จิปาถะ เรื่องสั้น อีเถื่อน (ขอกำลังใจ)

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน  2564 

จิปาถะ  เรื่องสั้น อีเถื่อน (ขอกำลังใจ)

24

พรุ่งนี้ครับ วันศุกร์ที่  25  มิถุนายน 2564 เป็นวันที่ตำรวจ สภ.สารขัณฑ์ นัดหมายนักศึกษาทั้ง 5 คน ที่ถูกรักษาการอธิการบดี แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท  ให้ไปพบ โดยเลื่อน นศ. 2 คน ที่นัดหมายไว้ก่อนเมื่อวันที่ 18 มิย. 64 มาพบพร้อมกันที่เดียวเลย

ตอนนี้ ผมเชื่อว่า นักศึกษาที่โดนรักษาการอิการบดีแจ้งจับ จะรู้สึกหว้าเหว่ ตื่นตระหนก หดหู่ ห่อเหี่ยว และหวาดกลัว เนื่องจากยังเป็นนักศึกษา ขนาดผมเป็นครูแล้ว ถูกแจ้งจับผมยังกลัวแทบตายเลย ฉะนั้น พวกนักศึกษาคงจะนอนไม่ค่อยหลับ นอนสะดุ้งผวากับคดี ที่ไม่รู้ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร ตำรวจจะทำสำนวนส่งอัยการเพื่อฟ้องศาล หรือว่าจะสั่งไม่ฟ้องและปล่อยตัวกลับไป  ถือว่าเป็นชั่วโมงระทึก

ตรงนี้ ในฐานะที่เคยเป็นผู้ต้องหา อยากจะให้นักศึกษาเตรียมหลักทรัพย์ไว้ เพื่อการขอประกันตัวด้วย เพราะตำรวจนัดหมายวันศุกร์นั้น อันตรายมาก เพราะรุ่งขึ้น 2 วัน จะเป็นวันหยุด  เหตุที่ต้องเตรียม เพราะกับตำรวจนั้น เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า  ท่านจะจับ หรือท่านจะปล่อย จึงไม่ควรประมาท

อย่างไรก็ตาม ผมยังเชื่อมั่นว่า พรุ่งนี้ ตำรวจจะปล่อยตัวนักศึกษาให้เป็นอิสระ เมื่อทนายฝ่ายนักศึกษาได้นำหลักฐานทั้งที่เป็นพยานบุคคลและพยานเอกสาร เช่น คำสั่งแต่งตั้งนางแต้มให้รักษาการอธิการบดีที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย และข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ว่า นางแต้มนั้นมิได้เป็นรักษาการอธิการบดี แต่เป็นเพียงหญิงชราสติไม่สมประกอบคนหนึ่ง ที่แอบอ้างว่าเป็นรักษาการอธิการบดีและแจ้งความจับนักศึกษา เพียงข้อมูลพื้นฐานง่ายๆที่ว่า “นางแต้มเป็นรักษาการอธิการบดีมาแล้ว 4 ปีกว่าแล้ว” ซึ่งเป็นไปไม่ได้ มีแห่งเดียวในโลก  ใครได้ยินเรื่องนี้ก็งง  และตำรวจก็น่าจะงงเหมือนกัน

แต่นั่นแหละ ตำรวจก็อาจจะเลื่อนต่อไปอีก เพราะคงต้องนัดหมายผู้แจ้งความร้องทุกข์ มาหักล้างข้อมูลที่ฝ่ายผู้ต้องหานำมาแก้ข้อกล่าวหา

สรุปว่า เริ่องนี้ไม่สนุกและไม่ควรจะเกิดขึ้น “อธิการบดีแจ้งความจัดนักศึกษาเพราะเขียนป้ายแสดงความคิดเห็น” บ้าไปแล้ว ผมไม่เข้าใจจริงๆ  มันสวนทางกับที่ผมพร่ำสอนลูกศิษย์ผมว่า “พวกท่านต้องสงสัยว่ามันคืออะไร และแสวงหาคำตอบของข้อสงสัยนั้นให้ได้” ซึ่งก็คือ “การตั้งสมมติฐาน หรือข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือ การวิจัย”

อย่างไรก็ตาม “เมื่อพิสูจน์ได้ว่า ผู้แจ้งความร้องทุกข์นั้น มิใช่ผู้เสียหาย ตำรวจก็ควรต้องปล่อยผู้ต้องหาไป และดำเนินคดีกับผู้ที่แจ้งความร้องทุกข์อันเป็นเท็จนั้น”

…..

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *