เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก (ผมโง่)

odin

จิปาถะ

เรื่องสั้น  หัวใจเปื้อนชอล์ก (ผมโง่)

207

“อาจารย์ครับ เพื่อนๆชอบว่าผมโง่ ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ” ถากถางถามแซงเปลี่ยนเรื่องนางแต้มที่อาจารย์กำลังเล่า จนทำให้จานจินถึงกับอดรนทนไม่ได้  ดุถากถางว่า “แกถามแซงขึ้นมาได้อย่างไร ไม่รู้กาลเทศะเอาเสียเลย”

“ขอโทษครับอาจารย์” ถากถางกล่าวคำขอโทษ ด้วยสีหน้าแววตาซึมเศร้า ก้มหน้านิ่งอย่างสำนึกผิด

“ไม่เป็นไรถากถาง”  ผมปลอบ “แล้วที่เพื่อนๆว่าเธอโง่นะ  จริงอย่างที่เพื่อนเขาว่าหรือเปล่าล่ะ”

“ผมน่าจะโง่จริงๆครับ  เพราะผมตามเพื่อนไม่ค่อยจะทันเลย บางทีเพื่อนหัวเราะกันไปตั้งนานแล้ว ผมจึงหัวเราะ เพราะเพิ่งนึกขึ้นได้ เมื่อกี้ก็ถามแซงอาจารย์อย่างไม่รู้กาลเทศะอีกด้วย”

“จานจินว่าไง ในสายตาของเธอ  ถากถางโง่หรือเปล่า” ผมมองไปทางจานจิน

“ผมก็ไม่รู้จะว่าอย่างไง  เจ้าตัวเขาบอกว่าเขาโง่นี่ครับ”  จานจิน เลี่ยงตอบ

“เออ! น่าเห็นใจ  เพราะไม่มีใครที่อยากเป็นคนโง่ ทุกคนอยากเป็นคนฉลาดด้วยกันทั้งนั้น”

“นั่นนะซิครับ  อาจารย์มีทางทำให้ผมฉลาดหรือหายโง่ได้ไหมครับ”

“ผมคงทำให้เธอฉลาดไม่ได้หรอก เธอต้องทำเอง”

“ทำอย่างไรละครับ  อาจารย์”

“เธอต้องใช้ “สมอง”

208

“อาจารย์ครับ  อายุขนาดถากถางนี่  สมองไม่เสื่อมหรือตายไปหมดแล้วหรือครับ”  จานจิน ตั้งคำถามเหมือนเหน็บแนม

“ไม่หรอก”  ผมปฏิเสธ  “แต่เดิม นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาเชื่อกันว่า เมื่อสมองของผู้ใหญ่มีการเจริญเติมโตขึ้นถึงจุดหนึ่ง มันจะคงสภาพแบบนั้นอยู่ได้หลายสิบปี และหลังจากนั้นจะค่อยๆเสื่อมสมรรถภาพลงในที่สุด  พวกเขายังเชื่ออีกด้วยว่าเซลล์สมองที่ตายไปแล้วไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้อีก แต่ที่ว่ามานี้ไม่ใช่ความจริงอีกต่อไปแล้ว”

( RichardRestak.2549:40)

“แสดงว่าผมจะฉลาดขึ้นได้ใช่ไหมครับ” สายตาถากถางมีประกายอย่างมีความหวัง

“แล้วเขาว่าอย่างไรต่อไปอีกครับ”

“เขาบอกว่า จากผลงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้  พบว่า  ในสมองนั้น เซลล์ประสาทที่มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจำ สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้  ยิ่งไปกว่านั้นสมองมิได้อยู่ในสภาพตายตัวแต่สามารถปรับตัวไปตามสถานการณ์ที่ประสบอยู่

ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า เซลล์สมองสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย  สมองนั้นพัฒนาอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกกิจกรรมล้วนมีผลต่อการปรับสภาพของของสมองให้ดีขึ้น ไม่ว่าอายุจะมากหรือน้อย”

“สุดยอดครับอาจารย์ เท่าที่ฟังอาจารย์ว่า ผมมีความหวังขึ้นเยอะเลย”

“ดี แต่อยากจะบอกอีกสักนิด ซึ่งสำคัญมาก “จากการศึกษาของ Rober P. Friedander แห่งโรงเรียนแพทย์ Case Western Reserve University พบว่า  ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไร หากคุณทำกิจกรรมที่กระตุ้นการใช้สมองเป็นประจำ โอกาสที่คุณจะเป็นโรคความจำเสื่อมจะลดลง.(อ้างจาก Richard Restak.2549:42)

สำหรับเธอ ถากถาง “อย่าปล่อยให้สมองเป็นเพียงแค่สมอง”

………

Richard Restak,M.D. ศิตวิภู แปลและเรียบเรียง.(2549).พัฒนาสมองให้เป็นอัจฉริยะ แบบ โมสาร์ท.(MOZART’s BRAIN

and the FIGATER PILOT.(2).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ กู๊ดมอร์นิ่ง.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *