เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ชีวิตหลังความตาย (จักรวาล)

blushs

จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ชีวิตหลังความตาย (จักรวาล)
102
“เพื่อให้เรื่อง”ชีวิตหลังความตาย”ที่เราจะคุยกัน มีน้ำหนักมากขึ้น เราควรพูดถึง จักรวาล พูดถึงดาราจักร สักหน่อยนะครับ” จานจินเสนอ
“ตามใจ แต่เรื่องนี้ผมไม่ค่อยถนัด เพราะอ่อนทั้งคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์”
“พูดไปตามเรื่องก็ได้นี่ครับ จะเป็นไรไป ไหนอาจารย์ว่า พูดไปเถอะ ถ้าไม่ถูกเดี๋ยวผู้รู้จะเอาเหตุผลมาหักล้างเอง”
“ก็ได้ แต่รู้สึกเสียดาย เมื่อก่อน ผศ. โอภาส ศรีสะอาด เพื่อนในกลุ่มยังมีชีวิตอยู่ ท่านจบฟิสิกส์ สนใจดาราศาสตร์และทะลุปุโป่งมาก พูดเรื่องจักรวาลให้ฟัง และพาไปดูปรากฏการณ์บนท้องฟ้าบ่อยๆ แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร ถึงตอนนี้พวกเธอจะพูดเรื่องจักรวาล เรื่องหลุมดำอะไรนี่ เลยรู้สึกเสียดาย ที่ไม่ได้สนใจแต่แรก”
“คงจะพูดกันพอเป็นพื้นฐานสักนิดหน่อยครับ พูดมากก็ไม่ดีเพราะเราไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ยิ่งพวกเราเรียนศิลปะด้วยแล้ว เรื่องอย่างนี้ไปให้ไกลเลย แต่ที่ต้องพูดก็เพราะเรื่องที่เราจะคุยกันต่อไปเป็นเรื่องของโลกวิญญาณ ซึ่งดูเหมือนจะเกี่ยวเนื่องกับ จักรวาลอยู่บ้างเหมือนกัน” จานจินหาเหตุผลมาอ้าง
103
“อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)(อ้างจากสม สุจีรา.2554:13 ) กล่าวไว้ว่า จักรวาลเปรียบเสมือนปริศนาใหญ่ที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งสามารถเข้าได้เพียงบางส่วนจากการสังเกตและจินตนาการของเรา เขาบอกอีกว่า “สิ่งที่เข้าใจยากที่สุดสำหรับจักรวาลก็คือการบอกว่าจักรวาลสามารถเข้าใจได้”
ผมอ้างไอน์สไตน์แล้วก็บรรยายต่อไปว่า “เมื่อเราส่องกล้องเข้าไปในจักรวาล ซึ่งกว้างใหญ่ไพศาล เราจะเห็นดวงดาวต่างๆเป็นจำนวนมาก ดวงดาวเหล่านี้จะอยู่กันเป็นกลุ่ม เรียกว่า ดาราจักร หรือ กาแล็กซี่ (galaxy)ว่ากันว่าเฉพาะบริเวณที่สามารถส่องกล้องเห็นมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านแห่ง แต่ละแห่งมีดวงดาวประมาณ 100,000 ล้าน ถึง 1 ล้านล้านดวง”
“โอ้! ตัวเลขมากมายน่าปวดหัว แล้วโลกเราอยู่ตรงไหนล่ะ”
“โลกของเราอยู่บริเวณขอบดาราจักรที่ชื่อว่าทางช้างเผือก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง”
“ปีแสงมันยาวขนาดไหนครับ”
“1 ปีแสง คือ ระยะทางที่แสงเดินทางในอวกาศเป็นเวลา 1 ปี ซึ่ง 1 ปีแสงมีระยะทางประมาณ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร” จานจินเสริม
104
“เปรียบเทียบให้ดูหน่อยซิ จานจิน”
“ได้ ถ้าเราใช้ยานอวกาศที่วิ่งด้วยความเร็ว 3,000 กิโลเมตรต่อวินาที พุ่งออกจากโลกไปยังขอบดาราจักรทางช้างเผือก อีกฟากหนึ่ง จะต้องใช้เวลาถึง 10 ล้านปี”
“โอ้โฮ !” ถากถางอ้าปากหวอ
“จักรวาลมันเกิดขึ้นอย่างไรครับ” ถากถางถามต่อ
“อ๋อ กำเนิดจักรวาลหรือ”
“ครับ”
“จักรวาลกำเนิดจากจุดพลังงานเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เพียงจุดเดียวระเบิดเปรี้ยงขึ้นมา เมื่อประมาณ 14,000 ล้านปีก่อน และพลังงานนี้ก็ค่อยๆรวมตัวกันเป็นมวล ตามสูตร E = mc2 หรือ พลังงาน (Energy) = มวล x ความเร็วแสง2”(สม สุจีรา.2554:18)
“พอเถอะครับเรื่องนี้ มึนไปหมดแล้ว คุยเรื่องนางแต้มสนุกกว่าเยอะเลย”

….
สม สุจีรา,ทันตแพทย์ .(2554).ความลับของจักรวาล ทางแห่งนิพาน.กรุงเทพฯ :โพสต์บุ๊กส์.

Comments are closed.