longs

จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน มองให้ใหญ่ ทำให้ง่าย
5
ขอต่อ “See it Big, Keep It Simple” “มองให้ใหญ่ ทำให้ง่าย” อีกวันนะครับ
ประเด็นก็คือ ถ้าเรามัวหลงมองอยู่แต่ภาพเล็กๆ คนที่มองภาพใหญ่ ก็จะว่าเราเป็นคนโลกทัศน์แคบ เหมือนกบอยู่ในอ่างครอบ กระโดดที่เดียวก็สุดโลกของมันแล้ว แต่ในทางกลับกัน ภาพเล็กก็มีความสำคัญไม่น้อย น็อตตัวเล็กๆของเครื่องยนต์ตัวเดียวกระเด็นหายไป ทำให้รถต้องจอดนิ่งสนิทอยู่กับที่ได้เหมือนกัน
แอนดรู โกฮ์ (ม.ป.ป.29) กล่าวว่า “บ่อยครั้งที่งานของเราเป็นภาระหนัก เพราะเรามองไม่เห็นภาพใหญ่ คุณครูอาจเบื่อการตรวจเรียงความจนลืมมองว่าเขากำลังหล่อหลอมชีวิตของเด็กๆ” ประโยคนี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแอนดรู โกฮ์ จะพยายามพูดเพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของการมองภาพใหญ่ แต่เขาก็ให้ความสำคัญของการมองภาพเล็กเช่นกัน
6
เรามาดูตัวอย่างคำตอบที่ แอนดรู โกฮ์ ถามช่างก่ออิฐสามคน เขาได้คำตอบที่แตกต่างกัน ดังนี้
คนแรกตอบง่ายๆว่า “ผมเป็นคนก่ออิฐ ผมกำลังเรียงอิฐ”
คนที่สองตอบว่า “ผมนะหรือ ผมกำลังก่อกำแพง”
ส่วนคนที่สามตอบว่า “ผมกำลังก่ออิฐสร้างวิหารที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนี้”
จากตัวอย่างที่ยกมา เราจะเห็นได้ว่า คนแรกคิดแต่เฉพาะเรื่องเล็กๆ คือ การก่ออิฐ แต่คนที่สองมองเห็นภาพรวมที่ใหญ่ขึ้น คือการก่ออิฐให้เป็นกำแพง ส่วนคนที่สามมองภาพโดยรวมทั้งหมดว่า เขากำลังก่ออิฐเพื่อสร้างวิหาร ตัวอย่างนี้ยกขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการมองภาพรวม
7
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ทั้งภาพเล็กภาพใหญ่ก็ล้วนแต่มีความสำคัญแทบทั้งสิ้น เราควรจะมองทั้งสองภาพ เพราะถ้าเรามัวมองแต่ภาพเล็ก เราก็มองไม่เห็นภาพใหญ่ แต่ถ้าเรามองแต่ภาพใหญ่ เราก็มองไม่เห็นภาพเล็ก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมองทั้งสองลักษณะคือ มองทั้งโดยรวม และมองโดยแยกส่วน จากนั้นจึงมาพิจารณาว่า เราควรจะทำอะไรก่อนหลัง อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพราะบางครั้งเรื่องเล็กๆก็กลายเป็นเรื่องลุกลามใหญ่โตไปได้เหมือนกัน ถ้าเราไม่ใส่ใจ
8
สำหรับกรณีการมองภาพเล็ก ช่างก่ออิฐคนแรก เขาเป็นคนก่ออิฐ งานของเขาคือการก่ออิฐให้ดีที่สุด เขาไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมากไปกว่านั้น แต่เมื่อสิ่งที่เขาก่อนั้นเสร็จสมบูรณ์เป็นวิหาร ผลงานของเขาก็มีคุณค่าควรแก่การภาคภูมิใจ เช่นเดียวกับครูที่ต้องอดทนต่อการตรวจงานของเด็กคนแล้วคนเล่า แต่เมื่อเด็กเหล่านั้นประสบความสำเร็จในชีวิต นั่นคือคุณค่าที่ควรแก่การภาคภูมิใจของครู
9
การมองทั้งภาพเล็กและภาพใหญ่ เหมือนกับการมองทั้งรูปและพื้นในงานศิลปะ ( Figure & Gound ) เป็นการพัฒนาวิสัยทัศน์ของตนเองให้มีขีดความสามารถทางการรับรู้สูงขึ้น
แต่บางคน เช่น นางแต้ม เธอเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ตน เธอมองเห็นและรู้ไปหมดทุกเรื่องราวที่เธอได้ประโยชน์ เท่านั้นยังไม่พอ เธอยังจะทำเองไปทุกเรื่องด้วย
เคยมีคนเล่าว่า วันหนึ่งนางแต้มเรียกสมชายไปเพื่อปรึกษางานด้านการก่อสร้าง เมื่อเจอหน้าเธอก็พูด พูด พูด เรื่องงานที่จะปรึกษาแบบไม่มีหยุด ผิดบ้างถูกบ้างไปตามเรื่อง เพราะไม่ได้เรียนทางนี้มา เมื่อสมชายอดรนทนไม่ได้กับความไม่รู้เรื่องของเธอ สมชายจึงยกมือขึ้นเพื่อขอแสดงความเห็นบ้าน แต่เธอก็แซงพูดจนไม่สามารถจะออกความเห็นอะไรได้เลย สุดท้ายเมื่อการพบปะเพื่อปรึกษางานก่อสร้างจบลง สมชายถามนางแต้มว่า “ท่านเรียกผมมาทำไมครับ”
……..
แอนดรู โกฮ์.(ม.ป.ป.).ประสาน ตันติสัจจธรรม และ สุรเทพ โลหิตหุล แปล. กรุงเทพฯ : อินชัวรันส์ แม็กกาซีน.

Comments are closed.