จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์ (ก.อ.ร. ที่รัก)

วันศุกร์ที่  16  กันยายน  2565

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์ (ก.อ.ร. ที่รัก)

16

“ฌือบาล”  เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ปวดหัว” ทำไม่จะไม่ปวดหัวล่ะ  เพราะถูกอีแต้มใช้เล่ห์เหลี่ยม    แบบเดียวกับตอนที่จะเข้ามาเป็นอธิการบดีในสมัยแรก  หักหลังเพื่อนที่คบกันมายาวนานได้อย่างหน้าตาเฉย  ทุเรศที่สุด

และกรณีปลดหญิงกล้าก็เช่นเดียวกัน  หลอกเขาให้อุทธรณ์ ที่คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย ทำให้เขาเสียเวลา และวิ่งวุ่นไปหมด ความจริงควรที่จะบอกเขาให้ไปอุทธรณ์ร้องทุกข์ที่ ก.อ.ร. โชคดีนะที่เขารู้แกว จึงร้องทุกข์ไปที่ ก.อ.ร. และ ก.อ.ร. ก็มีหนังสือตอบมาแล้วว่า ไม่มีอำนาจ และนี่คือประเด็นสำคัญมากในวันนี้ ที่ทำให้ผมฌือกบาล

ตาม พรบ.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หมวด 8 การอุทธรณ์และร้องทุกข์

มาตรา 61 กำหนดว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง

มาตรา 62 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการ

หรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.อ.ร. ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ.ร. กำหนด

ให้ ก.อ.ร. พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของ

ก.อ.ร. ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน

ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้วินิจฉัย

อุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตาม

หลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

555 แต่ปรากฏว่า ก.อ.ร. บอกว่าไม่มีอำนาจ เป็นอำนาจของกรรมการสภามหาวิทยาลัย นี่มันอะไรกัน (โว้ย)

ที่นี้ มาดู ข้อบังคับของ มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของพนักงานฯ หมวด 9 การอุทธรณ์และร้องทุกข์ ข้อ 36 ให้นำ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ปี 47 ที่กำหนดไว้ในหมวด 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

555. ฌือกบาล ครับ หรือว่าเรื่องนี้เราจะต้องฟ้อง ก.อ.ร. ครับผม

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *