จิปาถะ เรื่องสั้น โจรปล้นเงินเดือน (อย่าหวังมาก)

วันเสาร์ที่ 13  กุมภาพันธ์  2564

จิปาถะ  เรื่องสั้น โจรปล้นเงินเดือน (อย่าหวังมาก)

13

มีงานวิจัยเป็นจำนวนมาก ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจใช้ข้อมูลเฉพาะส่วนเพื่อตอบโจทก์ที่ต้องการและละเลยข้อมูลบางส่วนที่ขัดแย้งกับข้อสมมุติฐานที่ตั้งไว้ หรืออ้างว่าไม่มีเหตุต้องนำมาใช้  งานประเภทนี้เหมือนการฆ่าตัวตายทั้งผลงานและผู้วิจัย

ในซีรีส์ภาพยนต์ ทีวี เกี่ยวกับการพิพากษาคดี เราอาจพบว่าบางครั้งทั้งตำรวจ อัยการและศาลก็ละเลยข้อมูลที่ไม่ตรงกับที่ตนต้องการ และอ้างว่าไม่มีเหตุต้องนำมาใช้    เพราะตั้งเป้าหมายไว้แล้วว่าจะให้โจทก์หรือจำเลยชนะคดี แต่ก็มีน้อยมาก เรื่องนี้ก็เข้าทำนองเดียวกับงานวิจัย  คือ ขาดความน่าเชื่อถือ  แต่นั่นแหละ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ เพราะไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย อัยการ หรือผู้พิพากษา ต่างก็เป็นมนุษย์ ซึ่งก็ต้องมีอคติอยู่บ้างไม่มากก็น้อย

การขาดความน่าเชื่อถือคือการทำลายตัวเอง เหมือนยืมเงินเพื่อน สัญญาว่าจะใช้คืนให้ เมื่อถึงเวลาก็ไม่ยอมใช้คืนทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่น่าไว้วางใจ และเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ก็ไม่กล้ามาขอยืม ถึงกล้ามาขอยืม เพื่อนก็จะไม่ให้ กลายเป็นคนล้มละลายของเพื่อนไปแล้ว  ผมนั้นไม่ค่อยให้เพื่อนยืมเงิน ส่วนใหญ่ก็ให้ไปเลยนิดๆหน่อยๆ  เพราะไม่อยากเสียเพื่อน แต่อดไม่ได้เมื่อลูกศิษย์มายืม ซึ่งก็เสียลูกศิษย์ไปแทบจะทุกคน

และช่วงนี้ เรามักจะได้ยินได้ฟังบ่อยๆ กรณีการขาดมาตรฐานในเรื่องความยุติธรรม ทำให้หดหู่สะเทือนอารมณ์และเสียความรู้สึก  แต่ก็ไม่อยากก้าวล่วง ครับผม

ก็คงต้องนึกถึงคำพระว่า “อตฺตนาว กตํ  ปาปํ  อัตฺตนา สงฺกิลิสสติ” แปลว่า (ทำชั่วเอง ก็เสื่อมเสียเอง)

ฉะนั้น อย่าไปหวังอะไรมากนัก เพราะมีอะไรหลายอย่างที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ก็เป็นไปได้ เช่น

1.จาบจ้วงล่วงละเมิด ม.112 แต่ยังลอยนวลอยู่ได้อย่างสบายใจเฉิบ

2.นางแต้ม ตัวละครของผม แอบอ้างเป็นรักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ เป็นเวลาแรมปี ทั้งๆที่กฏหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า รักษาราชการได้ไม่เกิน 180 วัน ยังเกิดขึ้นได้เลย และยังดำรงตำแหน่งอยู่จนปัจจุบันนี้ด้วย

3. ตำแหน่งอธิการบดีในมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ เป็นตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ  แต่นางแต้มไม่ใช่ทั้งพนักงานมหาวิทยาลัยและไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นข้าราชการที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ยังเป็นอธิการลดีได้เลย  ด้วยเหตุนี้ จึงมีปัญหาว่า เมื่อนางกระทำความผิด ก็ไม่สามารถจะตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิดนางได้  ดังหนังสือของ กระทรวง อว.ความตอนหนึ่งว่า “รักษาการอธิการบดี เป็นบุคคลที่เกษียณอายุราชการแล้ว และไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรื่อนในสถาบันอุดมศึกษา จึงมิได้อยู่ในบังคับบัญชาของปลัดกระทรวง อว. อันจะมีอำนาจในการดำเนินการทางวินัยกับบุคคลดังกล่าวได้” แต่นางแต้ม ซึ่งไม่มีสถานะอะไรในมหาวิทยาลัยเลย สามารถตั้งกรรมการสอบสวนวินัยเอาผิดพนักงานมหาวิทยาลัยได้ แบบนี้ยังเกิดขึ้นได้เลย

ฉะนั้น อย่าไปหวังอะไรมากนัก ครับผม

…..

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *