จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์  (อัปรีย์)

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์  (อัปรีย์)

19

ผมเคบบอกว่า จิปาถะ เรื่องสั้นของผมนั้นไม่มีพร็อตเรื่อง เขียนไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วๆไป โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นกระแสอยู่ในสื่อต่างๆ นำมาประติดประต่อกันหรือเพิ่มเติมให้เป็นเรื่องราว  มีทั้งเรื่องที่เป็นสาระความรู้ และไร้สาระจากประสบการณ์ของผู้เขียนและผู้อ่าน และสอดใส่อารมณ์ความรู้สึก เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน ตามลักษณะของหนังสือนิยายทั่วไป มานานกว่า 8 ปีแล้ว  แต่ต่อมาปรากฏว่าเมื่อช่างปลายปีที่แล้ว มีข่าวเกี่ยวกับอธิการบดี มหาลัยพ่อขุน ใช้วุฒิการศึกษาระดับ ป. เอก ปลอม สภาหาลัยฯมีมติปลดออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นข่าวดังมาก  และได้เกิดขึ้นหลายแห่ง ดังนั้น เพื่อไม่ให้ได้ชื่อว่า ตามกระแสไม่ทัน จิปาถะ เรื่องสั้น จึงปรากฏเรื่องการใช้วุฒิการศึกษาปลอมกับเขาด้วย โดนสมมุติว่ามีกระทาชายนายหนึ่ง ชื่อ อัปรีย์ซ่า แห่งมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ใช้วุฒิระดับปริญญาเอก ที่ กพ. ไม่รับรอง เป็นเหตุให้มีบางคนเข้าใจไปว่า นายอัปรีย์ซ่า เป็นตัวของเขาโดยมีพยานยืนยังหลายปาก เพราะมีวุฒิการศึกษาตรงกัน จึงเป็นโจทก์ฟ้อง จิปาถะ เรื่องสั้นในเฟสบุกส์  เป็นจำเลยที่ 1 และ น.ส. มณัญญา เป็นจำเลยที่ 2 ที่นำเสนอเรื่องวุฒิการศึกษาปลอมนี้

ความจริงชื่อ “อัปรีย์ซ่า” นั้นเป็นชื่อสมมุติของตัวละครในจิปาถะ เรื่องสั้น โดยให้มีความหมายในทางที่ไม่ดี เพื่อไม่ให้ไปคล้องจองกับใคร เพราะไม่น่าจะมีใครตั้งชื่อแบบนี้ให้ตัวเอง และแทบจะไม่เคยเห็นว่ามีใครใช้ชื่อแบบนี้  นี่ขนาดหลีกเลี่ยงแล้วนะ ยังมีคนมาตู่ว่าเป็นตัวเขาเองจนได้  งงจริงๆ

ที่มาลองดูความหมายของคำว่า “อัปรีย์” ในบาลีวันละคำ โดย นาวาเอก ทองย้อย*  แสงสินชัย

คำว่า อัปรีย์ อ่านว่า อับ-ปฺรี  บาลีเป็น “อปฺปิย” อ่านว่า อับ-ปิ-ยะ สันสกฤตเป็น “อปฺริย” “อปฺปิย” ประกอบด้วย น + ปิย = อปฺปิย  “น” (นะ) แปลว่าไม่, ไม่ใช่ เมื่อประสมอยู่หน้าคำอื่น มีกฎว่า

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง น เป็น “อ” (อะ) – ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ อํ) ให้แปลง น เป็น “อน” (อะ-นะ) “ปิย” (ปิ-ยะ) แปลว่า น่ารัก, น่ายินดี, น่าพึงพอใจ, เป็นที่รัก, เป็นที่ชอบ, คบได้; สิ่งที่น่าพึงพอใจ, ความพึงพอใจ, ความครึกครื้น, สุขารมณ์

ในที่นี้ “ปิย” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ดังนั้น น + ปิย จึง = อ + ปิย = อปิย ซ้อน ปฺ ตามหลักการสะกด จึง = อปฺปิย มีความหมายตรงกันข้ามกับ ปิย  “อปฺปิย” ใช้ในภาษาไทย เปลี่ยนรูปอิงสันสกฤตเป็น “อัปรีย์” ความหมายก็เปลี่ยนไปด้วย พจน.42 บอกว่า – “อัปรีย์ : ระยํา, จัญไร, เลวทราม, ตํ่าช้า, ชั่วช้า, ไม่เป็นมงคล”

ต่อไปนี้เป็นเครื่องตรวจสอบความอัปรีย์

1. รูปร่างหน้า (รูปัปปมาณิกา) 2. กิริยาพาที (โฆสัปปมาณิกา) 3. ประพฤติดีถูกใจ (ลูขัปปมาณิกา)

4. ทำอะไรถูกต้อง (ธัมมัปปมาณิกา) : รูปร่างหน้าตาดี แต่อัปรีย์ที่กิริยาวาจา : กิริยาวาจาดี แต่อัปรีย์ที่ความประพฤติ : ความประพฤติส่วนตัวก็เรียบร้อยดี แต่อัปรีย์ที่ทำอะไรไม่ถูกต้องถูกธรรม”

*(https://dhamtara.com/?p=2430)

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *