จะได้รู้ว่า ไผ เป็นไผ

brike 1

จิปาถะ
จะได้รู้ว่า ไผ เป็นไผ

เมื่อวานนี้ ( 17 ตุลาคม 2557) ผมได้นำมติของคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำหน่วยงานแห่งหนึ่ง เรื่องผู้ร้องไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเป็นผู้สอนและกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา สรุปได้ว่า“ตามข้อบังคับคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ มีอำนาจเพียงรับเรื่องราวร้องทุกข์เท่านั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาดำเนินการ
จากมติดังกล่าวมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
ประเด็นแรก ผู้ร้องได้ทำบันทึกข้อความร้องทุกข์ไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ฯ ซึ่งตามหน้าที่จะต้องพิจารณาเพื่อหาข้อยุติ แต่ปรากฏว่าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ จะด้วยสาเหตุใดไม่มีหลักฐาน และผมไม่ทราบแนวปฏิบัติ จากนั้น เลขานุการสภาฯ ได้นำเรื่องนี้เข้าสภาฯ ที่ประชุมมีมติมอบให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ ดำเนินการ (ตรงนี้จะเห็นว่าอาจมีอะไรยึกยักบ้าง แต่ช่างเถอะ รอได้)
ประเด็นที่สอง เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ฯได้รับมอบหมายจากสภาฯให้ดำเนินการ ปรากฏว่าเมื่อตรวจสอบอำนาจหน้าที่แล้ว คณะกรรมการฯ มีหน้าที่เพียงรับเรื่องราวร้องทุกข์เท่านั้น
ตรงนี้จะเห็นได้ว่า ข้อบังคับเรื่องการอุทธรณ์ฯของหน่วยงานซึ่งอออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ยังไม่เคยใช้เลย ดังนั้นเมื่อเริ่มนำมาใช้จึงพบว่ามีปัญหา มองในแง่ดีก็ต้องเชื่อว่า ตลอดเวลา 7 ปีที่ผ่านมา เราอยู่กันอย่างเอื้ออาทรต่อกัน ไม่มีใครเดือดร้อน ซึ่งเป็นเรื่องดีมากๆ
แต่ปัญหาที่พบตรงนี้ก็คือ ข้อบังคับเรื่องการอุทธรณ์ฯนั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา ขนาดรัฐธรรมนูญยังต้องแก้ไขเลย ดังนั้นจะต้องรีบพิจารณาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว เพื่อสร้างความเป็นธรรมในหน่วยงานให้ได้ทันท่วงที เพราะดูเหมือนว่าจะมีการร้องเรียนกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำเนาร้องเรียนอยู่ในมือผมก็มี
ประเด็นที่สาม เมื่อคณะกรรรมอุทธรณ์ฯได้ตรวจสอบข้อบังคับแล้ว เห็นว่าไม่มีอำนาจในการพิจารณา มีเพียงรับเรื่องอุทธรณ์เท่านั้น สิ่งที่คณะกรรมการอุทธรณ์ฯควรปฏิบัติก็คือ ส่งเรื่องกลับไปให้สภาฯพิจารณา แต่ปรากฏว่าได้มีมติตัดสินให้หัวหน้าหน่วยงาน พิจารณาดำเนินการ ตรงนี้คณะกรรมการอุทธรณ์ ฯ ล้ำหน้าสภาฯหรือเปล่า ?
ข้อสังเกต ก็คือ เรื่องการอุทธรณ์ขอความเป็นธรรม คณะกรรมการอุทธรณ์ฯ บอกว่าไม่มีอำนาจ แต่ได้มอบอำนาจให้หัวหน้าหน่วยงานดำเนินการ ตรงนี้ไม่ทราบว่าเอาอำนาจมาจากไหน เพราะเห็นอ้างแค่มติ
ข้อกังขา ก็คือ ผู้ร้องขอความเป็นธรรมจากสภาฯ เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากฝ่ายบริหาร สภาต้องพิจารณาให้ความเป็นธรรม ไม่ใช่ส่งไปให้ฝ่ายบริหารพิจารณา
(การพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ฯแบบนี้เขาเรียกว่า ตัดสินให้ผู้กระทำผิดตัดสินความผิดตัวเอง ผู้กระทำความผิดก็ต้องตัดสินว่าตัวเองไม่ผิดซิครับ จะทำไม จะได้รู้ว่าไผ เป็นไผ)