จิปาถะ เรื่องสั้น อีแสบ (อีสองโง่)

วันจันทร์ที่ 11  ตุลาคม พ.ศ. 2564

จิปาถะ เรื่องสั้น อีแสบ (อีสองโง่)

11

วันนี้ขอนำท่านมารู้จักกับ “นกยูง”แบบย่อๆครับ นกยูง สัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้า ตัวผู้มีขนหางยาว เวลารำแพนหางเพื่ออวดตัวเมีย หางจะแผ่กว้างเหมือนพัดขนาดใหญ่ แววหางเป็นลายดอก สีเลื่อมระยับตา สวยงามมาก

นกยูง มีรูปร่างสง่างาม  เป็นราชินีของนกทั้งปวง เป็นนกที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ ตัวแทนแห่งความเป็นสิริมงคล ในหลายประเทศถือว่าเป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของความงาม ความรัก ความภาคภูมิใจ ความกลัว และความเป็นอมตะ นอกจากนั้นยังเป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาเนื่องจาก ลายที่หางเป็นเหมือน”ดวงตา” ของมัน  ราชวงศ์หมิงของจีนใช้นกยูงเป็นสัญลักษณ์ หางนกยูงใส่แจกันเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ์แมนจูเรีย

ในตำนานทางพระพุทธศาสนา ขนนกยูงถือเป็นสัญญลักษณ์ของความเมตตา ดังนั้นขนนกยูงจึงกลายเป็นคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า  ในโมรปริตร หรือคาถายูงทอง บทสวดพระพุทธมนต์ ที่ช่วยในเรื่องของการแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง

ในศาสนาคริสต์ นกยูง เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะของพระคริสต์ ความเชื่อนี้มาจากชาวกรีก โรมันโบราณที่เชื่อว่านกยูงจะไม่เน่าเปื่อยเมื่อเสียชีวิต เนื่องจากนกยูงมีการผลัดขนหางทุกปี จึงทำให้นกยูงยังเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นคืนชีพ นอกจากนี้ลวดลายบนขนหางนกยูงที่คล้ายดวงตา เปรียบเสมือนกับสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้าที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้

ชาวฮินดู ถือว่านกยูงเป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความสูงส่ง ความรัก ความโชคดี ตามตำนานนกยูงกำเนิดมาจากขนของพญาครุฑ นกยูงเป็นบริวารของเทพหลายองค์ เช่น พระสรัสวดี พระขันธกุมาร เป็นต้น คนฮินดูจะนิยมเก็บขนนกยูงเอาไว้ในบ้านเชื่อว่าจะนำความรุ่งเรืองมาให้

ในวัฒนธรรมของชาวเปอร์เซีย นกยูงเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นกษัตริย์และพลังอำนาจ ในสมัยจักรพรรดิชาห์ชะฮันแห่งราชวงค์โมกุลของอินเดีย พระองค์ได้ทรงสร้างบัลลังค์นกยูงที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งกษัตริย์

ที่ผมนำเรื่องนกยูงมาพูดคุย ก็เพราะว่าเมื่อหลายวันมาแล้ว ที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ นางแต้ม ตัวละครของผม ได้จัดพิธีที่ยิ่งใหญ่อลังการ มีการจัดเวทีอย่างสวยงาม กล่าวคือ กลางเวทีด้านหน้าทำเป็นบันไดทางขึ้นไปยังมณฑลพิธี  หัวบันใดด้านบนทำเป็นรูปนกยูงสีขาวด้านละ 1 ตัว หางนกยูงทำด้วยดอกไม้สีเหลือทองทอดยาวเป็นราวบันไดลงมายังพื้น การนำรูปนกยูงมาประดับทางขึ้นเวทีนี้ น่าจะมีนัยสำคัญ คือ การใช้นกยูง 2 ตัว สื่อแทนตัว สองศรีพี่น้องผู้ยิ่งใหญ่ ที่เข้าใจว่าตัวเองคือผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเทพพาหนะ ไม่มีใครมาแตะต้องหรือทำลายได้  มีความเป็นอมตะ การใช้นกยูงประดับตกแต่งเป็นทางขึ้นสู่มณฑลพิธี สื่อให้เห็นการนำความเชื่อของวัฒนธรรมเปอร์เซียที่แสดงถึงพลังอำนาจและความมักใหญ่ใผ่สูงอย่างไม่สิ้นสุดของทั้งสองนางอย่างเห็นได้ชัดเจน  นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นถึงความเชื่อทางศาสนาสตริสต์เกี่ยวกับความเป็นอมตะและการฟื้นคืนชีพ ที่รับอิทธิพลมาจากพวกกรีก-โรมันโบราณ ที่เชื่อว่านางจะอยู่ยงคงกระพันชาตรีไม่เน่าเปื่อย และสามารถคืนชีพกลับมาดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้อีกครั้ง

แต่อย่างไรก็ตาม นกยูงนอกจากเป็นลัญลักษณ์ของความโชคดีแล้ว ยังเป็นสัญญลักษณ์ของความกลัวด้วย แสดงให้เห็นว่านางต้องจัดพิธีนี้ในให้ยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อประกาศความชอบธรรม เพราะนางกลัวว่าแผลของกรรมที่ได้ทำไว้ จะกลับมาทำลายนางได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง นางจึงจัดพิธีใหญ่โตมโหฬารและอลังการมาก

แต่ประเด็นที่น่าสนใจมากก็คือ  หางของนกยูงทั้งสองตัวที่ทอดยาวลงมาสู่พื้นนั้น ไม่ปรากฏว่ามีแววหาง ซึ่งมีลายเหมือนดวงตา อันเป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาและความเมตตาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาแม้แต่แววเดียว

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *