จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต (ตอนอีเปรต)

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต (ตอนอีเปรต)

14

คุณสาธิต ผลเจริญ กัลยาณมิตร แสดงความเห็นมาว่า “ขอเป็นหนึ่งพลังใจให้นักสู้ทุกท่าน เราต้องชนะ ต้องสู้ ต้องสู้ จึงจะชนะ…สู้กับคนบ้าๆ ยากและเหนื่อยกว่าสู้กับคนปกติธรรมดา บางทีอาจต้องบ้าระห่ำกว่าเผื่ิอจะสยบคนบ้า 555” ความเห็นของท่าน ทำให้นึกถึงสุภาษิตสอนใจของผมที่ว่า “สู้กับคนโง่ สู้กับสิงโต ดีกว่า” เพราะจะได้รู้แพ้รู้ชนะกันไปเลย หรือตายกันไปข้างหนึ่ง ไม่ต้องยืดเยื้อเหมือนสู้กับนางแต้ม ที่นอกจากบรมโง่แล้วยังบ้าระห่ำอีกด้วย เรื่องนี้ผมไม่น่าพลาดเลย เสียเวลามากมายก่ายกอง แต่คิดอีกที นางก็มีคุณูประการนะ คือ ทำให้ได้เห็นความโง่เหง่าเต่าตุ่น ความหน้าด้านหน้าทนของทั้งนางแต้มและอีกหลายคน ซึ่งอยู่เหนือความคาดหมายของผม เช่น เมื่อนางแต้มเป็นรักษาการอธิอการบดีแล้ว ทำอะไรก็ได้ เช่น

1. นางแต้มไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม พรบ. มหาวิทยาลัย 2547 มาตรา 33 วรรคสอง  ที่ระบุว่า “ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน” แต่นางแต้มรักษาการอยู่ได้ถึง 4 ปีกว่า โดยไม่มีใครทำอะไรได้  มีเสียงบอกว่า “ก็เหมือนพวกขี่มอเตอร์ไซค์ย้อนศรนั่นแหละ เมื่อตำรวจไม่จับก็ไม่ผิด เมื่อไรถูกจับหรือถูกชนตายละก็เป็นเรื่อง นางแต้มก็จะเป็นแบบเดียวกัน ไม่นานก็จะเป็นเรื่องแน่นอน

2.เมื่อเป็นอธิการบดีแล้ว สามารถปล้นเงินเดือน 1.5/1.7 ของพนักงานได้ โดยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีหรือของศาล

เรื่องนี้พนักงานมหาวิทยาลัยได้ฟ้องศาลปกครอง คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิ์ฟ้องร้องเรื่องนี้หรือไม่ ซึ่งนางแต้มได้โต้แย้งว่าพนักงานมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

หมายความว่า คุณสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยไปทำงานที่อื่น เพราะที่นี่เขาจ่ายให้แค่นี้ ไอ้เวรตะไล Kovid ขู่ไว้อย่างนั้น (ตรงนี้ผมตีความเอง) ข้อโต้แย้งของนางแต้มดังกล่าว ศาลไม่รับฟังครับ ฉะนั้นพนักงานจึงมีสิทธิ์ฟ้องได้

ส่วนประเด็นที่ 2 ค่อยว่าทีหลังนะครับ ฟังความคิดเห็นของ ผศ.ดร. ชลิดา ภัทรศรีจิรากุล ดีกว่าครับ “เกิดมาก็เพิ่งเคยเห็น ผู้บริหารเป็นผู้บังคับบัญชา แต่ถ้าใครไม่เป็นพวก ไปฝักใฝ่ฝ่ายอื่นที่ไม่ใช่ตน ซึ่งมันก็ตั้งแต่สมัยแรก 8 ปีกว่ามาแล้ว แต่ความแค้นไม่เคยจาง โดนตามไล่บี้เอาเป็นเอาตาย เป็นกรรมขององค์กร ที่ต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ผลกระทบก็ตกไปอยู่กับ บุคลากรที่ไม่ใช่พวก เมื่อสู้แล้วก็ต้องสู้ จะชักเข้าชักออกไม่ได้แน่นอน เฮ้อ เวรกรรม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *