“จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 63” “ศาล ปค.สูงสุดยกเลิกคำสั่งทุเลา”

“จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 63”  “ศาล ปค.สูงสุดยกเลิกคำสั่งทุเลา”

10

พาดหัวข่าว : ศาล ปค.สูงสุดยกเลิกคำสั่งทุเลา ตั้งผู้เกษียณนั่งอธิการ มรภ.บุรีรัมย์

รายละเอียดของข่าว : เมื่อวันที่  8  กุมภาพันธ์  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งเรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองและคำขอให้ระงับคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของศาลปกครองชั้นต้นไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์) ทั้งนี้กรณีที่นายกสภามหางวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.)บุรีรัมย์  ผู้ถูกฟ้องคดีและ น.ส. มาลินี จุโฑปะมาผู้มีส่วนได้เสียยื่นอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ บ.11/2560  และหมายเลขแดงที่ บ. 31/2560 ของศาลปกครองนครราชสีมา โดยตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างมากเห็นว่า การให้ทุเลาคำสั่งตามมติสภามหาวิทยาลัยในวาระการพิจารณาเลือกอธิการบดี มรภ.บุรีรัมย์ และประกาศผลการเลือกอธิการบดีของนายกสภา มรภ.บุรีรัมย์ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นนั้น แม้สภามหาวิทยาลัยจะสามารถแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีได้ แต่ต้องไม่เกิน 180  วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำกัด หากผู้รักษาราชการแทนจะกำหนดนโยบาย หรือแผนงานในระยะยาวที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดอุปสรรคแก่การบริหารงานของ มรภ.บุรีรัมย์ หรือแก่การให้บริการสาธารณะด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยในระยะยาวได้ จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น ขณะที่ตุลาการเสียงข้างน้อยเห็นแย้งว่า  พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547  มาตรา 4 วรรคสาม บัญญัติว่า ให้มหาวิทยาลัยราชภฏแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกำหนดหมาย  ว่าด้วยวิธีงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกอบกับมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหาราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546  และเป็นสถาบันอุดมศึกษาตามนัยแห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ที่บัญญัติว่า  สถาบันอุดมศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัด ศธ. ดังนั้น  เมื่อ มรภ.บุรีรัมย์เป็นส่วนราชการ  ระบบบริหารงานบุคคลย่อมต้องพิจารณาตามบทกฏหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547  พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 พ.ร.บ.บำเน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494  การเข้าสู่ตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งเป็นตำหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามมาตรา 18  แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547

กรณีเมื่อบุคคลผู้ใดได้รับการสรรหา ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป้นอธิการบดี ก็ย่อมทำให้บุคคล ดังกล่าวมีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามนัยมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ. เดียวกันและต้องออกจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ตามนัย มาตรา 55  แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว  ประกอบมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. บำเน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494  ดังนั้น หากผู้เข้ารับการสรรหามีอายุเกินหกสิบปี  เมื่อได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีย่อมต้องพ้นจากราชการตามบทบัญญัติดังกล่าวทันที ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงไม่เห็นด้วยกับตุลาการสียงข้างมากและเห็นว่าศาลปกครองสูงสุดควรมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้น

เรื่องและภาพ : มติชน ออนไลน์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 – 17:59 น. (สืบค้นเมื่อ 3 ตค.63)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *