่า”
“แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ล่ะครับ”
“เกี่ยวซิเธอ เพราะนางแต้มกำลังใช้อำนาจเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่บนพื้นฐานความคิดในบริบทที่ว่า ที่อาศรมศิลป์นี้เป็น
เทอร์ร่า นุลลิอุส หรือดินแดนว่างเปล่า ไม่เคยมีใครอยู่มาก่อน เหมือนผ้าขาวสะอาดที่จะแต่งแต้มสีอะไรลงไปก็ได้ ซึ่งแน่นอนวิธีคิดโบราณแบบนี้ไม่ถูกต้อง”
“ขอตัวอย่างครับ อาจารย์”
49
“เมื่อปี ค.ศ. 1788 ผู้ตั้งรกรากชาวอังกฤษเดินทางมาถึงออสเตรเลีย และเผชิญหน้ากับพวก อะบอริจิน ชาวพื้นเมืองซึ่งพวกนี้เดินทางมาที่นี่ก่อนหน้าแล้วถึง 40,000 ปี และด้วยความคิดพื้นฐานที่ว่าโลกนี้ว่าเปล่า ไม่เคยมีใครจับจอง การรุกรานจึงเกิดขึ้น…
“นี่คือประวัติศาสตร์ที่ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงภาพของความกล้าหาญของผู้คนที่ลงทุนลงแรงเดินทางทางข้ามโลกมาเพื่อเผชิญหน้ากับความจริงใหม่ๆ ทางสังคมเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นภาพของการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ การทำลายระบบนิเวศอย่างมโหฬาร ทั้งหมดเกิดจากวิธีคิดของนักบุกเบิกบนพื้นฐานที่คิดว่าโลกนี้ว่าเปล่า นับจากนั้นมาเวลาผ่านไปสองทศตวรรษ ความขัดแย้งระหว่างผู้บุกเบิกชาวยุโรปกับชนพื้นเมืองชาวอะบอริจินในออสเตรเลียก็ยังคงดำเนินไปบนกรอบความคิดที่ว่า ดินแดนออสเตรเลีย ดินแดนที่ไม่มีใครจับจอง หรือ แผ่นดินว่างเปล่า”(อาดัม คาเฮน.(2553).41-42)
“แสดงว่าเรากำลังรุกรานและสร้างความขัดแย้งขึ้นที่นี่”
“ถากถาง เมื่อนางแต้ม ทุ่มเทความพยายามเพื่อผลักดันให้ได้สิ่งที่เธอต้องการ ด้วยอำนาจและบริวารที่เธอมีอยู่ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่พวกอาศรมศิลป์ต้องการ ผลที่ตามมาก็คือ คนพวกนั้นก็จะผลักดันสิ่งที่เขาต้องการกลับมา และดูเหมือนว่ามันกำลังเกิดขึ้นแล้ว.”
……
อาดัม คาเฮน.(2553). สันติ กนกธนาพร และ สุมิท แช่มประสิทธิ์ แปล.power and love.พลังรัก พลังอำนาจ.กรุงเทพฯ :โพสต์บุ๊กส์.

Comments are closed.