พระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่เก่าที่สุดในประเทศไทย พบที่บุรีรัมย์
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของชาวบุรีรัมย์อีกสิ่งหนึ่งนอกจากปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ แหล่งเตาเผาบ้านกรวด และชุมชนโบราณเป็นร้อยๆแห่ง ก็คือ พระพุทธรูปศิลาปางสมาธินาคปรกสมัยทวารวดีที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พบที่บ้านเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
พระพุทธรูปศิลาที่บ้านเมืองฝ้าย ได้ถูกโจรกรรมไปจากบ้านเมืองฝ้าย ต่อมาเจ้าหน้าที่สามารถติดตามคืนมาได้ที่บ้านหินดาด ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา แต่น่าเสียดายที่ตอนนั้นไม่ได้นำกลับคืนมาไว้ที่เดิม คงประดิษฐานไว้ที่มนฑป วัดอุทัยมัคคาราม ตำบลหินดาดจนถึงปัจจุบัน
พระพุทธรูปจากบ้านเมืองฝ้าย มีขนาดหน้าตักกว้าง .67 เมตร สูง 1.65 เมตร (รวมทั้งฐานและเดือย) แกะสลักแบบนูนสูงด้วยหินทราย คือแกะสลักให้องค์พระนูนสูงเด่นชัดขึ้นมาจากพื้น เป็นพระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก นั่งขัดสมาธิราบ เหนือขนดนาคสามชั้น ส่วนที่เป็นเศียรนาคชำรุดหักหายไปเหลือเพียงบางส่วน มีพระพุทธลักษณะโดยรวม ดังนี้
พระวรกายอวบ ห่มจีวรแบบเฉียงบางแนบพระองค์ ไม่มีริ้ว ขอบจีวรเป็นเส้นพาดผ่านพระอุระ ทิ้งชายพาดไปเบื้องหลัง จึงไม่ปรากฏชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายทางด้านหน้า มีขอบจีวรพาดเหนือพระเพลาซ้ายย้อยลงมาเป็นวงโค้งรอบรอยพับด้านในขอบพระชงฆ์ ส่วนขอบสบงด้านบนเป็นเส้นนอน มองเห็นได้ที่บั้นพระองค์ ขอบล่างปรากฏอยู่บนพระชงฆ์เหนือข้อพระบาทเล็กน้อย
พระพุทธรูปมีพระพักต์รูปไข่ พระเกศมาลาเป็นรูปครึ่งวงกลม ไม่มีพระรัศมี ขมวดพระเกศาเวียนขวาเรียงเป็นแนวนอน พระขนงเป็นวงโค้งมาจรดกันเหนือพระนาสิก พระเนตรโปน เปลือกพระเนตรบนสลักเป็นเส้นตรง เปลือกพระเนตรล่างสลักเป็นวงโค้ง ส่วนล่างของพระนาสิกใหญ่ พระโอษฐหนา
ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (2512:25-32) ได้ทรงศึกษาพระพุทธรูปองค์นี้อย่างละเอียด และทรงสรุปว่า เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีตอนต้นที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย ปรากฏอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี อันเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปนาคปรก มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13
จากที่กล่าวมาคงจะเห็นถึงความสำคัญของพระพุทธรูปจากบ้านเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ ซึ่งเป็นชุมชนโบราณสมัยทวารวดีได้เป็นอย่างดี
ส่วนความศักดิ์สิทธิ์นั้น คงบอกกันไม่ได้ว่าศักดิ์สิทธิ์แค่ไหนอย่างไร ลองไปกราบนมัสการดูซิครับที่วัดอุทัยมัคคาราม ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ตามทางหลวงหมายเลข 226 นครราชสีมา-ลำปลายมาศ -บุรีรัมย์ เพียง 66 กิโลเมตรเท่านั้น วัดหินดาดหรือวัดอุทัยมัคคาราม ตั้งอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ ก่อนถึงทางแยกไปอำเภอพิมาย ครับ
หนังสืออ้างอิง
สรเชต วรคามวิชัย การเริ่มต้นของวัฒนธรรมอินเดียในอีสานใต้ 15 ปี วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ .
โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.2529.
สุฟภทรดิส ดิสกุล. พระพุทธรูปนาคปรกศิลาที่ค้นพบใหม่ในศิลปทวารวดี โบราณคดีนครราชสีมา.
คณะโบราณคดี.2512.
ฉวีวรรณ วิริยะบุศย์.ประติมากรรมสำริดจากบ้านฝ้าย อ. ลำปลายมาศ บุรีรัมย์.โรงพิมพ์การศาสนา.2516
อาจารย์ครับ ผมเป็น ปลัด อบต.เมืองฝ้าย อยากได้ข้อมูลทางโบราณคดี ที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมโบราณแห่งนี้ เพื่อวางแผนในการบริหารจัดการพื้นที่ เคยแต่สอบถามชาวบ้านแล้วว่ามีหลายอย่างที่ที่น่าสนใจ
ท่านปลัด ครับ
จะพยายามหาดูให้ แต่อาจจะช้าหน่อยนะครับ เพราะหายาก
วิสุทธิ์
ผม นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภักบุรีรัมย์
พอจะมีวิธีไหนที่จะนำกลับมาที่เมืองฝ้ายบ้างครับ
อยากได้ประวัติชุมชนกับข้อมูลทางโบราณคดี ที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมโบราณบ้านฝ้ายเป็นภาษาอังกฤษจังเลยค่ะอาจารย์ จะนำมาปรับใช้ในการสอนค่ะ
ก็คงยังสรุปไม่ได้หรอกครับ ว่าเก่าที่สุด เพราะสิ่งที่เรายังไม่เคยเห็นยังมีอีกเยอะ สิ่งที่ลงพิมพ์ในหนังสือต่างๆ ก็ใช่ว่าจะมีครบทุกแบบ เพียงแต่เขียนเท่าที่เขามี เขารู้ เขาเห็น เท่านั้น
พระพิมพ์อื่นๆนอกเหนือจากนาคปรกที่ว่าเก่าสุดนี้แล้ว ที่จริงก็มีพิมพ์อื่นๆอยู่ด้วย เช่น
1. พิมพ์สมาธิเพชรขัดหลวมๆเช่นเดียวกัน เหมือนกันเด๊ะ แต่พื้นหลังเป็นกิ่งโพธิ์ และมีสถูปอยู่ด้านข้างซ้าย – ขวา พบที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 12
2. พิมพ์นาคปรกเหมือนกันเด๊ะเลยกับที่พบที่เมืองฝ้าย แต่พบที่ปราจีนบุรี ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร มีอายุยุคเดียวกัน
ฉะนั้นจะสรุปว่าของเมืองฝ้ายเก่าที่สุดนั้นคงไม่ได้ แต่ถ้าเป็นชิ้นหนึ่งที่เก่าที่สุด ก็พอรับได้
แต่ต้องเป็นเฉพาะพิมพ์”นาคปรก”เท่านั้นนะครับ ส่วนพิมพ์ลอยตัว หรืออื่นๆ มีอายุเก่ากว่าเมืองฝ้ายก็ยังมี ลองอ่านในหนังสือ ศิลปทวารวดี ของกรมศิลปากรจะชัวร์กว่า ของมหาวิทยาลัย
ครับผม
กรณ๊ ■wisut.net ชี้แจง angkor ประเด็น พระพุทธรูปศิลาปางสมาธินาคปรกสมัยทวารวดีที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
เรียน ท่านวิสุทธิ์ ด้วยความนับถือ
ท่านเคยเห็น พระพุทธรูปสมัยทวารวดี ที่แกะสลักจากหิน โดยมีรูปร่างเหมือนกัน ขนาดเหมือนกัน บ้างไหม ??
ผมคิดว่าไม่เคยเห็นหรอกครับ เพราะพระที่แกะจากหินแต่ละองค์ ก็ต่างกรรมต่างวาระกัน อาจจะคล้ายกันก็ได้ แต่จะแตกต่างกันเรื่องขนาด……… ฉันใดก็ฉันนั้น ข้อมูลที่ผมโพสไป ก็กล่าวถึงพระที่มีพุทธลักษณะคล้ายกัน แต่อาจแตกต่างกันด้วยขนาด แต่ไม่ถึงกับเป็นพระพิมพ์อย่างที่ท่านเข้าใจหรอกครับ ถ้าเป็นพระพิมพ์ ผมจะมาโพสทำไม..?
แต่นี่ พระองค์แรกที่ผมกล่าวถึง ก็มีขนาดตั้ง 103 เซนติเมตร เล็กกว่าพระนาคปรกที่ท่านกล่าวถึง เพียง 2 เซนติเมตร เท่านั้น เพราะพระนาคปรกดังกล่าวนั้น มีขนาด 105 เซนติเมตร แต่ถ้ารวมทั้งเดือยด้วยก็จะเป็น 165 เซนติเมตร ส่วนพระองค์ที่ 2 ที่ผมกล่าวว่าอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร ก็มีขนาดแตกต่างกันไม่มาก และที่สำคัญ แกะสลักจากศิลาเหมือนๆกัน
ถ้าท่านยังงง ก็กรุณาดูรูปได้จาก หนังสือ ศิลปทวารวดี : ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทยของกรมศิลปากร หน้า 119 และหน้า 81 ส่วนรูปพระนาคปรกที่ท่านกล่าวถึงนั้น จะอยู่ที่หน้า 42 ครับ หนังสือนี้ พิมพ์ครั้งแรก เมื่อเดือนสิงหาคม 2552
ท่านบอกว่า ท่านเอาข้อมูลมาจาก ตามหนังสือที่ท่านอ้างอิง ท่านลองดูสิครับว่า มัน พ.ศ.เท่าไร กี่ปีมาแล้วครับ ถ้าจะว่าใจแคบก็ต้องยอม เพราะดีกว่าใจกว้างแด้ข้อมูลที่ล้าสมัย ในตอนนี้ได้ค้นพบพระพุทธรุปสมัยทวารวดีอีกหลายๆองค์ ท่านคงไม่เคยทราบข้อมูลนี้ ถ้ามีโอกาสจะนำรูปลงให้ดูครับ
การสร้างพระพุทธรูปนาคปรกที่เป็นประเด็นอยู่นี้ ทำไมถึงเจอที่บุรีรัมย์ ทำไมถึงเจอที่ปราจีนบุรี ก็เพราะคติในการสร้างของคนโบราณเหมือนๆกัน หรือลอกแบบกันมา บุรีรัมย์ อาจลอกแบบปราจีนบุรี หรือในทางกลับกัน ปราจีนบุรี อาจเลียนแบบบุรีรัมย์ก็ได้ ใครจะรู้
ว่าแต่ว่า พระนาคปรกที่ว่านี้ประวัติการพบยังคลุมเครือ ท่านแน่ใจหรือว่าเป็นของเมืองฝ้าย ?? ไม่ได้นำมาจากที่ใด
ครับผม
admin คะ ทำยังไงจะได้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษค่ะ
ขออนุญาต เสนอความคิดเห็นหน่อยน่ะครับ คือว่ากระผมก็ไม่ได้เรียนศิลปากรโดยตรงน่ะครับ แต่พอศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ บ้าง ส่วนตัวผมคิดว่า ที่อ.หม่อมทรง ให้วินิจฉัยว่าเก่า ที่สุดน่าจะมาจากที่ว่าพุทธศิลป์ค่อนไปอินเดีย(อมรวดี)ก็ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่เราจะพบพระทวาที่พัฒนามาจากศิลปคุปตะ-หลังคุปตะใช่ไหมครับ แต่นั้นก็ตั้งปี2512 แต่ผมก็เห็นด้วยน่ะที่ว่าเป็นทวาต้นเพราะว่า ข้างบนเป็นอินเดียข้างล่างเป็นพื้นเมือง(อิ อิ อันนี้ตามอ.บอกครับ)
ต่อ… ถ้าจะให้ดีผมว่าวิเคราะห์เนื้อหินเลยครับว่ามาจากแหล่งไหนน่าจะชัดเจนกว่า เพราะว่าวันนี้เทคนิควิชาการดีกว่าปี 12 มากเลยน่ะครับ
ผมเลยนึกถึงพระนารายณ์ที่ เขาพระเหนอ(ตะกั่วป่า) ครับศิลป์แบบอินเดียหลังคุปตะ ที่แรกก็นึกว่ามาจากอินเดีย พอมาดูเนื้อหินก็บอกได้ว่านำหินมาจากพื้นที่แถวๆนั้นมาแกะครับ
ของเคลือนย้ายได้มันก็ไม่แน่ ที่จะบอกได้ว่าสร้างในที่พบจริงไหมครับ
ผมขออนุญาต ถามท่านผู้รู้หน่อยน่ะครับคือว่าผมสงสัยมานาน แล้วว่าทำไมศิลปทวาหลายๆ อย่างไปคล้ายคลึงกับศิลปทิเบตจังเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นสถูป หรือพญานาคที่หน้าเหมือนลิง (ถ้าขอมจะหน้าเหมือนหมูใช่ไหมครับ) และก็อย่างอื่นอีกมากครับ(แฮะๆพอดีนึกไม่ออกครับ) ไม่กล้าถามอ.ครับกลัวท่านว่า บ้า และท่านก็ไม่ค่อยมีเวลาบอกครับ ท่านผู้รู้ช่วยตอบให้หน่อยน่ะครับจัก ขอขอบพระคุณอย่างสูงเลยน่ะครับ
อยากให้นำ พระพุทธรูปศิลาปางสมาธินาคปรก อยากให้ท่านเสด็จมาที่บ้านเมืองฝ้ายบ้างให้ชาวเมืองฝ้ายได้เห็นและลูกหลานได้กราบอย่างใก้ลชิดคือการนำท่านมาที่เมืองฝ้ายปีละครั้งก็ยังดีนะคะจะเป็นไปได้ไหมคะ 🙄
ตามข้อเท็จจริงบ้านฝ้ายอยู่ ต.ไผทรินทร์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ นะครับ 😉
สวัสดีค่ะ. รายระเอียดคือ พระพุทธรูปมีพระพักต์รูปไข่ไม่มีพระรัศมี ขมวดพระเกศา ลายยจีวรเป็นลายดอกพิกุล, ฐานพระจะเป็นทรงแปดเหลี่ยม ๓ชั้นและลวดลาย ชั้นสุดท้ายเป็นดอกบัวรองรับพระบาตรทั้งสองค่ะและใต้ขางในองค์พระมีดินด้วยค่ะ, สบงเป็นลายดอกพิกุลดอกใหญ่ทั่วทั้งองค์ ทรงห่มจีวรเฉียงบ่า พนมมือ แลอทรงตะคตเป็นรูปหัวเข็มขัด. โปรดช่วยไขข้อข้องใจด้วย หากเป็นพระจากทางเมืองไทยที่สูญหายไป หนูอยากอัญเชิญท่านเสด็จกลับเมืองไทยเรา ค่ะ หนูคิดว่าหนูมีพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ค่ะ ถ้าต้องการชมภาพกรุณาติดต่อ ยุพิน ninastarlight@yahoo.ca
ผมมีครับพระพุธรูปสมัยทวารวดี 😆 ผมคิดว่าน่าใช่ครับเพราะเก่ามากแต่สวยมากเหมือนกัน ลักสนะเป็นพระยืน สูง 50 เชน ปางห้ามสมุด สนิมเขียวหยก ที่ใต้พระบาทพระมีว่วงรูปไข่ ใว้ฝังในแท่นแล้วเอาสลักเสียบขอดูรูปจริงใด้ที่นี่เลยครับ
RCcenteR.NE ใครสนใจให้ราคาดีผมปล่อยให้เลยครับ สอบถามใด้ที่เบอร์ 0810167166