จิปาถะ บทความ

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2564
จิปาถะ บทความ
“ดันทุรังให้สุดแล้วไปหยุดที่คุก” เป็นสโลแกนที่ผู้สันทัดกรณีตั้งให้กับนายกสภาฯและกรรมการ สภามหาวิทยาลัยกล้วยไข่ เพราะอยู่ดีไม่ดี หาเรื่องจะเข้าคุกเข้าตะรางให้ได้ ก็เรื่องการสรรหาอธิการบดีนั่นแหละ ปล่อยให้เป็นไปตามทำนองครองธรรมเสียก็จบ แต่แส่หาเรื่อง มาฟัวงความคิดเห็นของผู้สันทัดกรณี ดังนี้ครับผม
“ทราบข่าวมาว่าในวันที่ 29 มิย.นายกสภามหาวิทยาลัยกล้วยไข่ จะเชิญ ผู้ที่กรรมการสรรหาอธิการบดี เสนอชื่อให้สภาทั้ง3คน มาเพื่อ”ไกล่เกลี่ย” ฟังดูก็มีความรู้สึกดี ที่นายกสภา เป็นผู้ใหญ่ทีน่านับถือมาก เมื่อมีเหตุการณ์ แต่งชุดดำ ประท้วงกัน จึงยอมเสียสละเวลาลงมาแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้คลี่คลาย แต่ในความเป็นจริงคือนายกสภา ต้องการกลบเกลี่อนความผิดของตัวนายกเองและกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ เพราะว่า
1.การลงมติเลือกอธิการบดีจะโดยเจตนาหรือตั้งใจจะให้มหาวิทยาลัยกล้วยไข่มีปัญหาและเกิดความวุ่นวายจน อจ.และพนักงานมหาวิทยาลัยได้รวมตัวแต่งดำประท้วงจนเป็นข่าวดังทั่วประเทศถือว่าท่านเหล่านั้นประสบความสำเร็จในการสร้างปัญหาให้มหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้ว
2.การลงมติเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจและมีความอิสระไม่มีใคร มาชักจูงหรือบีบบังคับ เพราะกรรมการสรรหาให้คะแนนมาเท่ากันทั้ง 3 คน ทั้งนายกสภาและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านล้วนแต่เป็นอาจารย์และมีคุณวุฒเป็น ศ.หรือ รศ.มาแทบทั้งนั้น ท่านไม่สงสัยบ้างเลยเหรอว่า รศ.กับ ผศ.ควรจะมีคะแนนเท่ากันหรือไม่ อจ.ที่ได้รับการยอมรับจากมากกว่าอีกคน 1 เท่าตัว จะได้คะแนนเท่ากันอีก ถ้าเป็นอย่างนี้ถือว่ากรรมการถูกสั่งมาจะได้ไหมหรือจะเรียกว่าพร้อมใจกันหลับหูหลับตาให้คนที่อายุน้อยและมีประสบการณ์น้อย เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า สภาเกาหลังมีจริงที่มหาวิทยาลัยกล้วยไข่
3.เหตุใด นายกสภาและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่มีข้อสงสัยและสอบถามกรรมการสรรหาว่า 85คะแนนเท่ากันทั้ง 3 คน ได้มาอย่างไร มีอะไรเป็นเกณฑ์วัด หรือว่านายกสภาและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กำหนดว่าให้เขียนมา 85 เท่ากันแล้วจะได้เลือกง่ายดีไม่ต้องฝืนให้เลือกคนที่ได้คะแนนน้อยให้มีข้อโต้แย้งได้
สรุปแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดของนายกสภาและกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 9 คน ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญา” ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ดังนั้นนายกสภามหาวิทยาลัยกล้วยไข่ เรียกมา”ไกล่เกลี่ย”เป็นสิ่งที่ผิดเพราะ ทั้ง 3 คนไม่ได้ทะเลาะกัน สิ่งที่ถูกคือนายกสภา จะต้องยอมรับในความผิดพลาดในการประชุมสรรหาอธิการบดีที่สร้างปัญหาจนมีการประท้วง และไปยกเลิกมติสภาแล้ว ประชุมสภาเสียใหม่ให้มีคุณธรรมและสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ก่อนที่เรื่องนี้จะถึง ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 6 เพราะการตกจำเลยของศาลอาญานั้นเหมือนเป็นการตกนรกทั้งเป็น หากมีความผิดจะต้องติดคุกและจะต้องถูกเรียกเครื่องราชฯคืนด้วยครับ
คิดให้ดี ก่อนที่จะดันทุรังเพื่อไปให้สุด แล้วหยุดที่ “คุก”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *