วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
จิปาถะ เรื่องสั้น อีเถื่อน (เปลี่ยนโหมด 1)
14
คม หักศอก บอก มีนา จัน ว่า “ถ้าฉันเป็นคุณปอสิต ว่าที่รักษาการอธิการบดีและว่าที่อธิการบดี มหาวิทยาลัยกำแพงมณี ฉันคงถอดใจไปแล้ว เพราะมีผู้หวังดีทั้งหลายแจกแจงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเธอว่าสุดท้ายคือคุก แถมเอาไทม์ไลน์วิถีชีวิตในคุกมาให้ดูด้วย ทำให้เครียดและทำท่าจะหมดหนทางไปจริงๆ
แต่สำหรับฉัน คิดว่าเธอยังมีอีกช่องทางหนึ่งให้เลือก ช่องทางนี้ถ้าเธอทำตามที่ฉันว่านะ เธอจะเป็นอัศวินม้าขาว มาช่วยแก้ไขสถานการณ์ของที่นั่นเลยทีเดียว เท่ากับเปลี่ยนโหมดใหม่ โหมดที่ดีกว่า โหมดที่ทุกคนมีส่วนร่วม โหมดที่จะกำจัดสิ่งชั่วร้ายให้สูญสิ้นไป ความกลัว หวาดผวา ความสิ้นหวัง ความเจ็บปวดของประชาคมที่นั่นจะได้หมดไปเสียที และในที่สุด เธอก็จะกลายเป็น ปูชนียบุคคล ที่มีคุณูปการต่อมหาวิทยาลัยกำแพงมณี และจะมีแต่คนยกย่องเคารพนับถือเธอไปอีกนานเท่านาน”
“น่าสนใจ แต่ฉันไม่ค่อยจะเชื่อน้ำยาแกสักเท่าไรหรอก แต่ช่างเถอะ ไหน ลองว่ามาให้ฟังซิ?
“ขอพูดเป็นข้อๆนะ มีนา จะได้เข้าใจง่าย…
1.การประชุมสภามหาวิทยาลัยกำแพงมณีครั้งต่อที่จะถึงเร็วๆนี้ อย่างไงเสีย สภาก็ต้องรับรองรายงานการประชุม และคุณปอสิตก็จะได้เป็นรักษาการอธิการบดีเต็มตัว
และในวันนั้นซึ่งเธอก็คงอยู่ร่วมประชุมสภาด้วย เธอก็จะนำเรื่องด่วนพิเศษเสนอสภา คือ เรื่องเงินเดือน 1.5/1.7 โดยขอให้สภาปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2549 โดยจ่ายเงินเดือนให้พนักงานเต็มจำนวนตามสิทธิ์ เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 เป็นต้นไป และจะพยายามหาเงินมาเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ส่วนระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วย หลักเกณฑ์การจ่ายค่าจ้าง และสวัสดิการด้านต่างๆ ของพนักงานฯ จะแต่งตั้งกรรมการที่มีพนักงานเข้าไปมีส่วนร่วม ปรับให้เหมาะสม ถูกต้องตามถูกกฏหมายและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาคม ภายใน 3-5 เดือน”
“แล้วสภาฯจะยอมรึ?” มีนา จัน สงสัย
“สภาฯ ต้องยอมอยู่แล้ว ถ้าไม่ยอมก็จะโดนรักษาการอธิการบดีฟ้องศาลคดีอาญาทุจริตตามมาตรา 157 นะซิ เพราะไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี และอีกประการหนึ่ง ระยะนี้จะมีกรรมการสภาหมดวาระหลายคน แต่ฉันไม่รู้ว่ามีใครบ้าง แต่รับรองไม่มีใครกล้าหือหรอก เพราะกลัวจะไม่ได้เป็นอีก และที่สำคัญ สภามีแต่คนแก่ ไม่มีแรง ไม่กล้าสู้”
“ทำแค่นั้นเองรึ? คม หักศอก”
“ยังมีอีก…จากนั้นก็ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง นำระเบียบการสรรหาอธิการบดีและกรรมการสภา มาทบทวนและแก้ไขให้ประชาคมมีส่วนร่วมในทุกขึ้นตอน และเน้นที่เสียงชี้ขาดต้องมาจากประชาคมส่วนใหญ่ ทั้งตำแหน่งอธิการบดีและตำแหน่งกรรมการสภา..และจัดการสรรหาอธิการบดีคนใหม่ ซึ่งเป็นโอกาสที่เหมาะมาก “วอลแตร์ นักประพันธ์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า “เราไม่ควรจะเพิกเฉยกับโอกาสที่มี ณ ตอนนี้ น้อยครั้งนักที่มันจะมีเป็นหนที่สอง”
ฉันว่า ในช่วง 180 วันนี่ ทำแค่นี้ก็เหลือกินแล้ว ก็อย่างที่บอก เมื่อทำคุณประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยตามที่กล่าวมาแล้ว ก็จบ กลับไปสอนหนังสือตามเดิม”
“อะไรวะ คม หักศอก นึกว่าเธอทำแล้วจะได้เป็นอธิการบดี?”
“ถึงตอนนั้น ฉันคิดว่า เธอก็ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว เพราะที่ทำมามันสุดยอดของการเป็นข้าราชการแล้ว”
“แล้วถ้าเธอไม่ยอมทำอย่างที่แกว่าละ?”
“ก็ต้องรออ่านพรุ่งนี้ซิวะเพื่อน”
….