จิปาถะ:เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (มหาภัย)

จิปาถะ:เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (มหาภัย)

3

ก่อนหน้านี้หลายวัน  เรื่องสั้นของผมได้กล่าวถึงมหาภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ โดยเฉพาะกับกรรมการสภาฯที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนผู้บริหารทั้งหลาย รวมทั้งหมานาย ที่ประจบผิดที่ผิดทาง  และได้เสนอแนะวิธีแก้ไข ด้วยการใช้ปรีชาญาณพิจารณา ว่าจะเลือกความถูกต้อง หรือเลือกถูกใจ ซึ่งผมก็ไม่หวังว่าใครจะเชื่อหรือไม่อย่างไร  ก็อยู่ที่ตัวใครตัวมัน ครับผม

ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงภัยต่างๆไว้ในที่หลายแห่งและหลายวาระ เช่น ในทุติยภยสูตรว่าด้วยภัยภายนอก 4 ซึ่งได้แก่  อัคคีภัย,อุทกภัย,ราชภัย และโจรภัย เป็นต้น

ภัยต่างๆที่กล่าวมา ท่านคงจะรู้จักกันดี แต่ที่ไม่ค่อยคุ้นก็น่าจะเป็น “ราชภัย”

ราชภัย คือ ภัยจากทางราชการ เช่น ถูกดำเนินคดีในศาล ถูกพิพากษาให้จำคุก หรือประหารชีวิตลดตำแหน่ง ไล่ออกจากราชการ หรือปรับเป็นเงินเป็นทอง  เป็นต้น

ในสมัยอยุธยา ราชภัย นั้นเกิดขึ้นเสมอ เพราะมีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ทั้งระหว่างญาติพี่น้องในราชวงศ์เดียวกัน หรือราชวงศ์เก่าที่สูญเสียอำนาจ และราชวงศ์ใหม่ที่อาจมีอำนาจมากขึ้น การที่พระบรมวงศานุวงศ์หลบหนีออกไปทรงผนวช จึงเป็นวิธีหลบหนี ราชภัย วิธีหนึ่งที่ทำให้สามารถรักษาชีวิตของตนไว้ได้

วัดที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นสถานที่หลบราชภัยที่ยังเหลือซากให้เห็นก็คือ วัดโคกแสง ตั้งอยู่ในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ( พ.ศ. 2256 – 2298 ) รัตนกวีเอกในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศใช้เป็นที่ทรงผนวช เพื่อหลบหนีภัยจากพระราชบิดาของพระองค์ 

ผมขอจบเรื่อง “ราชภัย” ไว้แค่นี้ครับ เพราะงงเหมือนกัน ไม่รู้ว่าเขียนเรื่องนี้ทำไม “ไม่ต้องเป็นห่วงพวกเขาหรอก” เพื่อนผมบอกอย่างนั้น

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *