จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์ (คุก 5 ปี)

วันเสาร์ที่  11 มีนาคม พ.ศ. 2566

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์ (คุก 5 ปี)

11

ตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ อบรมสั่งสอนอยู่เสมอว่า ต้องเป็นคนจริงใจ คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงวาจา คือพูดแต่ความจริง คือมีสัจจะ จริงการ ได้แก่ทำจริงคือพูดอย่างไรทำอย่างนั้น ผมก็ฏิบัติตามนั้น คือจริงใจกับทุกคน รักษาคำพูด และทำตามที่พูด จึงยังพอมีคนคบค้าสมาคมอยู่บ้าง

แต่บางคน ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย เพราะพูดอย่างทำอีกอย่าง ไม่รักษาสัจจะ ซึ่งมักจะไม่มีใครอยากคบ  ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก. เดือดร้อนไปยืมเงินนาย ข. 1,000 บาท โดยสัญญาว่า จะใช้คืนให้ภายใน 30  วัน จากนั้น นาย ก. ก็ไม่สนใจนาย ข. อีกเลย จนนาย ข. ต้องไปทวงถาม นาย ก.แสดงความไม่พอใจ พูกกับนาย ข. ว่า เงิน แค่ 1,000 บาท เท่านั้น ทำไมต้องทวงด้วย” เดี๋ยวจะใช้ให้นะ ไม่ต้องมาทวง แต่ถ้ามาทวงอีกทีละก็ จะไมใช้ให้เลย” เรื่องนี้จบลง โดยนาย ข. สูญทั้งเงินและเพื่อน

ที่ยกเรื่องนี้มาพูดก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า นาย ก. นั้น มีนิสัยและสันดานแบบเดียวกับ “อีลากไส้” คือพูดอย่างทำอย่าง ขนาดสัญญาต่อศาลคดีอาญาทุจริตว่า จะทำแบบนี้ แต่ถึงเวลาก็ไม่ทำ นี่ขนาดพูดต่อหน้าศาล ซึ่งพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ นะนี่ นางยังไม่รักษาสัจจะเลย ถือว่าไม่สมควรเป็นข้าราชการ และไม่ควรคบด้วย  จึงกล่าวได้ว่า อีลากไส้ เป็นคนล้มละลายทางความเชื่อถือจริงๆ ที่ยังอยู่นี้ ก็อยู่ไปอย่างนั้นเอง  ไม่มีใครสนใจ เหมือนดอกไม้ เดี๋ยวก็เหี่ยวเฉาไปเอง

อีลากไส้นี่แย่มาก นอกจากขาดสัจจะแล้ว ยังแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน และศาล อีกด้วย หารู้ไม่ว่าเมื่อแพ้คดีแล้วจะถูกฟ้องกลับตาม ม. 175 “ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท”

จริงอยู่ ในคดีความผิดอาญา แจ้งความเท็จ ฟ้องเท็จ  และเบิกความเท็จ ไม่ได้หมายความว่าเมื่อแพ้แล้วจำเลยจะสามารถฟ้องกลับได้เสมอไป มีประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ 1. ผู้ฟ้องไม่รู้ว่าเป็นความเท็จ 2. เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงไปตามที่ตนเองรู้เห็น ไม่ได้บิดเบือนข้อเท็จจริง และ 3. ข้อความที่เป็นเท็จ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญในคดี และไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลคดีได้

แต่กรณีอีลากไส้นี่ยากครับ เพราะเมื่อฟ้องเท็จ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแล้ว แทนที่จะสำนึกได้ ยอมรับผิด แต่กลับอุทธรณ์คดี  ไม่ยอมฟังคำพิพากษาของศาลแต่อย่างใด ยังคงยืนยันเจตนาที่จะให้ผู้อื่นได้รับอาญาให้ได้ และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้ยต้นแล้ว ก็ยังพยายามฏีกาอีก แต่ศาลไม่อนุญาต แสดงให้เห็นเจตนาที่จะให้จำเลย ได้รับอาญาแรงกว่าที่เป็นจริง เป็นคนใจร้ายมาก  แบบนี้มีหวังติดคุก 5 ปี แง๋ๆ อีลากไส้เอ้ย! รวมทั้งพยานด้วย  “จัดให้”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *