จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์ (พระปิยมหาราช)

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์ (พระปิยมหาราช)

23

วันนี้วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่คนไทยรู้จักกันโดยทั่วไปว่า “วันปิยมหาราช”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 นับถึงวันนี้ เป็นเวลาถึง 117 ปี มาแล้ว แต่พระนามของพระองค์ยังเป็นที่จดจำได้ ของพระสกนิกรชาวไทยทั่วไป เพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รัก พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์มีเป็นอันมากและเป็นคุณูปการต่อประเทศชาติเป็นอเนกอนันต์ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกทาส การศึกษา การสาธารณูปโภค การปฏิรูประบบราชการ ฯลฯ

โดยเฉพาะการเลิกทาส ในปี พ.ศ. 2448 นั้น เป็นพระปรีชาญาณของพระองค์โดยแท้ ที่การเลิกทาสเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสมบูรณ์แบบโดยมิต้องเสียเลือดเนื้อของคนไทยแม้แต่หยดเดียว นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้

ภาพประกอบ: เป็นภาพแสตมป์ชุดแรกของสยาม เมื่อปี พ.ศ.2426 ประเทศสยามได้เริ่มกิจการไปรษณีย์ และพิมพ์แสตมป์ชุดแรก ชื่อว่า “โสฬส มีทั้งหมด 6 ราคา คือ 1 โสฬศ 1 อัฐ 1 เสี้ยว 1 ซีก 1 สลึง และ 1 เฟื้อง ซึ่งมาเพิ่มในภายหลัง

คำว่า “โสฬส” มาจาก สัขยา การนับจำนวนในภาษาบาลี จำนวน “สิบหก” มีความหมายสอดคล้องกับค่าของเงินในสมัยโบราณที่ว่า 16 โสฬส เป็นเงินหนึ่งเฟื้อง และเงินโสฬสมีชื่อเรียกย่อว่า “ฬส”

แสตมป์ชุดโสฬศ เป็นภาพพระพักตร์ด้านข้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้ออกแบบเป็นชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม ริดจ์เวย์ (William Ridgeway) ชาวอังกฤษเป็นผู้ออกแบบและแกะสลักแม่พิมพ์ ของ บริษัท วอเตอร์โลว์แอนด์ซัน จำกัด (Waterlow & Sons, Ltd.) ซึ่งผลิตแสตมป์ให้กรุงสยามตั้งแต่เริ่มแรก (Happy Birthday 138 ปี “โสฬศ(ส)” แสตมป์ดวงแรก) Thai Stamp Museum

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

15La Ph, มณัณญา สง่ากลาง และ คนอื่นๆ อีก 13 คน

1 ความคิดเห็น

ถูกใจ

แสดงความคิดเห็น

แชร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *