เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (remind)

เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (remind)

หลังจากนางแต้ม รักษาการอธิการบดี(เถื่อน) กับพวก คือนายกสภาฯกรรมการสภาฯ ผู้บริหาร และลิ่วล้อทั้งหลาย ถูกแฉด้วยข้อมูลชัดๆ 2 เรื่อง คือ การนำรูปตัวเองไปติดทับพระบรมฉายาลักษณ์ กับความผิดพลาดเรื่องปริญญาบัตร และได้เสนอแนะว่า ต้องยอมรับผิดโดยการลาออกไป และจัดการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการด่วน แต่ดูเหมือนว่า ไม่มีใครใส่ใจ ซึ่งคงช่วยอะไรไม่ได้คำว่า “ราชภัย” ความหมายแต่เดิมนั้น คือภัยหรือโทษจากพระมหากษัตริย์ เมื่อใดที่กระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ก็ต้องได้รับโทษ ส่วนจะหนักหรือเบาก็ขึ้นอยู่กับโทษนั้นๆ ถ้าโทษหนักแบบที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ได้กระทำและไม่สำนึกเลยนั้น อาจต้องโทษ “ตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร” ซึ่งหมายถึง ฆ่าหมดทั้งวงศ์ตระกูล คือ 1) ผู้ต้องโทษและภรรยาหรือสามี 2)ลูก 3)หลาน 4)เหลน 5)พ่อแม่ 6)ปู่ย่าตายาย 7)ทวดผมขอยกตัวอย่าง เรื่องการตัดหัวเจ้าเมืองนางรอง ความว่า “ในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2332 เจ้าเมืองนางรองมีใจออกห่าง ร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน เมืองจำปาศักดิ์คิดกบฏ พระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ยกทัพมาปราบ ข่าวกองทัพเจ้าพระยาจักรี กำลังจะเดินทางมาถึง เจ้าเมืองนางรอง รู้ดีว่าข้อหากบฏ โทษสถานเดียวคือ “ตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร” จึงอยู่เพื่อรอรับโทษแต่ผู้เดียว โดยหวังว่าวงศ์ตระกูลจะได้รับการอภัยโทษ เมื่อกองทัพเจ้าพระยาจักรีเดินทางมาถึง จึงสำเร็จโทษเจ้าเมืองนางรองที่ริมหนองน้ำ ปัจจุบันเรียกกันว่า “ท่าลาว” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของโรงเรียนนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์) ส่วนวงศ์ตระกูลจะได้รับการอภัยโทษหรือไม่ ประวัติศาสตร์ไม่ได้บอก ถ้าท่านผ่านไป อำเภอนางรอง ลองแวะดูซิครับ ไม่มีอะไรหรอก แต่อาจจะเป็นเครื่องเตือนใจได้ว่า “พระมหากษัตริย์นั้น พระองค์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ เป็นจอมทัพ ใครจะละเมิดมิได้”ผมหวังว่าเรื่องสั้นนี้อาจจะช่วยเตือนให้สำนึกได้บ้างนะ ครับผม…..

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *