จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์  (กาลกิณี)

วันพฤหัสบดีที่  5  มกราคม พ.ศ. 2566

จิปาถะ เรื่องสั้น เหตุเกิดที่สารขัณฑ์  (กาลกิณี)

และแล้วเรื่องการใช้ชื่อและชื่อสกุลของนางแต้ม อธิการบดี มหาลัยสารขัณฑ์ ตัวละครของ คม  หักศอก  โดยเอามาตั้งเป็นชื่ออาคารหอประชุมใหญ่ที่กำลังจะสร้างเสร็จ และมีเป้าหมายว่าจะใช้เป็นหอประชุมสำหรับ(ซ้อม)รับปริญญาบัตร ก็กลายเป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเผ็ดร้อนและกว้างขวาง ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย  

ความจริงชื่ออาคารหรือชื่อห้องประชุมในมหาวิทยาลัยนั้น หลายมหาวิทยาลัยจะตั้งจากชื่อหรือชื่อสกุลของบุคคลในอดีตที่มีคุณูประการต่อจังหวัดที่มหาวิทยาลัยนั้นตั้งอยู่ แต่ส่วนใหญ่จะตั้งจากชื่อหรือชื่อสกุลของผู้บริหารที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัย ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ผู้บริหารบางคนก็จะตั้งเองในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ เพราะความอยากมีชื่อ และกลัวว่าเมื่อออกจากตำแหน่งไปแล้วจะมีใครตั้งให้ แต่นั่นแหละ สิ่งเหล่านี้ นานเข้าเขาก็มักจะถูกเปลี่ยนหรือถูกรื้อทิ้งไปตามสภาพความเก่าแก่ของอาคาร เห็นป้ายชื่ออยู่ตามร้าค้าค้าของเก่าก็มี ตามตลาดนัดก็มี กองอยู่กับดิน ไม่มีค่าเท่าไร  แต่ช่างเถอะ มาฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดีกว่าครับ

ผศ.ดร.สาธิต ผลเจริญ ร่ายยาวมาเลยว่า “พวกลิ่วล้อสอพลอยกปอปั้น   คนสำคัญแต้มเด่นเป็นศักดิ์ศรี  โล่รางวัลคือผลงานกะรันตี  สมควรที่มีชื่อจารที่หอประชุม  แต้มดี๊ด๊าหน้าใหญ่ถูกใจยิ่ง

เหมาะจริงจริงตีกินได้หลายขุม  มันทั้งก๊วนคือโจรบ้ามาชุมนุม  มาประชุมชูแต้มสีอัปรีย์เอย

และยังไม่พอ ขอต่ออีกนิด ว่า “ถ้าจะให้นิยามคำว่า”บ้า”  บ้าอำนาจบ้าเงินตราบ้าศักดิ์ศรี

ทั้งบ้าเห่อเบอร์ห้าบ้าอวดดี  อยู่ในตัวมาหลี่นีมีครบครัน  บ้าอาละวาดขาดสำนึกในมนุษย์  บ้าสุดสุดจิตบอดน่าสงสาร  จะรักษาหลังคาแดงโรงพยาบาล  หมอยืนยันรักษาไม่หาย  ปล่อยให้ตายเอง

ปล.โปรดระวังพิษสุนีขบ้า  มันบ้าทั้งก๊วน”

และ ผศ.ดร.La Ph เสริมต่อว่า “เป็นโรคติดเชื้อบ้าตามนางแต้ม เพราะติดแล้วแต้มจะปูมบำเหน็จให้งามๆเกินห้ามใจ 555555” และบ่นว่า  “งบประมาณในการสร้างก็ไม่ได้ออกสักบาท แถมยังหักค่าหัวคิวด้วยมั้ง ยังจะหน้าด้านกล้าตั้งชื่อหอประชุมจากเงินหลวงเป็นชื่อตัวเอง”

และเพื่อน fc อีกท่านหนึ่ง ไม่ขอเอ่ยนาม “บอกว่า “ถ้า​ตั้งชื่อ​ หอประชุม​ ว่า​ “กาลกิณี”*  จะไม่ขอคัดค้านเลย.

*คำว่า กาลกิณี พจนานุกรมฯ บอกว่า คำนี้บาลีเป็น “กาฬกณฺณี” อ่านว่า กา-ละ-กัน-นี รากศัพท์มาจาก กาฬ (= ดำ) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณี ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น ณฺ (กรฺ > กณฺ) : กาฬ + กรฺ = กาฬกรฺ + ณี = กาฬกรฺณี > กาฬกณฺณี แปลตามศัพท์ว่า (1) “คนหรือสิ่งที่ทำให้ดำ” (ขยายความว่า อยู่ที่ไหนหรือเกี่ยวข้องกับใคร ก็ทำให้ที่นั้นกลายเป็นสีดำ อับเฉา มืดมัว ขัดข้องไปหมดคน) (2) “คนหรือสิ่งที่มีธรรมดำและส่งผลให้เกิดธรรมดำแก่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น”

ความหมายของ “กาฬกณฺณี” ที่เข้าใจกัน คือ คนจัญไร, ความจัญไร, ความเป็นเสนียด, เสนียดจัญไร, อัปมงคล, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล, ตัวก่ออุบาทว์, ตัวนำเคราะห์ร้ายหรือทำให้อับโชค

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำว่า “กาฬกณฺณี” ตรงตามศัพท์ที่เห็น คือ กาฬ = ดำ + กณฺณี = มีหู = มีหูดำ จึงแปล “กาฬกณฺณี” ว่า “black-eared” และขยายความว่า การเห็นคนมีหูดำจัดว่าเป็นลางร้ายซึ่งทำลายโชคของคนบางอาชีพ เช่นนายพราน (the vision of the “black-eared” is a bad omen, which spoils the luck of a hunter)  (https://dhamtara.com/?p=8846)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *