ปาฏิหาริย์

two
จิปาถะ
ปาฏิหาริย์
“ปาฏิหาริย์ คือ สิ่งที่น่าอัศจรรย์ เรื่องที่น่าอัศจรรย์ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ มี 3 อย่าง คือ 1. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ 2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์ 3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์ ใน 3 ข้อ นี้ข้อสุดท้ายดีเยี่ยมเป็นประเสริฐ (ป.อ.ปยุตโต.) ดังตัวอย่าง “นางแต้มมีอวิชชาสวะ คือ มีกิเลสที่หมักหมมหรือหมักดองอยู่ในกมลสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ จนใครๆก็บอกว่ามีเพียงปาฏิหาริย์เท่านั้นที่จะช่วยเธอได้
ส่วนผม ชีวิตการรับราชการนั้น ผมมีประสบการณ์ที่เรียกได้ว่าปาฏิหาริย์ ประเภทอิทธิปาฏิหาริย์ หรือน่าอัศจรรย์หลายเรื่องหลายราว ขอนำมาเป็นตัวอย่างสัก 2 -3 เรื่อง ครับ
1) เมื่อผมเกษียณอายุราชการบัตรประจำตัวข้าราชการของผมระบุว่าผมเป็นข้าราชการบำนาญ ต่อมาเมื่อบัตรหมดอายุผมก็ไปทำใหม่ แต่สถานะของผมเปลี่ยนไป บัตรประจำตัวของผมระบุว่า ผมเป็นพนักงานของรัฐ ผู้ได้รับบำเหน็จบำนาญ หรือ ยกตัวอย่างง่ายๆว่า ผมนั้นปกติเป็นแมว อยู่ดีๆเขาก็เปลี่ยนให้เป็นหมา ผมก็เลยเป็นหมาไป อันนี้ถือได้ว่าเป็นปราฏิหาริย์ (ขั้นปกติ)
2) ผมเคยเป็นกรรมการวิทยาลัยที่มาจากการเลือกตั้ง ครั้งหนึ่งเราพิจารณาเรื่องการตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาบุคลากร
หรือให้ทุนเพื่อครูบาอาจารย์ได้ไปศึกษาต่อนั่งเอง ในระเบียบนั้นมีหลักการที่ดี คือต้องการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและมีวุฒิการศึกษาสูงขึ้น ตามหลักการที่ว่า “ครูเก่งนักศึกษาจะเก่งด้วย” แต่หลังจากอนุมัติให้ตั้งกองทุนแล้ว ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งดำเนินการ คณะกรรมการได้ออกระเบียบกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน หรือพูดง่ายๆก็คือ ออกระเบียบเพื่อจะไม่ให้ โดยตั้งเกณฑ์ขึ้นมา เช่น ผู้ขอทุนจะต้องไปเรียนวิชาที่ตรงสาย อันเป็นช่องทางพิจารณาทุนให้กับพวกพ้อง คือ พวกกูตรงสาย ส่วนพวกมึงไม่ตรงสาย เป็นต้น อันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นปาฏิหาริย์กว่า (ขั้นวิเสส)
3) ในขณนี้ ปรากฏว่าสถานศึกษาแห่งหนึ่ง เลือกผู้บริหารแบบพวกมากลากไป เลือกเอาคนที่ขาดคุณสมบัติพื้นฐาน
ของการเป็นผู้บริหาร คือ ขาดเมตตาธรรม มาเป็นผู้บริหาร ความวุ่นวายจึงเกิดขึ้น เพราะเมื่อเข้ามาก็หาวิธีกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามเป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นศัตรูคู่อาฆาต ต่อมาก็พยายามทำแต้มเพื่อจะได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารที่มีฝีมือ โดยไม่สนใจความจำเป็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ว่าจะเดือดร้อนหรือไม่อย่างไร จากนั้นก็หาผลประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้อง โดยให้พวกและตัวเองสอนเพื่อรับค่าตอบแทนโดยไม่สนว่านักศึกษาจะได้รับความรู้หรือไม่ ส่วนฝ่ายตรงข้ามก็ไม่ยอมให้สอน อันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่สุด (ขั้นอติวิเสส)
ท่านละครับ มีประสบการณ์ที่เป็นปาฏิหาริย์หรืออัศจรรย์บ้างไหม เล่าให้ฟังบ้างซิครับ
…..
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต).(2551).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.