จิปาถะ เรื่องสั้น อีเถื่อน  (อ่อนภาษา)

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน  พ.ศ. 2564 (กรอบบ่าย)

จิปาถะ เรื่องสั้น อีเถื่อน  (อ่อนภาษา)

13

เรื่องนางแต้ม รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ กำลังร้อนฉี่ ทำให้บางคนไม่หน้าเขียว หน้าดำ ก็หน้าแดงไปตามๆกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งหน้าหยดน้ำ พรดำ ก็พลอยเกรียวกราดกับนักศึกษาไปด้วย

ปรากฏถ้อยคำที่ต้องจารึกไว้ เช่น “มีชื่อเสียงระดับไหน?” และบทสนทนาที่น่าสนใจ เช่น

หยดน้ำ : แถลงการณ์ฉบับนี้ใครร่างให้คะ

นศ. : ช่วยกันร่างกันเองครับ

หยดน้ำ : ใครบ้าง สภาเองหรือมีคนนอกสภาด้วยคะ

นศ. :สภากันเองนี่ละคับท่านรองฯ

หยดน้ำ : ข้อ 2 เป็นมติไหมคะ

นศ. :ทั้ง 3 ข้อ มาจากการอภิปรายในสภาเลยครับ

ส่วนในไลน์กลุ่มพนักงานมหาลัย  ก็ไม่เบา

คุณ A : ทุกท่านเห็นแถลงการณ์หรือยังครับ เราเป็นอาจารย์จะช่วยนักศึกษาอย่างไรดีครับ

คุณ J : แถลงการณ์ออกมาแล้วตามนี้ใช่ไหมคะ ขอวิพากษ์ในฐานะผู้สอนภาษาไทยนะคะ เอกสารนี้ยังมีคำผิด ใช้ภาษาต่างระดับ น่าจะมีคนช่วยตรวจทานเรื่องภาษา? ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดในจุดที่ว่า แถลงการณ์น่าจะอิมแพคกว่านี้ค่ะ

คุณ A : ผมว่านักศึกษาคงทำไปโดยไม่ได้ปรึกษาใครครับ

คุณ J : น่าเสียดาย ถ้าเป็นไปได้ควรแก้ไขค่ะ

คุณ A : ผิดหนักๆตรงไหนครับ ผมขอความรู้หน่อย เผื่อมีโอกาสออกแถลงการณ์บ้าง

คุณ T : เพิ่งอ่านแถลงการณ์สภานักศึกษา(ถ้าของจริง) เห็นใจครับ (ควรตรวจภาษาและตัวสะกดก่อน) ความยุติธรรมต้องมาครับ

เสียง : อ.ในมอเราแม่อยากจะบอกว่า ก็ นศ.ทำ จะให้แต่งคำสระสวยได้อย่างไงน้อ ครับ

เรื่องการใช้ภาษานี่ ผมมีประสบการณ์ตอนที่ไปเรียนอินเดีย เคยโพสต์ไว้ตั้งแต่ ปี 2015 เข้ากับเรื่องนี้เลยนำมาฉายซ้ำ

“เมื่อได้ฟังแขกที่ขายของในตลาดพูดภาษาอังกฤษว่า “I go to the market yesterday.”

เพื่อนนักเรียนไทยที่เรียนด้านภาษาบอกว่า “แขกพูดผิดหลักไวยากรณ์ ที่ถูกคือ

I went to the market yesterday.”

นักเรียนไทยที่เรียนรัฐศาสตร์ถามว่า “แล้วท่านเข้าใจไหมละว่า เมื่อวานนี้เขาไปตลาด”

นักเรียนไทย ที่เรียนด้านภาษาตอบว่า “เข้าใจ”

นักเรียนไทยที่เรียนรัฐศาสตร์จึงว่า “เมื่อเข้าใจแล้ว ท่านจะเอาอะไรอีก”

นักเรียนไทย ที่เรียนด้านภาษาก็เลยเงียบไป

ส่วนนักเรียนไทยที่เรียนศิลปะอ่อนภาษาก็ได้แต่ฟังเฉยๆ

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *