จิปาถะ : ปริศนาธรรม

วันอาทิตย์ที่  2 เมษายน พ.ศ. 2566

จิปาถะ : ปริศนาธรรม (โพสต์ครั้งแรกเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558)

2

ปริศนาธรรมหรือ “โกอาน”  ถือเป็นอุบายสำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติ ซาเซน   โกอาน ไม่อาจคิดได้ด้วยตรรกะทางสมอง ด้วยการเจริญสติเท่านั้น ที่คำตอบของโกอาน จะเปิดเผยตัวเองออกมา” (ทวีวัฒณ์. (ม.ป.ป.).4)

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของ “โกอาน” ปริศนาธรรมของพุทธศาสนานิกายเซน  ครับ

โมกุไร อาจารย์เซนแห่งวัดเคนนิน ท่านมีลูกศิษย์คนหนึ่ง อายุเพียง 12 ปี ชื่อ โตโย   หนูน้อยโตโย ปรารถนาที่จะทำ ซาเซน จึงเข้าไปหาท่านอาจารย์ เพื่อขอฝึกซาเซน

“รอก่อน เธอยังเด็กเกินไป”

แต่หนูน้อย โตโย ยืนยันความปรารถนานั้น ท่านอาจารย์โมกุไรจึงอนุญาต

ท่านอาจารย์โมกุไร กล่าวว่า

“โตโย  เธอคงเคยได้ยินเสียงตบมือ เขาใช้มือสองข้างตบกัน ทีนี้เธอลองแสดงเสียงของมือข้างเดียวให้ฟังซิ”

หนูน้อย โตโย กลับมายังห้องพัก และครุ่นคิดปริศนาธรรมที่อาจารย์ให้มา จากหน้าต่างห้องพัก โตโยได้ยินเสียงดนตรีของพวกเกอิชา

“อา ฉันได้มันแล้ว”

ตอนค่ำ โตโย ไปหาอาจารย์และทำเสียงตบมือข้างเดียวให้อาจารย์ฟัง

อาจารย์โมกุไร บอกว่า “ ไม่ใช่  ไม่ใช่ นั่นเป็นเสียงดนตรี เธอยังไม่รู้จักมันเลย”

โตโย  กลับมาที่พัก เขาคิดว่าเสียงดนตรีทำให้เขาไม่สามารถขบคิดปริศนาธรรมได้ เขาจึงไปหาที่สงบเงียบเพื่อค้นหาเสียงของมือข้างเดียว

ทันใดนั้นเขาได้ยินเสียงหยดน้ำที่หยดลงมาบนพื้น

โตโย กล่าวด้วยความยินดี “ได้แล้ว ฉันได้มันแล้ว”

แต่อาจารย์ โมกุไร ก็บอกว่า “ไม่ใช่ ไม่ใช่”

เขาได้ค้นหาเสียงของมือข้างเดียวและนำไปบอกอาจาย์มากกว่า 10 ครั้ง แต่อาจารย์ก็บอกไม่ใช่

ในที่สุด โตโย  ก็ได้ลุถึงสมาธิภาวนาที่แท้ เขาข้ามพ้นเสียงต่างๆเหล่านั้นไปได้ เขากล่าวว่า “ฉันไม่ได้ยินเสียงอะไรอีกแล้ว ในที่สุดฉันก็ได้ยินเสียงที่ไร้เสียง

อ้างอิง

ติช นัท ฮันห์.(2522).พจนา จันทรสันติ แปล.กุญแจเซน.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ :  ศึกษิตสยาม.

ทวีวัฒณ์.ปุณฑริกวิวัฒน์.(ม.ป.ป.).ประทีปแห่งเซ็น.กรุงเทพฯ เซ็นเตอร์ : พับลิคเคชั่น.

Ni Pon : “โกอาน นับว่าสูงส่งแห่งการบรรลุธรรม ต้องจิตสะอาดบริสุทธิ์จึงหยั่งรู้ด้วยตัวเอง ดูเหมือนจะง่ายแท้จริงยากยิ่งกว่าสมาธิภาวนามากนัก ขอบคุณที่เอาเรื่องที่มีสาระมากคุณค่ามาเล่าให้ฟัง ช่างเป็นครูทั้งจิตวิญญาณจริงๆครับ”

เรื่องเซ็น ผศ.ดร.La Ph เสริมมาว่า “….การบรรลุธรรมตามความเชื่อของนิกายเซน เรียกว่า “ซาโตริ” (Satori) เป็นคำภาษาญี่ปุ่น แปลว่าการรู้อย่างแจ่มแจ้ง (การรู้แจ้งแห่งสัจธรรม กล่าวคือ เป็นการทำลายอวิชชา ตัณหา และอุปทาน) หมายถึงภาวะแห่งการสำนึกรู้ถึงพุทธจิต เป็นการสำนึกรู้ถึงจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ มองเข้าไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง เปรียบเทียบกับทางเถรวาทก็คือการบรรลุอรหันต์นั่นเอง…..”

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *