เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (ม.112)

เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (ม.112)

3

กำแพงมีหู ประตูมีตา เป็นสุภาษิตโบราณ ส่วน “กำแพงมีหู ประตูมีตา และจิ้งจก,ตุ๊กแก มีทั้งหูและตา” เป็นสุภาษิตที่ปรับใหม่ หมายความว่า ไม่ควรพูดหรือทำสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องเลย เพราะความลับไม่มีในโลก
ดังนั้น “ข่าวที่ว่าจิ้งจกที่อยู่บนโรงพัก กองเมืองบุรีรัมย์ทักมาว่า เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562 มี นักกฎหมาย มหาวิทยาลัย ไปรับสารภาพ กับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า มีคนสั่งให้เอารูปไปปิดทับพระบรมฉายาลักษณ์จริง ส่วนใครเป็นคนสั่ง จิ้งจกไม่กล้า เอ่ยชื่อ กลัวจะเป็นเสนียดจัญไร ติดตัวจิ้งจก” ดังนั้น ข่าวข้างต้น จึงสนับสนุนสุภาษิตที่ปรับใหม่ ดังกล่าว
จากที่ร่ายมา สรุปได้ว่า มีการสั่งให้เอาป้ายที่มีรูปตนเองไปปิดทับป้าย พระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงจริง แต่เนื่องจากป้ายที่นำไปปิดทับมีขนาดเล็กกว่าป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ครึ่งหนึ่ง ก็เลยเป็นเรื่อง
ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี” และผู้ถูกตั้งข้อหามักไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และถูกคุมขังในเรือนจำหลายเดือนก่อนมีการไต่สวนในชั้นศาล
ในประมวลกฎหมายอาญาไม่มีนิยามว่าพฤติการณ์แบบใดเข้าข่าย “หมิ่นประมาท” หรือ “ดูหมิ่น เพราะลักษณะการกระทำความผิดมีหลากหลาย แต่ที่ระบุไว้ชัดเจนคือ “ละเมิดพระบรมฉายาลักษณ์” ซึ่งกรณีของมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ถือว่าเข้าข่ายความผิดชัดเจน
โฆษกศาลยุติธรรม มีความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องขังในคดีทำนองนี้ว่า “…บุคคลที่เจนโลกโชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคม สถาบันหลักของประเทศชาติ และองค์พระประมุขอันเป็นที่เคารพสักการะ…ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก…” และแสดงความเห็นอีกว่า “…ถ้าคดีใดอัยการโจทก์สามารถนำสืบพิสูจน์จนให้ศาลเห็นและเชื่อได้ว่า จำเลยมีเจตนาชั่วร้าย…จำเลยในคดีนั้นก็สมควรที่จะได้รับโทษานุโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี…” โดยที่ศาลมิต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
นางแต้มเอ้ย ! ตอนนี้รู้สึกกลัวขึ้นมาบ้างหรือยัง ?….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *