จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่กำแพง (จะได้เห็นกันจะจะ)

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฏาคม  2564 

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่กำแพง (จะได้เห็นกันจะจะ)

8

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า กรรมการสภามหาวิทยาลัยกับอธิการบดีแทบทุกแห่งนั้น มักจะเอื้อประโยชน์ต่อกันในลักษณะของ“การเป็นครอบครัวเดียวกัน” คือ “กูเลือกมึง มึงเลือกกู” ดังจะเห็นได้ว่า อธิการจะอยู่ครบ 2 วาระ เว้น 1 และกลับมาใหม่อีก 2 ส่วนนายกสภาและกรรมการสภาอยู่วาระละ 3 ปี ไม่มีเว้นวรรค ดังนั้นกรรมการพวกนี้จึงอยู่ยงคงกระพันคนละ 10 ปีขึ้น มันเป็นเช่นนี้มานานมากและจะเป็นเช่นนี้อีกนานแสนนาน ดังนั้น การสรรหาอธิการบดี จะกำหนดบุคคลไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่จัดการให้เป็นไปตามระเบียบ คือ ให้ประชาคมมีส่วนร่วมเฉยๆเท่านั้น จึงปรากฏว่าทุกครั้งที่มีการสรรหาอธิการก็จะมีเรื่องฟ้องร้องกันทุกครั้งและทุกที่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะฟ้องศาลปกครองเพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  แต่ละคดีก็ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี สมมุติว่าผลออกมาว่า “การสรรหาไม่ถูกต้อง” สภาก็จะอุทธรณ์ ใช้เวลาอีกอย่างน้อย 3 ปี ศาลอาจจะพิพากษายืนหรือกลับคำพิพากษาก็ได้ ผลก็คือ คนที่เป็นอธิการอยู่ครบวาระไปแล้ว ทั้งนี้เพราะพวกเราลืมไปว่า ศาลปกครองนั้นตั้งขึ้นสำหรับการปกครอง ไม่มีบทลงโทษ  พวกกรรมการสภาจึงไม่กลัว ดังนั้น กรณีของกำแพงมณี  ต้องฟ้องศาลคดีอาญาทุจริตเท่านั้น ศาลจะไต่สวนมูลฟ้อง และถ้าศาลรับฟ้องละก็ เชื่อขนมกินได้เลยว่า  จะได้เห็นพวกสภาติดคุกกันจะๆ

วันนี้ผู้สันทัดกรณี ท่านบอกว่า “การสรรหาอธิการบดีที่มิชอบด้วยกฎหมาย แล้วสภามหาวิทยาลัยไม่ระงับยับยั้งกลับดำเนินการลงมติต่อโดยไม่สนใจกฎหมายหรือข้อบังคับและแนวทางของ สกอ.ที่เคยแนะนำเกี่ยวกับผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of interest)โดยมีผลดังนี้

1.ประกาศผลการสรรหาอธิการบดีพร้อมรายงานให้ อว.เพื่อดำเนินการต่อ

2.แต่งตั้งผู้รักษาการอธิการบดี

3.แต่งตั้งรองอธิการบดีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

จากพฤติการของนายกสภาและกรรมการสภา เป็นการสมคบคิดกันโดยมีเจตนาที่จะกระทำการในเรื่องมิบังควรโดยนำเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเสนอ อว. เพื่อนำเรื่องเพื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งอธิการบดีเป็นการสร้างความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ถ้าหากเป็นสมัยโบราณอาจได้รับโทษถึงขั้นตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร

อย่างไรก็ตามการกระทำความผิดต่างๆก็ได้สำเร็จแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องจะมีความผิดดังนี้

1.กรรมการสรรหาจะมีความผิดตามมาตรา 157 และ มาตรา 152 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน

2.รักษาการอธิการบดีมีความผิดตามมาตรา 157 และมาตรา152

3.นายกสภา มีความผิดตามมาตรา157

4.กรรมการสภา มีความผิดตามมาตรา157

สำหรับ กรรมการที่คัดค้านหรือไม่เห็นด้วยในการลงมติสรรหาอธิการในครั้งนี้จะไม่มีความผิดและถูกกันไว้เป็นพยานส่วนผู้ที่จะตกเป็นจำเลยในศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ จะได้รับรู้ถึงรสชาติและสภาพการตกนรกทั้งเป็น คุณงามความดีที่ได้สั่งสมมาตลอดชีวิตก็จะหมดสิ้นกันเพราะความไม่เป็นตัวของตัวเอง อาจเป็นเพราะไม่มีความรู้เกี่วกับกฎหมายหรือได้รับอามิจสินจ้างหรือคำร้องขอหรือตอบแทนบุญคุณในการที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการสภาหรืออาจหลงคารมของทะแนะ(ไม่ใช่ทนาย)ว่าทำไปเลยเป็นอำนาจของกรรมการสภามีเอกสิทธิ์จะเลือกใครก็ได้ หรือบางคนอาจหวังว่าจะได้รับเครื่องราชฯก็ตามแต่กรณี อย่างไรก็ตาม ขอให้กลับไปทบทวนว่าถ้าหากถูกลงโทษให้จำคุก ครอบครัวลูกหลานจะมีความรู้สึกอย่างไรและจะตอบเพื่อนๆอย่างไร เครื่องราชฯก็จะถูกเรียกคืน และถูกไล่ออกจากราชการไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ(สำหรับผู้ที่ยังรับราชการ) จึงเรียนเตือนมาด้วยความหวังดีครับ

ถ้าท่านคิดว่าท่านทำถูกต้องก็อย่าต้องมาสนใจคำเตือน “ก็ขอไปให้สุดแล้วหยุดที่คุก” นะจ๊ะ

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *