เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน เผาหุ่น 11

coffees

จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน เผาหุ่น 11
29
“อยากให้อาจารย์อธิบายเรื่องกาลเวลาของโลกตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา”
“เธอถามเรื่องอย่างนี้ ผมขอกลับบ้านดีกว่า”
“ทำไมละครับ”
“ก็มันอธิบายให้เข้าใจได้ยากนะซิ”
“แล้วจะรู้ได้อย่างไรละครับ”
“ก็ต้องไปคุยกับพระ หรือไม่ก็ไปหาหนังสืออ่านทำความเข้าใจเอาเอง”
“อาจารย์จะไม่ลองว่าสักหน่อยหรือครับ”
“ก็ลองถามมา ถ้าตอบได้ก็จะตอบ ถ้าตอบไม่ได้ก็จะผ่านไป”
“ได้ครับ อาจารย์”
30
“กัป คือ อะไรครับ”
“กัป หรือ กัปปะ ในภาษามคธ หรือ กัลป์ ในภาษาสันสกฤต คือ การกำหนดอายุของโลก หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่กำเนิดโลกจนโลกสลาย ซึ่งมีระยะเวลาที่ยาวนานมาก”
“แล้วเขานับกันอย่างไรละครับ”
1) นับด้วยจำนวนสังขยา หรือนับด้วยตัวเลข เช่น1,2,3 และ 2) ใช้วิธีอุปมาเปรียบเทียบ”
“กัป หนึ่งนานเท่าไรครับ”
“คำว่า “กัป” ที่มาโดดๆ มักหมายถึง “มหากัป” แต่หลายแห่งหมายถึงอายุกัป”
ผมหยุดนิดหนึ่ง ก่อนที่จะอธิบายต่อไปว่า
“มหากัป” คือ กาลเวลาที่ไม่สามารถนับเวลาเป็นจำนวนได้ว่า กี่เดือน กี่ปี แต่มีคำอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า..
“ เหมือนมีภูเขาศิลาล้วนกว้าง ยาว สูง ด้านละ 1 โยชน์ (1โยชน์ เท่ากับ 16 กิโลเมตร) ทุก 100 ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวกว่านั้น…
ส่วน “อายุกัป”เป็นการกำหนดอายุของมนุษย์หรือสัตว์จำพวกนั้นๆ ในยุคนั้นๆ เช่น อายุกัปของมนุษย์ยุคนี้ ประมาณ 100 ปี” (ประยุตฺโต.2551 : 10)
“ในศาสนาฮินดู หนึ่งกัป เท่ากับวันหนึ่งกับคืนหนึ่งของพระพรหม กลางวันเรียกอุทัยกัป หรือ กัปรุ่ง กลางคืนเรียก
ขัยกัป คือกัปมลาย”
31
“แล้อสงไขย ละครับ คืออะไร
“อสงไขย” แปลว่า นับไม่ได้ คือ อายุของกัปแต่ละกัปที่ล่วงไปจนนับไม่ได้ว่าเวลาล่วงเลยมาแล้วกี่กัป มีคำอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า
“ฝนตกใหญ่ทั้งกลางวันกลางคืนมิได้หยุด มิได้ขาดเม็ดฝน เป็นเวลานานถึง 3 ปีติดต่อกัน จนน้ำเจิ่งนองท่วมท้นขอบเขาจักรวาล ประมาณเม็ดฝน และหยาดเม็ดฝน นับได้จำนวนเท่าใด อสงไขยหนึ่งเป็นจำนวนปีเท่ากับเม็ดฝนและหยาดเม็ดฝนที่นับได้นั้น”
“พอเข้าใจไหม ถากถาง”
“ยังงงๆอยู่ครับ”
“แล้วเรื่องเวลาที่ยาวนานนี้มันมีนัยสำคัญอย่างไรครับ”
จาก สาสปสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่า “บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้วมิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่
พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ” (พระไตรปิฎก เล่มที่ 16 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 8 สังยุตตนิกาย นิทานวรรค)
จากที่ยกมา ผมเข้าใจเอาเองว่า ถ้าท่านยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา คือ รัก โลภ โกรธ หลง วนเวียนอยู่เช่นนี้ ท่านก็จะวนเวียนอยู่เช่นนั้นไปอีกนานแสนนาน หลายร้อย หลายพัน หลายแสนกัป ไม่มีที่สิ้นสุด หาต้นปลายไม่ได้ ดังนั้นอย่าโง่นักเลย ควรหาทางหลุดพ้นไปได้แล้ว
……
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).2551.พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพฯ.
โรงพิมพ์มหาจุฬาลวกรณราชวิทยาลัย.

Comments are closed.