เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (กบต้ม)

เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (กบต้ม)

25

มีนา จัน เอ่ยขึ้นว่า “เรื่องความขัดแย้งที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ระหว่างนางแต้ม รักษาการอธิการบดี,นายกสภาฯ และกรรมการสภา กับ คณาจารย์ มหาวิทยาลัย สารขัณฑ์ ประเทศสารขัณฑ์ น่าจะเข้ากันได้กับทฤษฏี “กบต้ม”(The Boiled Frog Theory)”“มันคืออย่างไร” คมถามมีนา จัน อธิบายว่า “ทฤษฏี “กบต้ม” เป็นการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองของกบ โดย ทิชยาน เชอแมน (Tichyand Shermand ค.ศ.1993) ชาวไอริส เขาจับกบตัวหนึ่งใส่ลงในน้ำร้อน ปรากฏว่ามันกระโดดหนีจากน้ำร้อนทันทีและรอดตายไปได้ จากนั้นเขานำกบใส่ลงในน้ำที่มีอุณหภูมิปกติ และค่อยๆเพิ่มความร้อนขึ้นที่ละน้อย ซึ่งกบสามารถปรับตัวได้และมีความสุข แต่เมื่อน้ำร้อนเต็มที่ กบก็ไม่มีปัญญาจะหนีแล้ว จึงกลายเป็น “กบต้ม”“แล้วมันเกี่ยวอะไรกับมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ล่ะ” คมถามมีนา อธิบายว่า “เมื่อทั้งสภาฯและนางแต้ม มีพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากล ถ้าคณาจารย์ไม่ยอม และรีบจัดการเสียตั้งแต่เริ่มแรก (ยากมาก) ทั้งสภาฯและนางแต้มก็จะรอดตัวไปเหมือนกบกระโดดหนีน้ำร้อน แต่คณาจารย์ไม่ทำ ได้ปล่อยให้สภาฯและนางแต้มกระทำความผิดไปเรื่อยๆ จนเคยตัว(ง่ายมาก) สุดท้ายจะติดคุกกันเป็นระนาว เพราะกระโดนหนีไม่ทันเสียแล้ว”“ฮ่า ฮ่า ฮ่า” คม หัวเราะชอบใจ และโม้ตามความคิดของคนอื่นว่า “จงระวังความคิด เพราะความคิดทำให้เกิดการกระทำ ถ้าคิดดี ทำดี ก็จะมีแต่ความสุข คิดชั่วทำชั่ว ก็มีแต่ความทุกข์ การกระทำบ่อยๆทำให้เกิดเป็นนิสัย คนที่ทำดีบ่อยๆจะเป็นคนนิสัยดี ทำที่ชั่วบ่อยๆจะเป็นคนนิสัยชั่วร้าย และนิสัยนี่แหละก่อให้เกิดบุคลิก เพราะบุคลิกจะกำหนดชะตากรรม”“นางแต้มหรือรักษาการอธิการบดี(เถื่อน) และสภาฯ คิดชั่วทำชั่ว เกิดเป็นนิสัยชั่ว ดังนั้น ชะตากรรมของทั้งสภาฯและนางแต้ม ก็คือ คุก ตะราง นั่นเอง”……

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *