จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต (upset)

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 

จิปาถะ เรื่องสั้น อีเปรต (upset)

28

ความพยายามของนางแต้มที่แต่งตั้งกรรมการจากภายนอก หรือ มือปืนจาก ม.หนึ่งศูนย์หนึ่ง เดินทางมาสอบสวนหญิงผู้กล้า โดยกล่าวหาว่าขาดราชการเกิน 15 วัน อันเป็นความผิดร้ายแรงถึงขั้นปลดออกหรือไล่ออก คราวนี้นางแต้มบัญชาให้ไอ้ส่งเดช หมารับใช้ นำพนักงานจากสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (โรงแรม ) มาเป็นพยานยืนยันปรักปรำหญิงผู้กล้า ว่ามิได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่นั่น ในช่วงเวลาที่ถูกกล่าวหาว่าขาดราชการ แต่ปรากฏว่าล้มเหลว  ถึงแม้นว่าไอ้ส่งเดชจะพยายามหว่านล้อม แต่พนักงานก็ไม่สามารถกล่าวเท็จตามที่ไอ้ส่งเดชต้องการได้  “ก็ทำงานอยู่กับหญิงผู้กล้าทุกวัน จะให้บอกว่าหญิงผู้กล้าไม่ได้มาทำงานได้อย่างไร บ้าไปแล้ว”  เอาอะไรคิด

ความจริงนางแต้มรู้อยู่แล้วว่า อย่างไรเสียก็ไม่สามารถจัดการหญิงผู้กล้าออกจากราชการได้ แต่พยายามกดดัน เพราะรู้ว่าหญิงผู้กล้าสุขภาพไม่ดี อยากให้มีอันเป็นไป จะได้ปิดคดีอาญาทุจริตที่เมืองประทายสมันต์ โดยหวังจะรอดคุก แต่การทุบหม้อข้าวลูกน้องนั้นเป็นบาปมหันต์ เทพยดาฟ้าดินไม่สนับสนุน เลยพากันมาช่วยหญิงผู้กล้า ให้อยู่รอดปลอดภัย ทำให้สุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีพลังที่จะต่อกรกับนางแต้มได้อย่างสนุกสนานและสบายอารมณ์ ส่วนนางแต้มก็มีอาการที่ฝรั่งเรียกว่า upset  คือ อารมณ์เสีย เกรี้ยวกราดไปทั่ว  นางติ่มซำ ก็โดนด้วย เป็นเหตุให้อารมณ์เสียเหมือนกัน ขับรถโตโยต้า ไปชนมอร์เตอร์ไซด์ ที่บ้านหนองแปบโน่น นี่แหละโทษของการอารมณ์เสีย

กลับมาเรื่องเมื่อวานนิทานก่อนนอนเรื่อง นางพรดำ เปิดศึกกับนักศึกษา ซึ่งเป็นนิทานที่สอนว่า “อย่าพูดดูถูกดูแคลนผู้อื่น โดนเฉพาะนักศึกษา เพราะ นักศึกษาคืองานของท่าน ถ้าไม่มีนักศึกษาท่านก็จะตกงาน” และ ผศ.ดร. La Ph ได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาย้ำเตือนให้สำนึก ดังนี้ “การเกษียนหนังสือแบบนี้มีสาเหตุมาจากผู้เกษียนหนังสือ (และผู้สั่งการ) มีอคติกับประธานสภานักศึกษา…วันนี้ “เป็นวันพระ” จึงขอยกหลักธรรม อคติ 4 มาเป็นข้อเตือนใจผู้ที่มีอคติกับนักศึกษา เผื่อว่าจะได้เกิดความละอายใจบ้างแม้เพียงน้อยนิดก็ยังดี…อคติ หมายถึง วิถีในทางที่ผิดหรือการดำเนินไปในทางที่ผิด ทั้งนี้เกิดจากทัศนะหรือความคิดเห็นในทางที่ผิด ความลำเอียง หรือ ความไม่เที่ยงธรรม ไม่เป็นกลาง ใช้แนวทางในทางที่ผิด และคิดกระทำในสิ่งที่เป็นไปในทางที่ไม่ดีงาม ประกอบด้วย 4 ประการ คือ

1. ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชอบพอ

2. โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโกรธหรือชิงชัง

3. โมหาคติ คือ ความลำเอียงเพราะหลง หรือ ความลำเอียงเพราะความเขลา

4. ภยาคติ คือ ความลำเอียงเพราะกลัว

อคติ 4 เป็นธรรมสำหรับปุถุชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า ผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือเป็นข้าราชการ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นสัจจะความจริงที่มักเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านี้ และมีผลอย่างมากต่อการบริหารงาน ต่อการปกครอง และความสงบสุขของสังคม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *