จิปาถะ เรื่องสั้น โจรปล้มเงินเดือน (ต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์)

วันอังคารที่  16  มีนาคม  2564

จิปาถะ  เรื่องสั้น โจรปล้มเงินเดือน (ต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์)

16

วันนี้มีข่าวที่สร้างความระทึกให้กับวงการมหาวิทยาลัย ได้แก่ข่าว  “สะดุ้ง! สภา มทร.กรุงเทพ

“นายกฯ-กรรมการ” 12 คน พร้อมใจลาออก หลังมติสภาไม่เอาเรื่อง “สุกิจ นิตินัย” เข้ามาพิจารณากลับมานั่งอธิการบดี ส่วนผู้บริหาร มทร.กรุงเทพ นัดประชุมสภาด่วน 15 มี.ค.นี้ แก้ปัญหาภายในก่อนกระทรวงฯ เข้ามาดำเนินการ… อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/education/830986

เรื่องนี้คุณกร จันทรวิโรจน์ ได้แสดงความเห็นไว้ที่ fb ของท่าน ผมเห็นว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ จึงขออนุญาตเผยแพร่ ครับผม

“ต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์”

” สปิริต “และ “จริยธรรม” ย่อมสำคัญกว่าตำแหน่งและ อำนาจ”

“สปิริต” ของกรรมการสภาและผู้บริหาร ที่ควรต้องมี เหมือนเหตุการณ์…

**การลาออกของนายกสภาและกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิของ มทร.กรุงเทพ  ที่แสดงสปิริตที่ลาออกเกือบทั้งชุด เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมาและการลาออกของรองอธิการบดี**(ตามเอกสารที่แนบ)

 ” โดยเหตุที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัยตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้”และการปฎิบัติตามกฎหมายของรองอธิการ

เช่นเดียวกับข้อผิดพลาดของกรรมการสภาที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากกฏหมายพิเศษ( ม.44) ที่สรรหาและเสนอบุคคลที่มีความด่างพร้อย (ซึ่งจะอ้างว่าไม่ทราบเรื่อง ก็ผิดวิสัย ผู้ที่มอบหมายให้มาสร้าง

“ธรรมาภิบาล”) และจัดทำหนังสือเสนอขอโปรดเกล้า จนไม่ตระหนักสงสัยถึงระยะเวลาที่ยาวนาน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายที่ประมาณค่าไม่ได้แก่มหาวิทยาลัย ซึ่งต้องแสดง” ความรับผิดชอบ “

ตามหลักธรรมาภิบาล

ดังนั้นกรรมการสภาฯก็ควรอย่างยิ่งในการแสดงสปิริตให้เห็นจากพฤติกรรมของกลุ่มตน ไม่ว่าจะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องหรือ การลาออก เพื่อชื่อเสียงและดำรงไว้ซึ่งเกียรติของตนและวงค์ตระกูล

สิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้มีอำนาจหน้าที่ในราชการหรืองานของพระราชา คือ…

“ต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์”

ดังนั้นรายชื่อของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งหน้าที่ในราชการแผ่นดินที่จะถูกนำขึ้นกราบบังคมทูลให้ลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้า

1.ต้องไม่ด่างพร้อย และมีคุณสมบัติตรงตามกฎหมาย หรือ/และ

2.ต้องผ่านกระบวนการสรรหาบุคคลอย่างชอบธรรมและมีความเป็นธรรมจึงจะเป็นการสมควร

หรือ/และ

 3.ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในกระบวนการสรรหาหรือคัดเลือก

ขอให้พึงคำนึงว่าคำว่ากฎหมายนั้นเป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำสุด แต่”จริยธรรม”นั้นต้องสูงกว่ากฎหมายไปอีกมากบ้านเมืองจึงจะดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข

“จิตสำนึกของผู้ทูลเกล้าถวายและจริยธรรมของผู้บริหารจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการบริหารแบบ

“ธรรมาภิบาล””

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *