เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน วิบากกรรม

putat budha

จิปาถะ

เรื่องสั้น  หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน  วิบากกรรม

178

นางแต้มนอนวาดฝันถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นางตกลงใจจะเขียนเป็นแบบประเพณี นางคิดว่า “ตรงผนังด้านหน้า ที่เป็นเรื่อง มารผจญนั้น  โดยทั่วไป ศิลปินจะเขียนเป็นพระพุทธรูปปางวิมารวิชัย  ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณี ภายในซุ้มเรือนแก้ว ด้านข้างซ้ายและขวาจะเป็นภาพกองทัพพวกเหล่ามาร  ด้านล่างใต้ซุ้มเรือนแก้ว จะเป็นภาพพระแม่ธรณี บีบมวยผมให้น้ำไหลออกมาท่วม พวกมารเหล่านั้น ให้พ่ายแพ้ไป ดังนั้น จึงเป็นประเพณีว่า เวลาทำบุญ ต้องกรวดน้ำ กรวดน้ำเสร็จจะต้องเอาน้ำไปเทที่พื้นดินหรือใต้ต้นไม้ เพื่อให้แม่พระธรณีได้รับรู้และเป็นสักขีพยานว่า เราได้ทำบุญแล้ว

179

แต่ภาพที่ฉันจะเขียนนี้ ฉันก็จะทำตามแบบประเพณีนั่นแหละ แต่จะต่างกันตรงที่บริเวณที่ประทับของพระพุทธองค์ภายในซุ้มเรือนแก้วนั้น ฉันจะปล่อยว่างไว้

เพราะคิดว่า ฉันคงไม่สามารถถ่ายทอดสัญลักษณ์ จิตที่ว่างของพระพุทธองค์ออกมาเป็นสัญลักษณ์ใดๆได้  ดังนั้นฉันจะทำแบบเดียวกับปฎิมากรรมในสมัยแรกๆ ที่จะแกะสลักเรื่องราวของพระพุทธองค์ แต่ส่วนที่เป็นพระพุทธองค์นั้น จะใช้ความว่างเป็นสัญลักษณ์

สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ ฉันเพียงแค่เอาความคิดเดิมของพุทธศาสนิกชนกลับมานำเสนอใหม่เท่านั้น ถ้าเราดูภาพปฎิมากรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยแรกๆ  รูปของพระพุทธองค์จะไม่ปรากฏเลย คงปรากฏแต่ความว่าง เช่น บัลลังก์ อาสนะใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ หรือหลังม้าที่ว่าง แต่มีฉัตร   ที่ว่ามานี่อย่าคิดว่าฉันคิดได้เองนะ ท่านพุทธทาสพูดไว้นานนักหนาแล้ว

ส่วนฉันคิดทำอย่างนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะมีทักษะมากพอที่จะถ่ายทอดความคิดออกมาให้คนอื่นเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน  แต่ฉันไม่กลัว “ไม่มีอะไรที่ฉันทำไม่ได้นอกจากไม่ทำ” คำคมของใครฉันก็จำไม่ได้เสียแล้ว”

….

พุทธทาสภิกขุ. (2509).ภาพพุทธประวัติจากหินสลัก ยุคก่อนมีพระพุทธรูป ในประเทศอินเดีย พ.ศ. 300-700. (2)

กรุงเทพฯ : กองทุนวุฒิธรรม

ที่มาภาพ: การรับบิณฑบาตมธุปายาสจากนางสุชาดา หินสลักแบบอมราวดี สมัยอันธาระ พ.ศ. 400-700 ภาพจำลอง

ณ โรงมหรสพทางวิญญาณ สวนโมกขพลาราม ไชยา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *