จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่กำแพง (น่าจะมีเลศนัย)

วันจันทร์ที่ 12  กรกฏาคม  2564 

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่กำแพง (น่าจะมีเลศนัย)

12

มีนา จัน ถาม คม หักศอกว่า  “ คุณ ปอสิต รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยกำแพงมณี จะรักษาการอธิการบดี อยู่นานแค่ไหน ถ้ายังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ?”

คม หักศอก ตอบว่า “เรื่องนี้ผู้สันทัดกรณีตอบไว้อย่างชัดเจนแล้ว แต่ถ้าอยากให้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก แกก็ต้องไปดูที่คำสั่งแต่งตั้ง และนี่ คำสั่ง อยู่ในมือฉันนี่แล้ว”

“มีอะไรที่น่าสนใจรึ?”   “ฉันก็จะว่าตามที่ฉันคิดนะ ถูกผิดพิจาณาเอาเองก็แล้วกัน คือ  คุณ ปอสิต นี่เธอเป็นสุภาพสตรี เธอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาอธิการบดี เนื่องจากอธิการบดีคนก่อน หรือคุณสุวา หมดวาระ เมื่อกลางเดือนมกราคม ที่ผ่านมา

คำสั่งแต่งตั้งให้เธอรักษาการนั้น อาศัยอำนาจตาม พรบ. 2547 และ คำสั่ง คสช. ที่ 37/2560 ข้อ 3 โดยเธอจะดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันถัดจากการหมดวาระของอธิการคนก่อน และตามคำสั่ง เธอจะรักษาการไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่ หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง”

“แล้วประเด็นมันอยู่ตรงไหน?”

“ฉันว่า คำสั่งแต่งตั้งรักษาการดังกล่าวมันน่าจะมีเลศนัย  กล่าวคือ  คำสั่งอาศัยอำนาจตาม พรบ. 2547 ซึ่งมาตรา 33 ระบุว่า “ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติตาม มาตรา 29  คนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีแต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน”  แต่ผู้ออกคำสั่งคือ ท่านสัมโม หรือนายกสภาฯ มิได้ใช้อำนาจนั้น  แต่ใช้อำนาจของท่านเอง ดังข้อความที่ว่า “จนกว่าจะได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯอธิการบดีคนใหม่ หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง” ซึ่งอาจจะเป็นผลให้คำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวเป็นโมฆะได้ เพราะไม่เป็นไปตาม พรบ.                           

มีนา จัน แย้งว่า “ท่านสัมโม ท่านก็ดูเป็นคนธรรมะธัมโมนะ ท่านอาจจะใช้อำนาจตาม คำสั่ง คสช. ที่ 37/60 ข้อ 3 ที่ว่า “มิให้นําบทบัญญัติที่เกี่ยวกับระยะเวลาในการรักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา มาใช้บังคับกับการรักษาราชการแทนในระหว่างการดําเนินการสรรหาหรือดําเนินการเพื่อแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว”

“ที่แกว่ามาก็ถูก ท่านเป็นคนธรรมะธัมโม แต่อย่าลืมคำปราชญ์ ที่ว่า “ทุกอย่างไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นเสมอไป” 

และตรงนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ คำสั่ง คสช. เกิดขึ้นจากปัญหา “การได้มาของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา นั่นหมายความว่า คสช. ออกคำสั่งมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ในช่วงก่อนปี 60  แต่ปัจจุบันปี 64 แล้ว และที่มหาวิทยาลัยกำแพงมณี ปัญหานี้ยังไม่เกิด การอาศัยอำนาจของ คสช. จึงเท่ากับว่าผู้ออกคำสั่งรู้อยู่แก่ใจว่า “การสรรหาตำแหน่งอธิการบดีจะมีปัญหา” และก็มีปัญหาจริงๆ  ตรงนี้ฉันอยากจะบอกแกว่า “ในพระวินัยสงฆ์  227 ข้อนั้น พระพุทธองค์มิได้ทรงกำหนดพระวินัยขึ้นก่อนเลยแม้แต่ข้อเดียว”

“แล้วปัญหาคืออะไรล่ะ คม หักศอก”

“ปัญหาจึงตกอยู่ที่รักษาการอธิการบดีนะซิ เพราะเธอไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร จะปฏิบัติตาม พรบ คือ อยู่จนครบ 180 วัน แล้วก็พ้นหน้าที่ไป หรือจะยึดคำสั่ง คสช. หรือคำสั่งนายกสภา ซึ่งฉันคิดว่าคำสั่งนายกสภามันไม่น่าจะชอบด้วยกฏหมาย ขืนอยู่เกิน 180 ไป ดีไม่ดีจะเป็นแบบนางแต้ม รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ซึ่งกำลังตกที่นั่งลำบาก เพราะทำผิดกฏหมายหลายกระทง แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เลยคาอยู่อย่างนั้น ความผิดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็รอติดคุกลูกเดียว

ฉันอยากจะขอเสนอแนะคุณ ปอสิตว่า ลาออกเสียเถอะ อย่าไปเป็นรักษาการหรือเป็นอธิการบดีเลย มันไม่สนุกหรอก ยิ่งเป็นตอนที่มีปัญหาขัดแย้งแบบนี้ด้วย  ทำอะไรก็ผิดหมด กลับไปสอนหนังสือสนุกว่าเยอะ อยู่กับเด็กๆดีกว่าอยู่กับพวกเสือ สิงห์ กระทิง แรด คุณตามเขาไม่ทันหรอก “ไอ้พวกนี้มันหิวกระหาย ที่มันแบ่งให้เราเพราะมันแดกไม่เข้า”  ดีไม่ดีจะลำบาก ใช้เวลาว่างดูแลครอบครัว มีความสุขกว่าเยอะ ขืนไปเป็นเครื่องมือพวกมัน มีโอกาสจะซวยแต่ถ้าไม่เชื่อและอยากรู้ว่านรกมีจริงก็ขอให้แต่งตั้งรองอธิการคนที่ 5 ที่ทำตัวเป็นอีแอบคอยชักใยให้นายกสภาและกรรมการสภาต้องเข้าคุกกันทั้งหมด ถึงคุณจะแอบอยู่ก็ไม่รอดพ้นมาตรา157  เหมือนเดิม

“แล้วเธอจะเชื่อแกรึ?”  มีนาจัน ท้วง

“ใช่ เธอไม่เชื่อหรอก เพราะมนุษย์นั้นชอบเรียนรู้ด้วยตนเอง” 

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *