เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม. สารขัณฑ์ (หัวโขน)

เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม. สารขัณฑ์ (หัวโขน)

17

การรับราชการนั้น เหมือนกับการแสดงโขน ผู้สวมหัวโขนจะต้องแสดงบทบาทไปตามหัวโขนที่สวมนั้น เช่น หัวยักษ์ ก็ต้องแสดงบทบาทเป็นยักษ์ ที่มีนิสัยดุร้าย กักขฬะ  หัวลิง ก็ต้องกระโดดโลดเต้นไปมาอยู่ไม่สุกเหมือนลิง 

ผมรับราชการเป็นครู ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ผมดีใจและเป็นสุขมาก เพราะแม่รู้ว่า ลูกของแม่สวมหัวพระฤาษี หัวพ่อครู เป็นหัวครูอาจารย์  สัญลักษณ์ของความดีงาม มีบทบาทสำคัญในการอบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้มีความรู้ความสามารถ แม่ผมสั่งว่า รักษาหัวพระฤาษีหรือหัวพ่อครูและแสดงบทบาทของครูอาจารย์ให้ดีนะ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปสวมหัวโขนอื่นๆ เพราะมันอันตราย ดังนั้นตลอกเวลที่รับราชการ ผมจึงไม่ค่อยมีตำแหน่งใดๆ นอกจากผู้สอน

แต่ก่อนนั้น นางแต้ม รักษาการอธิการบดีที่ไม่ชองด้วยกฏหมาย  มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ นางก็สวมหัวพ่อครู หัวพระฤาษี นางจึงดูเป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่เคารพรักใครของทั้งผู้บังคับบัญชาและเพื่อนฝูง  แต่หลังจากนางเกษียณอายุราชการและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี นางก็ถอดหัวพ่อครูทิ้ง เปลี่ยนมาสวมหัวยักษ์  ความเลวร้ายทั้งหลายที่ยักษ์มี เช่น ความโหดร้ายทารุณ ความอาฆาตมาดร้าย กักขฬะไร้คุณธรรมจริยธรรม  ก็ปรากฏออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ เรียกว่านางแสดงได้สมบทบาทจริงๆ (นางมีสันดานเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว) แต่ก็อย่าไปสนใจนางเลย รอว่าเมื่อไรเขาถอดหัวโขนของนางออก ก็จะเห็นหน้าที่แท้จริงของนาง ที่เหมือนหมาขี้เรื้อนนี่เอง

เรื่องของนางแต้ม ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงอะไร เพราะจุดจบของนางก็คือคุกตะรางอย่างแน่นอนไม่มีเป็นอย่างอื่น  แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ พวกหมานายที่ยังหลงโง่งมรับใช้นางอยู่เท่านั้น  ให้ระวังตัวไว้ให้จงหนัก  โดยเฉพาะคณะบดี คณะเปรตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ด้วย  แต่ได้นำเอกสารที่เป็นความลับของสภาไปบอกนางแต้ม อันเป็นพฤติกรรมชั่วร้ายมาก ไม่สมกับตำแหน่งกรรมการสภาฯอันทรงเกียรติ 

เรื่องนี้ผู้สันทัดกรณีให้ความเห็นว่า “การที่กรรมการสภามหาวิทยาลัย นำเอกสาร ดังกล่าว ไปแจ้ง รักษาการอธิการบดี ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเอกสารดังกล่าว ถูกนำไป เป็น พยานหลักฐาน ในการดำเนินคดี ฟ้องบุคลากรทั้ง 7 คน ในฐานหมิ่นประมาท ก็เป็นพยานหลักฐานที่ ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งศาลจะไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้น ขอให้บุคลากรทั้ง 7 คน ไปแจ้งความ กล่าวโทษเพื่อดำเนินคดี กลับกรรมการ สภามหาวิทยาลัย ที่นำเอกสาร ดังกล่าว ไปให้ผู้ถูกร้องเรียนทราบโดยเร็ว เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้แก่กรรมการ สภามหาวิทยาลัย ได้เห็นเป็นตัวอย่าง

ส่วนผู้ที่ถูกนางแต้มฟ้องทั้ง 7 คนนั้น ผู้สันทัดกรณีบอกว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะ “พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พศ. 2547 มาตรา 63 บัญญัติไว้ว่า” ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นกรณีสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิ์ร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง”

การที่บุคลากร ทั้ง 7 คน มีหนังสือ ถึงนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัย เพื่อร้องเรียนเรื่องที่ตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม และมีเรื่องคับข้องใจ เป็นการกระทำที่ ที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา พ. ศ. 2547 มิใช่เป็นการหมิ่นประมาท รักษาการอธิการบดี ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด”

ผม “อยาก” ทั้งๆที่รู้ว่า ความอยากนั้นเป็นของใครของมัน อยากแทนกันไม่ได้ แต่ก็ยัง “อยาก” ให้ผู้หลงผิดทั้งหลาย“กลับมาสวมหัวพ่อครูของเราเถอะ พ่อ-แม่ พี่น้อง ลูก-เมียจะได้สุขสบายใจ ครับผม”

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *