คาถา “มิ”

 

จิปาถะ
คาถา “มิ”
มีคนสงสัยว่า อักขระด้านใต้สัญลักษณ์องค์พระพุทธรูปในภาพเขียนที่ โพสต์ ในเรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอนสิ่งที่งดงาม (ตอนจบ) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 อ่านว่าอะไร และมีความหมายอย่างไร ซึ่งความจริงผมได้ตั้งใจเขียนอักขระไว้เพื่อจะได้อธิบายความหมายต่อไป แต่พอดีมีคนสงสัยมาก็ถือเป็นเรื่องสอดคล้องกัน ถือว่าเป็นเรื่องดีครับ อักขระใต้ภาพสัญลักษณ์พระพุทธรูปดังกล่าว เป็นภาษาเขมร อักษร ม.ม้า และ สระ อิ อ่านว่า “มิ” เป็นหัวใจคาถา
คำว่า คาถา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542ได้ให้ความหมายว่า เป็นคําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ 4 บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ( 2551 : 49)ได้ให้ความหมายว่า
1. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี คาถาหนึ่งๆ มี 4 บาท เช่น
อาโรคฺยาปรมาลาภา (ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง)
สนฺตุฏฺฐีปรมํ สุขํ (ความรู้จักพอ เป็นสุขอย่างยิ่ง)
วิสฺสาสปรมา ¬าติ (ความคุ้นเคยกัน เป็นญ¬าติอย่างที่สุด)
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํฯ (พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง)
2. พุทธพจน์ที่เป็นคาถา (ข้อ ๔ ในนวังคสัตถุสาสน์)
3. ในภาษาไทย บางทีใช้ในความหมายว่า คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ อย่างที่เรียกว่า คาถาอาคม

 

ส่วนหัวใจคาถา คือ การย่อคาถาซึ่งมีความยาวให้สั้นลง เช่น คาถาบทสรรเสริญพระพุทธคุณ 9 ประการ (อิติปิโส…) ย่อเป็น อ สํ วิ สุ โล ปุ ส พุ ภ เป็นต้น คาถาที่ย่อแล้วเรียกว่า หัวใจคาถา
ในปัจจุบัน การย่อข้อความต่างๆให้สั้นลงเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ข้อความที่ย่อแล้วนั้น เรียกว่าอักษรย่อ ประโยชน์ก็คือช่วยให้เขียนได้สั้นกระทัดรัด จดจำได้ง่าย สะดวกในการนำไปใช้ ข้อความที่นำมาย่อนั้นมีหลากหลาย เช่น ชื่อตำแหน่ง สมาคม องค์การ สำนักงานและหน่วยงานต่างๆ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ร้อยตำรวจตรี ย่อเป็น ร.ต.ต. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations) ย่อเป็น ASEAN .คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ย่อเป็น คสช. เป็นต้น วิธีการย่อตามปกติจะใช้พยั¬ญชนะต้นของแต่ละพยางค์เป็นตัวย่อ แต่อาจจะมีแตกต่างไปบ้าง เช่น ใช้พยัญชนะตัวท้าย จากนั้นจึงนำมาเรียงต่อกัน แต่เวลาอ่านอักษรย่อจะต้องอ่านคำเต็ม หากไม่อ่านคำเต็ม อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนไปได้ ตัวอย่างเช่น อักษรย่อ ร.ร. สระแก้ว อาจหมายถึง โรงเรียนสระแก้ว หรือ โรงแรมสระแก้ว ก็ได้
หัวใจคาถา “มิ” ย่อมาจากบท สรณคมน์ คือ “การถึงสรณะ การยึดเอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก หมายถึง การถึงรัตนตรัยทั้งสาม (พระรัตนตรัย) คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่า สรณาคมน์ บ้างก็มี (ในภาษาไทย บางทีพูดว่า “ไตรสรณคมน์” หรือแม้แต่ “ไตรสรณาคมน์” ก็มี แต่ในคัมภีร์ทั้งหลาย ใช้เพียงว่า “สรณคมน์” (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).2551: 404)
คาถา “มิ” ย่อมาจาก สรณํ คัจฉามิ (ฉ่ำ ทองคำวรรณ. 2529.47) เป็นการระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย
นัมโบกุ มิซูโน. (2536 : 119) กล่าวว่า “ในนิกายพุทธแต่ละนิกาย เขาบูชาอมิตะ ในภาษาสันสกฤต “อะ” หมายถึงทิศทางต่างๆสิบทิศทาง เสียง “อะ” และตัวอักษร “อะ” เป็นของสวรรค์ ตัวอักษร “มิ” เป็นของโลกมนุษย์และหมายถึงการเกื้อกูลทุกสิ่งทุกอย่าง “ตะ” เป็นของแผ่นดิน ตัวอักษร “มิ” หมายถึงแปดพันสิ่ง ดังนั้น เราจึงสามารถพูดได้ว่า สวรรค์ มนุษย์โลกทุกอย่างอยู่ใน อมิตะ”
หัวใจคาถา “มิ” นอกกจากหมายถึงพระรัตนตรัยแล้ว ยังหมายถึงพระอมิตาภพุทธ เป็นพระธยานิพุทธ 1 ใน 5 องค์ เป็นพุทธที่หมายถึงปั¬¬ญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี เลือกปฏิบัติในทางที่ถูก และการเกื้อกูลกันในทุกสิ่งทุกอย่าง คาถา “มิ” นิยมนำมาใช้ในเครื่องรางของขลัง เช่น เหรีย¬ญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
เรื่องคาถา ถ้าจะเขียนก็ต้องว่ากันยาว เพราะได้ใช้เวลาศึกษามานานพอสมควร แต่ก็ยังเขียนไม่เสร็จ ยิ่งตอนนี้มาเขียน จิปาถะใน FB ก็หยุดกันยาวไปเลย เคยสร้างแรงจูงใจโดยการขอทุนท่านโกวิท เชื่อมกลาง เพื่อสร้างความรับผิดชอบให้กับตัวเอง จะได้เสร็จไวๆ แต่ท่านโกวิท ไม่ให้ ก็เลยค้างเติ่งอยู่อย่างนี้ แต่ไม่เป็นไร ค่อยๆเขียนไปก็ดี ไม่ต้องรับผิดชอบ เสร็จเมื่อไรก็เมื่อนั้น
………………
อ้างอิง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2551).พจนานุกรมพุทมธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฉ่ำ ทองคำวรรณ. (2529). “จารึกหัวใจคาถาพระพุทธคุณ” ใน จารึกในประเทศไทยเล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
นัมโบกุ มิซูโน. (2536) .อาหารกำหนดชตากรรมของท่าน.แปลจากภาษา¬ี่ปุ่นโบราณเป็น ภาษาอังกฤษโดยมิซิโอะและ
อเวลีน คูชิ ร่วมกับ อเล็ก แจ็ค. แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย อุดร ฐาปโนสถ.กรุงเทพฯ : บริษัทเคร็ดไทย จำกัด.
……….
ภาพ : http://trach.mymarket.in.th/viewproduct_trach-00807 (27 ธันวาคม 2557)

koon 31

 

Comments are closed.