วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2556
จิปาถะ : ด้วยเหตุนี้เจ้าจึงต้องตาย (โพสต์ครั้งแรกเมื่อ 5 พฤษภาคม 2558 )
5
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2542 มาถึงวันนี้ก็เป็นเวลาเกือบจะครบ 16 ปีแล้ว ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปเนินนานมากแล้ว แต่ผมก็ยังอดข้องใจไม่หายกับคำกราบบังคมทูล พระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ของผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ (นายพร เพ็ญภาส) ความว่า “จะสร้างพระบรมรูปฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ประทับอยู่บนคอช้างศึก หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์” ข้องใจตรงที่ว่าเรื่องสำคัญๆอย่างนี้ ทำเป็นเล่นกันไปได้อย่างไร ถ้าเป็นในอดีต ตายลูกเดียว ผมขอยกตัวอย่างเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในสมัยอยุธยา ถึงแม้จะไม่ตรงกันแต่ก็เป็นในทำนองเดียวกันนี้
“หลังจากได้ชัยชนะพระมหาอุปราชาและกองทัพพระโค พระเจ้าแผ่นดินสยามก็ทรงรวบรวมกองทัพประกอบด้วยทหารจำนวนมากพอสมควร ยกไปโจมตีกัมพูชา โดยมีออกญาจักรีและออกญากลาโหมเป็นทัพหน้า และสมเด็จพระนเรศวรพระราชโอรสเป็นทัพหลัง
เมื่อยกกองทัพมาถึงพรมแดนกัมพูชา ออกญาจักรีก็ฉวยโอกาสเข้ายึดเมืองชายแดน โดยคิดว่าจะทำความดีถวายต่อพระเจ้าแผ่นดินและพระราชโอรส
เมื่อพระนเรศวรเสด็จมาถึง ก็ทรงพระพิโรธในการกระทำของออกญาจักรี มีรับสั่งให้ถลกหนังทั้งเป็น ทรงตรัสว่า “พระเจ้าแผ่นดินพระราชบิดาของเรา และตัวเรา เป็นผู้สั่งเจ้ามาที่นี่ แต่ไม่ได้สั่งให้เจ้าเข้าโจมตี และเอาชีวิตทหารของเรามาเสี่ยงอันตรายเช่นนี้ เจ้าพยายามทำความดีความชอบแข่งกับเรา เพื่อว่าเมื่อได้รับชัยชนะแล้วทั้งเราและเจ้าจะได้เป็นผู้มีชัยชนะเหมือนกันทั้งสองคน ด้วยเหตุนี้เจ้าจึงต้องตาย”(วันวลิต.2546.80-81)
เรื่องพระบรมราชานุสาวรีย์ฯนี้ ถ้าเป็นในสมัยอยุธยาละก็ ….. “ด้วยเหตุนี้เจ้าจึงต้องตาย”
…
อ้างอิง
วันวลิต.(2546).พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิด พ.ศ.2182.พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
ภาพ : (ปกหน้าด้านใน) จังหวัดบุรีรัมย์.(2538)พิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช.กรุงเทพฯ : จูน พับลิชชิ่ง.