จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก
184
“อาจารย์ครับ ผมลองฝึกเขียนตามที่อาจารย์บอกแล้วครับ” ถากถางเปิดประเด็นการสนทนา เมื่อทุกคนกลับมาชุมนุม
พร้อมกันใหม่ที่บ้านถากถาง
“เป็นอย่างไรบ้างล่ะ ได้เรื่องไหม”
“ไม่เป็นเรื่องเลยครับอาจารย์ ยากมาก หมดกระดาษไปเยอะเลย”
“ใครอ่านและบอกเธอล่ะว่า ไม่ได้เรื่อง”
“ผมอ่านเอง และว่าไม่ได้เรื่องเองครับ”
“ฮ่า ฮ่า ฮ่า ถากถาง เธอคงจะลืมหน้าที่ไป เธอมีหน้าที่เขียน ก็เขียนไป หน้าที่อ่านเป็นเรื่องของคนอื่น
คนที่เขาอ่าน เขาจะบอกเราเองว่าได้เรื่องหรือไม่ได้เรื่องอย่างไร”
“ครับ อาจารย์ แล้วอาจารย์จะเสนอแนะอะไรเพิ่มเติมบ้างไหมครับ”
“เธอต้องอ่านให้มากขึ้น”
“ผมก็อ่านเยอะนะครับ อาจารย์ ”
“ความจริง เธอน่าจะเขียนได้ตั้งแต่เธอเริ่มอ่านได้แล้ว เพราะกระบวนการเรียนรู้นั้น การอ่านและการเขียน เป็นกระบวนการเดียวกัน แยกกันไม่ได้ แต่ไม่รู้ทำไมระบบการศึกษาของเราถึงไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้”
เปาโล แฟรร์ (2547: 52) กล่าวว่า “เราไม่ใช่เพียงแค่อ่าน แต่ต้องบันทึก ต้องเขียนรายงาน และเขียนตำราเล่มเล็กๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เราอ่าน เราต้องอ่านงานเขียนของนักเขียนชั้นดี”
185
“โชเซ ซารามาโก (Jose Saramago) (อ้างจาก Richard Restak.2549:197 )นักเขียนรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ปี ค.ศ.1988 ชาวปอตุเกส กล่าวว่า“มนุษย์ต้องอ่านเพื่อให้มีความรู้กว้างขวาง อ่านอย่างละนิดละหน่อย หรืออ่านเท่าที่จะอ่านได้ ขอให้เราเริ่มอ่านจากเรื่องที่ใครๆก็ต้องอ่าน หรืออ่านหนังสือที่เรียกกันว่าเป็นตำราการเรียนรู้ คลังหนังสือเป็นเหมือนแหล่งน้ำแห่งความรู้อันโอชะ”
“แสดงว่า ผมต้องทำอย่างที่ โชเซ ซารามาโก และ เปาโล แฟรร์ แนะนำ คือ อ่านเพื่อให้มีความรู้อย่างกว้างขวางและเลือกอ่านหนังสือดีๆใช่ไหมครับ”
“ถูกต้อง”
“แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า หนังสือเล่มไหนดี เล่มไหนไม่ดีล่ะครับ”
“เรื่องนี้ ฟรานซิส เบคอน (อ้างจาก ส.ศิวรักษ์.2536:6) กล่าวว่า “เราควรริ้มรสหนังสือบางเล่ม ควรกลืนกินบางเล่ม แต่น้อยเล่มนักที่ควรเคี้ยวแล้วย่อยออกมาให้เป็นเนื้อหนังมังสาของเราเอง เขาอธิบายต่อไปว่า หนังสือบางเล่มควรเลือกอ่านจำเพาะบางตอน บางเล่มควรอ่านและอย่าเอาใจใส่ให้มากนัก แต่น้อยเล่มนักที่ควรอ่านให้ตลอด และควรตั้งใจอ่านอย่างพากเพียรด้วย”
“ฉะนั้น เมื่อเธอรู้จักเลือกหนังสือที่จะอ่าน อ่านแล้วเคี้ยวให้ละเอียดหรือทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ จากนั้นจึงย่อยเนื้อหาสาระและคุณสมบัติอื่นๆของหนังสือนั้นให้ออกมาเป็นเลือดเนื้อเหงื่อไคลของเธอให้ได้ หมายความว่า อ่านแล้วต้องนำมาเขียนเป็นผลงานของเธอให้ได้”
“อย่างนี้ก็ลอกเขาซิครับ”
“อย่าสรุปผิดๆอย่างนั้น ถากถาง เดี๋ยวจะว่ารายละเอียดให้ฟัง”
……..
เปาโล แฟรร์.สดใส ขันติวรพงษ์ แปล.(2547).ครูในฐานะผู้ทำงานวัฒนธรรม.(Teachers as Cultural Workers).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา
ส.ศิวรักษ์.(2536).คัยฉ่องส่องวรรณกรรม.(2).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.
Richard Restak.คีตวิภู แปล.(2549).พัฒนาสมองให้เป็น“อัจฉริยะ”แบบโมสาร์ท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กูดมอร์นิ่ง.