จิปาถะ  เรื่องสั้น อีเปรตหกห้า (A -นก )

วันอาทิตย์ที่  9   มกราคม 2565

จิปาถะ  เรื่องสั้น อีเปรตหกห้า (A -นก )

9

ผู้สันทัดกรณี ตั้งคำถามว่า “แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯประกาศลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 แก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยหรือเพิ่มปัญหาธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น?”

ข้อ 20 ให้กำหนดระยะเวลารักษาการอธิการบดีได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และสามารถขยายได้หนึ่งครั้งไม่เกินเก้าสิบวัน  เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว หากยังไม่สามารถสรรหาและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนใหม่ได้ ให้เสนอเรื่องต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพิจารณากำหนดผู้รักษาการคนใหม่หรือคนเดิมได้อีกไม่เกินระยะเวลาที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามเหตุผลและความจำเป็น  ทั้งนี้ หากการสรรหาเสร็จสิ้นแล้ว ควรให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี  เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี และจะต้องเป็นการรักษาการในตำแหน่งเพื่อรอการโปรดเกล้าฯเท่านั้น ในกรณีที่มีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสรรหาและคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการสรรหา ควรพิจารณาเฉพาะเรื่องร้องเรียนที่ได้ยื่นเข้ามาก่อนที่การสรรหาจะเสร็จสิ้น

เมื่อพิจารณาตามวรรคสามแล้วจะเห็นว่าแนวปฏิบัติล้มเหลวโดยสิ้นเชิงที่จะแก้ไขปัญหาธรรมาธิบาลและเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่ไม่หวังดีต่อมหาวิทยาลัยได้กระทำผิดได้มากยิ่งขึ้น กล่าวคือแม้การสรรหาจะไม่สุจริตอย่างไรก็ตามหากมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการสรรหาในขั้นตอนการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะร้องเรียนว่าสภามหาวิทยาลัยปฏิบัติขัดกับหลักกฎหมายก่อนที่สภาจะพิจารณาลงมติ ดังนั้นเมื่อสภาลงมติโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมาร้องก็ไม่ต้องพิจารณาใช่หรือไม่  เพราะร้องเรียนหลังจากการสรรหาเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ได้ร้องเรียนก่อน เปรียบเสมือนชาวบ้านต้องแจ้งความก่อนโจรปล้นบ้าน ตำรวจจะดำเนินคดีไปตามทรัพย์สินคืนให้ แต่ถ้าแจ้งความหลังโจรปล้นตำรวจก็ไม่ต้องดำเนินการอะไรเลยให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของโจรไปตามแนวทางปฏิบัติของโจร

ดังนั้น กรณีกำแพงมณี คุณปรสิตก็ต้องรักษาราชการแทนอธิการบดี(เถื่อน)ไปตลอดชีวิตระหว่างรอการดำเนินการแต่งตั้งอธิการบดี ซึ่งกินเวลานาน จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะตัดสินต้องใช้เวลาประมาณ 9 ปีเศษ เหมือนกรณีมหาวิทยาลัยเมืองสองแคว แสดงให้เห็นและสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า”ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม” เป็นความจริงขึ้นมาชัดเจน

สรุป แนวปฏิบัตินี้ ออกมาเพื่อเอื้อแก่ผู้ที่สร้างปัญหาธรรมาภิบาล หรือแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาล ในมหาวิทยาลัยกันแน่?”

ศศิธร ใหญ่เลิศ แสงการ พูดด้วยเสียงดังฟังชัดว่า  “คนแก่ตายไม่เป็นใช่ไหม.. ถ้าอย่างนั้นก็อยู่เป็นผีดิบคอยดูดเลือดคนเป็นๆ​ ไปเถอะ… กฎอะไรก็ลงโทษเอาผิดไม่ได้…ขอเอาทางพระเข้าข่มเพื่อความสบายใจ”

ผศ.ดร.ชลิดา ภัทรศรีจิรากุล ตอบ ศศิธรว่า  “เฮ้ ตายเป็น แค่ไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไหร่เท่านั้น แต่ก็ต้องเตรียมตัวตายนะ ตอนนี้ ตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ตายไปแบบดีๆ ไม่ทิ้งภาระ ไม่ทิ้งปัญหาให้คนอยู่เบื้องหลัง ต้องคิดดี ทำดี พูดดี เลยไม่อยากตำหนิใคร แค่เตือนสติให้เขาทำดีในขณะที่ยังทำได้ ตายไปแล้ว จะทำดีได้ไม่ได้ ไม่รู้”

ผศ.ดร.La Ph ปลอบใจว่า  “พวกเราต้องเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม “ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว” แต่คนบางพวกเขาไม่เชื่อในหลักธรรมของศาสนา ไปเชื่อในอำนาจเงิน มนต์ดำ และนิยมการเล่นของก็ปล่อยเขาไป แต่เชื่อว่าอย่างไรเสียเขาย่อมหนีกฎแห่งกรรมไปไม่พ้นแน่นอน ถึงจะช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร”

ส่วนคม หักศอก วันนี้ไม่พูดอะไร “เพราะเซ็งคุณ  A -นก”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *